อดทนต่อสิ่งที่น่าพอใจ

กระทู้: อดทนต่อสิ่งที่น่าพอใจ

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว Butsaya

    Butsaya said:

    อดทนต่อสิ่งที่น่าพอใจ

    ขันติ คือ การอดทน ต่อสิ่งน่าพอใจ น่าชอบใจ นี่ใช้องค์ะรรมอะไรอะค่ะ
    เพราะการอดทนต่อสิ่งที่ไม่น่าพอใจใช้อโทสเจตสิก(เมตตา) เกิดร่วมกับจิตที่ดีงาม

    เช่น

    เวลาอดทนต่อความโกรธอันนี้ใช้เมตตา
    แต่เวลาอดทนต่อความหนาว อันนี้ไม่ใช่เมตตานะค่ะ
    แต่เวลาอดทนต่อความอยากกินอาหารอร่อย ๆ อันนี้ก็ไม่ใช่เมตตาอีก
    แบบนี้อะค่ะ

    บางทีก็มานึก ๆ ดูว่า สภาพธรรมระหว่าง ขันติ(ความอดทนไม่หวั่นไหว) กับ อุเบกขา (วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย)
    มันก็เหมือนจะคล้าย ๆ กันเลยนะค่ะ ว่าแล้ว คิดไปคิดมาก็มาวววววธรรม ว่าแล้วก็เกิดความสงสัย อิอิ....

    ธรรมมีทุกหย่อมหญ้า.......สำหรับผู้มีปัญญา
     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    ทั้งขันติและเมตตา
    เกิดจากองค์ธรรมเดียวกัน คือ อโทสเจตสิก น่ะคับ
    เป็นสภาพที่ไม่โกรธ ไม่หยาบกระด้าง ไม่ดุร้าย
    ทนได้ต่ออกุศลธรรมทั้งหลาย
    ตั้งอยู่ในกุศลธรรมเป็นกุศลจิตอยู่ได้
    ไม่เกิดอกุศลจิตแล่นไหลตามไปกับสิ่งที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ

    ดังตัวอย่างที่ว่า...ทนได้ต่อความหนาวความร้อน ไม่เกิดโทสมูลจิตขุ่นเคืองใจ
    ทนได้ต่อการสละรสชาติอร่อยๆ ไม่เกิดโลภมูลจิตติดข้องหวงแหนไว้
    สภาพของขันติจึงไม่ใช่การเก็บกดอดกลั้นเป็นความอึดอัดอยู่ในใจ
    แต่ขณะนั้นผ่องใสเพราะเป็นกุศลจิต


    ทีนี้ ในบางครั้งเราก็มีความรู้สึกเป็นมิตรไมตรีต่อผู้อื่นใช่มั้ยคับ
    นอกจากจะไม่โกรธเคืองดุร้ายแล้ว
    ยังมีความเป็นมิตร มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่นด้วย
    แม้ใครจะทำไม่ดีต่อเราก็ทนได้ ไม่ดุร้าย ไม่โกรธตอบ
    หากแต่มีความปรารถนาดี
    มีความเมตตาต่อคนหรือสัตว์ทั้งหลายในขณะนั้น
    สภาพของเมตตานี้ไม่ได้เกิดอยู่ตลอดเวลา
    แต่ก็อาศัยอโทสเจตสิกจึงเกิดขึ้นน่ะคับ


    และขณะที่จิตใจวางเฉยได้ด้วยความเป็นกลาง
    ปราศจากความลำเอียง ปราศจากอคติ
    ไม่เอนเอียงด้วยความชอบหรือความชัง
    อันเป็นสภาพของตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก
    ก็ย่อมมีอโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วยเนื่องกันไป
    จึงทนได้ต่ออกุศลธรรมทั้งหลาย ตั้งมั่นเป็นกลางอยู่ได้น่ะคับ




    เดฟ

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 12-14-2012 เมื่อ 06:18 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  3. รูปส่วนตัว chocobo

    chocobo said:
    สาธุครับท่านเดฟ _/\_


    ได้เจอข้อความบางตอนที่น่าจะเป็นประโยชน์กับคุณบุษฯเลยขอยกลิ้งค์มาไว้ที่นี่นะคับ

    http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=49

    http://www.dhammahome.com/front/webb...w.php?id=12779

    http://www.dhammahome.com/front/webb...ow.php?id=2377
     
  4. รูปส่วนตัว Butsaya

    Butsaya said:


    อนุโมทนาคำตอบพี่เดฟ และน้องโจ๋ ที่หาลิงค์มาให้อ่านเพิ่มเติมด้วยนะค่ะ ได้ความรู้เพิ่มเติมดีนะค่ะ ขอบคุณนะค่ะน้องโจ๋
    ตอนแรกก็พยายามจะทำความเข้าใจอะนะค่ะ ว่าขันติคืออะไร มีลักษณะสภาพธรรมเป็นอย่างไร
    มีองค์ธรรมอะไร อิอิ... พอไปเจอกระทู้เก่า ๆ ที่พี่เดฟตอบเรื่องขันติไว้ ว่าดังนี้...

    - สำหรับ ขันติ
    เป็นสภาพกุศลธรรม องค์ธรรมคือ อโทสเจตสิก เกิดร่วมกับจิตที่ดีงาม
    ขณะที่เป็นขันติ...สภาพจิตใจขณะนั้นอดทนได้โดยไม่หวั่นไหวทุกข์ร้อนตามไป
    แต่ไม่ใช่คุกรุ่น เร่าร้อน อัดอั้น เก็บกด
    จากลิงค์นี้นะค่ะ http://www.watkoh.com/board/showthre...B8%95%E0%B8%B4

    ก็เลยมาพิจารณาความเข้าใจตัวเอง เห็นคำว่า อโทสเจตสิกเป็นองค์ธรรม ก็เลย
    เข้าใจว่า อโทสเจตสิก ก็คือ เมตตา นั้นเอง ก็เลยยึดเอาความหมายและสภาพธรรม
    เวลาที่เราเกิดสภาพจิตขณะที่เมตตา ก็พอเข้าใจระดับหนึ่ง

    ทีนี้ถ้าเกิดว่า เราต้องอดทนต่อสิ่งที่เราพอใจอะค่ะ
    เช่น "แต่เวลาอดทนต่อคำชม อันนี้ไม่ใช่เมตตานะค่ะ" หรือ
    "อดทนต่อการเจอพระอรหันต์แล้ว ไม่ให้ดีใจ"
    แล้วก็คิดต่อมาอีกเรื่อย ๆ ว่า การอดทน กับเมตตา
    นี้บางทีบางเหตุการณ์มันก็จะรู้สึกยากต่อการทำความเข้าใจนะค่ะ อิอิ...
    ทำไงให้กระจ่างตรงนี้ได้ที พอพิจารณาอีก เอ๊า... แล้ว การวางเฉยล่ะ (อุเบกขาสภาพธรรมขณะนั้น)
    ก็จะเป็นการอดทนได้หรือเปล่า (555555 มากมายๆๆๆ ยิ่งคิด ยิ่งชักมาวธรรม ชักแยกไรไม่ออกแระ ปัญญาไม่มา อยู่ ๆ กะวูบบบสนิท อิอิ.. )
    มากมายจังเนอะบุษเนีย แต่อันนี้บุษก็ยังไม่ปิ้งปังซะทีเดียวนะค่ะ ขอเอาไปดู ๆ สังเกตุๆๆๆ ต่อนะค่ะ
    มาถึงตอนนี้แล้ว ยิ่งรู้สึกว่า ปัญญาหนีเราไปไหนเนียยยย อิอิ....
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Butsaya : 12-14-2012 เมื่อ 11:10 PM

    ธรรมมีทุกหย่อมหญ้า.......สำหรับผู้มีปัญญา
     
  5. Admax said:
    1. ทีนี้ถ้าเกิดว่า เราต้องอดทนต่อสิ่งที่เราพอใจอะค่ะ
    เช่น "
    แต่เวลาอดทนต่อคำชม อันนี้ไม่ใช่เมตตานะค่ะ" หรือ
    "อดทนต่อการเจอพระอรหันต์แล้ว ไม่ให้ดีใจ"


    - พึงพิจารณาตนเสมอๆว่าเรายังบกพร่อมสิ่งใด ควรเพิ่มลดตรงไหน
    - ระลึกรู้ว่าติดในคำชมก็เป็นทุกข์จากการที่ หลงตน ประมาณ สำคัญตน จนพลาดพลั้ง
    - ระลึกรู้ว่าติดในคำด่าก็เป็นความทุกข์จากการ ขุ่นมัวใจ ขัดเคืองใจ อัดอั้น คับแค้นกายใจ ไม่สบายกายใจ
    - ไม่หยิบจับเขาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีใดๆมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิตจนเสพย์เวทนาสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ
    - แล้วจิตจะละความสำคัญมั่นหมายต่อสิ่งเหล่านั้นลง
    - ไม่เอาความสำเร็จ ความสุข และ ทุกข์ ไปผูกไว้กับผู้อื่น ทั้งคำพูด และ การกระทำใดๆของเขา


    2.ขันติกับเมตตาและอุเบกขา

    - ผมสังเกตุดูขันติที่เมื่อมีสติรู้ว่า ควรหยุด-หยุดไว้ก่อน รู้ควรอดละ-อดละมันไว้ก่อน รู้ควรพอ รู้ละการกระทำใดๆทางกาย วาจา ไว้ก่อน ยังความสงบใจโดยที่จิตเราปราศจาก ความขุ่นมัวใจ อัดอั้นกาย-ใจ ขัดเคืองใจ คับแค้นกาย-ใจ
    - ผมสังเกตุดูเมตตาที่เมื่อมีสติรู้ว่า เกิดความปารถนาดีแก่เขาด้วยใจผ่องใสไม่ติดข้องใจใดๆ
    - ผมสังเกตุดูอุเบกขาที่เมื่อมีสติรู้ว่า มีใจวางไว้กลางๆ ไม่ติดช้องใจใดๆ ทั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีต่อสิ่งใดๆ มีความสงบ อบอุ่น ผ่องใส เบาบางใจ


    ข้อที่ 2 ความแตกต่างระหว่าง ขันติ เมตตา อุเบกขา จะเห็นในสภาพธรรมขณะนั้นต่างกันอยู่แต่รู้ได้ด้วยใจ รู้ได้เฉพาะตน
    บุษลองเข้าอัปปนาสมาธิให้มีกำลังว่างพอเกิดแต่ตัวรู้(สติ)ดูพิจารณาสภาพธรรมนั้นๆ แล้วค่อยถอยมาที่อัปปนาสมาธิพิจารณาดูครับ
    มันจะปฏิเวธแน่นอน เช่น เมื่ออยู่ในชีวิตประจำวันเราก็พึงเจริญสติปัฏฐานไป เมื่อพอว่างพอเหมาะก็เข้าสมาธิให้นิ่งให้นาน
    จนดับการรับรู้ภายนอกรู้แค่สภาพภายใน เมื่อเข้าได้นานขึ้น บ่อยขึ้น ก็ค่อยๆเรียนรู้กำหนดการเข้า-ออก ได้ทุกครั้งที่ต้องการ




    อันนี้ผมมั่วเอาครับ อย่าเชื่อ รอพี่เดฟเอาคำตอบจริงมาดีกว่า ผมขายยาพอแล้วครับ อิอิอิ
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  6. Admax said:
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตใจที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมคือ นินทาสรรเสริญนั้น เป็นจิตใจที่ประเสริฐยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่มนุษย์นี้ผู้ใด ฝึกตนให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ม้าอัสไนย ม้าสินทบ พญาช้าง ตระกูลมหาราชที่ได้รับการฝึกดีแล้ว จัดเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่บุคคลที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐยิ่งกว่าสัตว์เหล่านั้น"
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้อดทนต่อคำกล่าวล่วงเกินของผู้สูงกว่า ก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทนมีเมตตา ย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศอยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่าย สามารถปิดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้ คุณธรรมทั้งมวล มีศีลและสมาธิเป็นต้น ย่อมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย ! เมตตากรุณาเป็นพรอันประเสริฐในตัวมนุษย์"


    ลองอ่านใน 3 เดือนก่อนปรินิพพานเพิ่มเติมครับของแท้อยู่ในนั้นครับ
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ