พิจารณา กับ วิปัสนา

กระทู้: พิจารณา กับ วิปัสนา

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว oubasika

    oubasika said:

    พิจารณา กับ วิปัสนา

    สวัสดีค่ะพีเ่ดฟและเพื่อนๆธรรมทุกท่าน

    คำว่า พิจารณา กับ วิปัสนา ความหมายเดียวกันหรือป่าวค่ะ...

    ตามที่อุบาสิกาเข้าใจนะค่ะว่า คำว่าพิจารณา คือการมั่นพินิจในคำสอน ที่ได้ฟัง ได้อ่าน ได้คุยกัน ยังไม่ถึงขั้นเป็นปัญญา ใช่ป่ะค่ะ

    แต่วิปัสนาคือการได้ผ่านการพิจารณามาแล้ว จนเกิดเป็นสติปัฏฐานเป็นบาทไปสู่การรู้แจ้ง ถูกมั้ยค่ะ.


    *กิจโฉ มนุสสปฏิลาโภ การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นแสนยากส์
    *


     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    คำว่า "พิจารณา" นี้ก็มีความหมายกว้างแคบต่างๆ กันไปน่ะครับ

    โดยทั่วไปแล้ว เวลาที่เราบอกว่าให้ "พิจารณา"
    ก็จะเป็นการนึกคิดไตร่ตรอง ซึ่งมักจะเป็นเรื่องเป็นราวยาวๆ ใช่ไหมครับ
    อย่างเช่น เราบอกว่าให้พิจารณาถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    ก็จะมีการนึกคิดพิจารณาในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น
    ว่ามันแปรเปลี่ยนไปนะ ไม่คงทนถาวรนะ มีได้มาก็หมดไปนะ
    เห็นมั้ย ตะก่อนยังสาวๆ แต่เด๋วนี้แก่ลงนะ บังคับไม่ได้
    ฯลฯ อะไรต่างๆ ประมาณนี้ใช่ไหมครับ

    นี่ก็เป็นการพิจารณาในความหมายหนึ่ง
    เป็นการนึกคิดที่น้อมไปหาพระไตรลักษณ์
    ช่วยให้ละคลายวางลงได้บ้าง แต่ยังไม่อาจจะดับกิเลสได้สิ้นเชิง
    ซึ่งก็อาจจะเคยได้ยินบางคนเรียกขานการนึกคิดแบบนี้ว่าเป็น "วิปัสสนึก"

    ส่วนเวลาที่เป็นปัญญาอันเป็นวิปัสสนาญาณ
    เกิดขึ้นประจักษ์แจ้งจริงๆ ที่ตัวสภาพธรรม
    จิตที่ประกอบด้วยปัญญาคมกล้าในขณะนั้น
    สามารถรับรู้พิจารณาที่ตัวสภาพธรรมจริงๆ
    ซึ่งกำลังปรากฏทีละขณะๆ อย่างรวดเร็ว สั้นและไวที่สุด
    ไม่ใช่เป็นเรื่องเป็นราวยาวๆ น่ะครับ





    เดฟ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 03-24-2013 เมื่อ 09:05 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  3. รูปส่วนตัว oubasika

    oubasika said:
    อ้อๆๆ เข้าใจแล้วค่ะ คำว่าพิจารณา ใช้ได้ทั้งสองอย่าง มันต่างกันตรงปัญญา นี้เอง

    มี พิจารณาแบบวิปัสนึก เป็นปัญญาแบบบ้านๆทั่วไป มีปัญญาที่แค่ผ่อนทุกข์ให้ตัวเอง แต่ยังพิจารณาแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เหมือนนั่งทับไว้ ไม่ให้ทุกข์มันฟูขึ้นจนทนไม่ได้แค่นั้นเอง แต่ก็เป็นการสะสมการละคลายแบบหยาบ ๆเพื่อไปสู่การละคลายอย่างละเอียดขึ้นๆๆๆ

    กับ พิจารณาแบบวิปัสนา ปัญญาแท้ที่แจ้งประจักษ์ตามสภาพธรรมะแท้ๆ เป็นปัญญาที่แก้ปัญหาทุกข์ได้ตรงจุด ถึงรากเหง้า ทุกข์ หรือสุข เกิดขึ้น ก็พิจารณาว่าเป็นเพียงธรรมชาติ ชนิดหนึ่ง เท่านั้นเอง ไม่ใช่สัตว์ บุคล ตัวตน ของใคร เื่มื่อมีปัจจัยแก่สังขาร ก็ปรากฏขึ้นเองเป็นธรรมดา อนุโมทนาค่ะพี่เดฟฟฟ..
    ปล.ผิดถูกเพิ่มเติมได้นะค่ะ เพื่ออนุเคราะห์น้องๆ


    อุบาสิกา


    *กิจโฉ มนุสสปฏิลาโภ การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นแสนยากส์
    *


     
  4. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    ขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณ
    เป็นปัญญาซึ่งรู้แจ้งที่ตัวสภาพธรรม
    ไม่ใช่การนึกคิดเป็นชื่อเรียกหรือเป็นเรื่องราว
    แต่ขณะนั้นรู้แจ้งในลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ที่กำลังปรากฏ

    ดังตัวอย่างที่เคยกล่าวไว้น่ะครับ
    อย่างเช่น ความเย็นความร้อน
    (เพิ่มความอ่อนความแข็งเข้าไปอีกอย่างก็ได้)
    ขณะนั้นรู้ว่าความเย็นความร้อน หรือความอ่อนความแข็ง
    เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง (รูปธาตุ)

    ไม่ว่าจะจับสัมผัสสิ่งใดก็เป็นแต่เพียงเย็นๆ ร้อนๆ (ธาตุไฟ)
    หรืออ่อนๆ แข็งๆ (ธาตุดิน) ที่ปรากฏและหมดไปทีละขณะๆ
    เย็นร้อน อ่อนแข็ง ที่หมดไปแล้ว ก็หมดไปเลย ไม่กลับมาอีก
    มีแต่เย็นร้อน อ่อนแข็ง ใหม่เกิดขึ้นสืบต่อไปเรื่อยๆ
    สิ่งที่เพียงปรากฏและหมดไป จะยึดถือไว้เป็นตัวตนก็ไม่ได้

    ขณะที่ประจักษ์จริงๆ ในสภาพเย็นร้อน อ่อนแข็ง
    ขณะนั้นไม่ใช่แขน ไม่ใช่ขา ไม่ใช่ตัวทั้งตัว ฯลฯ
    หรือไม่ใช่สิ่งของ โต๊ะ เก้าอี้ จาน ชาม ทั้งชิ้น ฯลฯ
    นั่นเป็นแต่เพียงรูปลักษณ์ที่ปรากฏให้เห็น
    เพราะธาตุต่างๆ ประชุมรวมกันอยู่
    แล้วสัญญาก็ทรงจำรูปร่างไว้ นึกคิดชื่อเรียกว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้

    หากแต่เมื่อแตกย่อยสิ่งที่ประชุมรวมกันอยู่
    ปรากฏเป็นเพียงธาตุแต่ละธาตุ
    ก็มีเพียงเย็นร้อน อ่อนแข็ง ที่ปรากฏทางกาย
    ส่วนสีก็เป็นอีกธาตุนึงที่ปรากฏทางตา
    จึงมีการเห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดขึ้น
    แล้วทางใจก็นึกคิดเป็นความหมาย เป็นเรื่องราวต่างๆ ติดตามมา

    แต่เมื่อแยกสิ่งที่ประชุมรวมกันอยู่ออกจากกันแล้ว
    ก็มีแต่เพียงธาตุแต่ละอย่างๆ ที่ปรากฏทางทวารต่างๆ
    หาได้มีคน สัตว์ บุคคล ตัวตนใดๆ เลย

    นี่คือสภาพธรรมจริงๆ แท้ๆ
    พระธรรมที่ทรงแสดงจึงเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้จริงๆ น่ะครับ

    อนุโมทนาครับ




    เดฟ

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 03-24-2013 เมื่อ 09:07 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  5. รูปส่วนตัว oubasika

    oubasika said:
    อ่ะค่ะ ถ้าเป็นการประจักษ์แจ้งทางกาย ก็จะเป็นสภาพธรรมที่ เย็นร้อน(ธาตุไฟ) อ่อนแข็ง(ธาตุดิน) ตึงไหว(ธาตุลม)

    ทางตา หู จมูก ลิ้น เป็นธาตุอะไรอ่ะค่ะ ??
    มีธาตดินเป็นปัจจัย ใช่ปะค่ะ คือมีลูกกระตาจึงมีประสาทตา มีหูจึงมีประสาทหู ในกรณีที่ไม่บกพร่อง ทางประสาทตาและหูนะค่ะ

    ส่วนทางใจนี้ ก็จะมีแต่สภาพจิตที่ปรากฏขึ้น(จิตที่ถูกเจตสิกปรุงแต่งแล้ว)เป็นจิตในแต่ละอย่างๆ มีปัญญารู้ขณะจิตนั้น(สติสัมปชัญญะ) โดยไม่สนใจเรื่องราว มีแต่เพียงสภาพจิตเท่านั้น ถูกมั้ยค่ะ อิอิ ชักเริ่มสนใจมากขึ้น เป็นเหตุให้เกิดการวิปัสนึก มากขึ้นอีกเรื่อยๆ แห่ะๆ..


    อุบาสิกา



    *กิจโฉ มนุสสปฏิลาโภ การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นแสนยากส์
    *


     
  6. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    อ่ะค่ะ ถ้าเป็นการประจักษ์แจ้งทางกาย ก็จะเป็นสภาพธรรมที่ เย็นร้อน(ธาตุไฟ) อ่อนแข็ง(ธาตุดิน) ตึงไหว(ธาตุลม)
    ใช่แล้วครับ



    ทางตา หู จมูก ลิ้น เป็นธาตุอะไรอ่ะค่ะ ??
    ทางตา ก็คือ ธาตุสี
    ทางหู ก็คือ ธาตุเสียง
    ทางจมูก ก็คือ ธาตุกลิ่น
    ทางลิ้น ก็คือ ธาตุรส



    มีธาตุดินเป็นปัจจัย ใช่ปะค่ะ คือมีลูกกระตาจึงมีประสาทตา มีหูจึงมีประสาทหู ในกรณีที่ไม่บกพร่อง ทางประสาทตาและหูนะค่ะ
    หมายความว่า ปสาทตา ปสาทหู ปสาทจมูก ปสาทลิ้น ปสาทกาย
    จะเกิดขึ้นอยู่โดยลำพังลอยๆ ไม่ได้น่ะครับ
    รูปธาตุต่างๆ ทั้งหลายจะเกิดขึ้นอาศัยกัน ประชุมกันอยู่เป็นกลุ่ม
    คือ จะต้องมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ 4 ธาตุนี้เป็นหลัก
    แล้วก็จะมีธาตุที่อาศัยเกิดร่วมกันอีก 4 ธาตุ คือ ธาตุสี ธาตุกลิ่น ธาตุรส ธาตุโอชา
    รวมกันเป็น 8 ธาตุ เรียกว่า กลาป (กลุ่มของรูป)
    ในกลาปนึงจะต้องมีรูปธาตุ 8 รูปนี้เป็นอย่างน้อยที่สุดน่ะครับ

    สำหรับในสิ่งมีชีวิต
    กลาปใดที่เกิดจากกรรมก็จะมี ชีวิตรูป เกิดร่วมในกลาปนั้นด้วย
    ก็จะเป็น 9 รูป คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา ชีวิตรูป

    แล้วถ้าเป็นกลาปที่มีปสาทรูปเกิดร่วมด้วย ก็จะเป็น 10 รูป
    คือถ้ามีปสาทตาเกิดร่วมในกลาปนั้น
    ก็จะเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา ชีวิตรูป จักขุปสาท

    ปสาทหู ปสาทจมูก ปสาทลิ้น ปสาทกาย
    ก็ทำนองเดียวกันน่ะครับ



    ส่วนทางใจนี้ ก็จะมีแต่สภาพจิตที่ปรากฏขึ้น(จิตที่ถูกเจตสิกปรุงแต่งแล้ว)เป็นจิตในแต่ละอย่างๆ มีปัญญารู้ขณะจิตนั้น(สติสัมปชัญญะ) โดยไม่สนใจเรื่องราว มีแต่เพียงสภาพจิตเท่านั้น ถูกมั้ยค่ะ อิอิ ชักเริ่มสนใจมากขึ้น เป็นเหตุให้เกิดการวิปัสนึก มากขึ้นอีกเรื่อยๆ แห่ะๆ..
    จิตที่เกิดขึ้นรับรู้ทางใจ สามารถรับรู้ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
    ไม่ว่าจะเป็น สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว
    ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ความชอบ, ความโกรธ,
    ดีใจ, เสียใจ, เศร้า, เหงา, สนุก ฯลฯ เป็นต้น
    และเรื่องราวต่างๆ อันเป็นสมมุติบัญญัติ
    ทางใจสามารถรรับรู้ได้หมดเลยครับ
    ซึ่งถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรม เราก็จะรู้รวมๆ กันไปหมด
    เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นคนนั้นคนนี้ เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้
    เป็นชื่อเรียก เป็นความหมาย เป็นเรื่องราวต่างๆ เต็มไปหมด
    โดยที่ไม่รู้ว่าอะไรคือสภาพธรรมตามความเป็นจริง

    แต่เมื่อได้ศึกษาพระธรรม
    ก็รู้ว่าสภาพธรรมแท้ๆ นั้น (รูปธาตุ นามธาตุ)
    ต่างจากเรื่องราวอันเป็นสมมุติบัญญัติ
    สติปัฏฐานก็เกิดขึ้นระลึกรู้ได้ถูกตรง ที่ตัวสภาพธรรมแท้ๆ
    ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของรูปธาตุต่างๆ แต่ละอย่าง
    หรือสภาพจิตใจแต่ละสภาพที่เกิดขึ้นเป็นไป
    (ตามกำลังที่จะสามารถระลึกรู้ได้)

    กระนั้นก็ห้ามความคิดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องราวไม่ได้
    เพราะธรรมชาติของจิตเค้าย่อมนึกคิดติดอยู่กับเรื่องราวต่างๆ
    จึงเป็นธรรมดาที่อาจจะมีความคิดเป็นชื่อเรียก เป็นเรื่องราว เกิดขึ้นสลับกันไป
    บางคนก็อาจจะนึกเรียก นึกพากษ์ อยู่ในใจ ใช่ไหมครับ

    ดังนี้แล้ว จึงไม่ใช่การบังคับว่าห้ามนึกคิดเป็นเรื่องราว
    แต่รู้เท่าทันสภาพที่เกิดขึ้นเป็นไป
    ว่าขณะใดกำลังรู้ที่ตัวสภาพธรรมแท้ๆ
    และขณะใดกำลังรู้โดยเรื่องราวอันเป็นสมมุติบัญญัติ
    เพราะจะเป็นคนละขณะกัน
    แต่อาจจะสืบต่อสลับกันไปอย่างไวน่ะครับ

    อนุโมทนาครับ





    เดฟ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 03-29-2013 เมื่อ 02:38 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  7. รูปส่วนตัว oubasika

    oubasika said:
    อ่ะค่ะ เมื่อได้มีการศึกษาพระธรรม ก็จะเข้าใจในธรรมที่ปรากฏนั้นๆ ถึงจะตรงบ้างไม่ตรงบ้าง ก็ถือว่าเป็นการอบรมให้มีการพิจารณาธรรมนั้นที่ปรากฏอยู่เนืองๆ จนเกิดเป็นสังขารขันธ์ที่ทำกิจระลึกรู้สภาพธรรมนั้นเองโดยไม่มี ตัวตนบุคคลใดเข้าไปทำให้เกิดความรู้นั้นๆขึ้นมาได้เลย จนกว่าจะเกิดเป็นสติปัฏฐานระลึกตรงสภาพธรรมนั้นๆของเค้าเอง ตามจริงเป็นเช่นนี้นะค่ะ (แต่ตอนนี้ยังเป็นเรารู้อยู่นั้นเอง ปัญญายังไม่เกิด ) เป็นเพียงความจำ

    แต่แหม! เห็นแว่บๆเรื่องรูป
    เคยอ่านผ่านๆยังไม่ได้ศึกษาให้จริงจังและก็ยังไม่เคยตั้งกระทู้ถามใครเลยอีกด้วย
    ในเมื่อโอกาสผ่านเข้ามาแล้วก็เอาซะหน่อยเนาะ อิอิ คือเก็บไว้นานแล้วค่ะความสงสัย

    คือ...รูปธาตุที่มีดินน้ำลมไฟมาประชุมกัน แล้วมีอีก4รูปที่เข้ามาอาศัยธาตุ4นั้นเกิดอ่ะค่ะ คือสี กลิ่น รส โอชา
    สงสัยว่า...แล้วทำไม4รูปนั้นคือสี กลิ่น รส โอชา จึงได้มีความสำคัญ มาอาศัยรูปดินน้ำลมไฟเกิด แยกจากกันไม่ได้เลยอ่ะค่ะ เพราะอะไร

    แล้วเหตุไฉนธาตุเสียงจึงไม่มีความสำคัญในอุปทยารูป4นั้นด้วยอ่ะค่ะ

    คำว่า อสภาวรูปนี้คือ รูปที่ไม่มีลักษณะให้จิตรู้ใช่ป่ะค่ะ

    แล้วทำไมกระเทย ไม่มีภาวรูป ใด ภาวะหนึ่งอ่ะค่ะ เพราะกระเทยก็เห็นเป็นรูปร่างผู้ชายแต่แรกอ่ะค่ะ ทำไมถึงกล่าวว่ากระเทยไม่มีภาวรูป
    ไม่ทราบว่าความสงสัยส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาหรือป่าวนะค่ะ แต่สอบถามเพื่อความเข้าใจค่ะ ขอบพระคุณค่ะ


    *กิจโฉ มนุสสปฏิลาโภ การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นแสนยากส์
    *


     
  8. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    ถ้าให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ในเบื้องต้น ก็คือ


    รูปธาตุทั้งหมดมี 28 รูปน่ะครับ
    ใน 28 รูปนี้ จะมีรูปที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน อยู่ 4 รูป
    เรียกว่า "มหาภูตรูป" ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม
    4 รูปนี้เองที่เป็นหลักให้รูปอื่นๆ อาศัยเกิดขึ้น


    สำหรับรูปที่เหลือ 24 รูป
    เวลาเกิดขึ้นก็ต้องเกิดร่วมกับรูปที่เป็นหลัก
    จะไปเกิดเองโดยไม่อาศัยรูปหลักไม่ได้
    เรียกว่า "อุปาทายรูป"


    ทีนี้ใน 24 รูปนั้น
    จะมีอยู่ 4 รูป คือ สี กลิ่น รส โอชา
    ซึ่งจะเกิดร่วมกับรูปที่เป็นหลักเสมอ
    เมื่อมีมหาภูตรูป 4 ก็จะต้องมีอุปาทายรูปอีก 4
    ไม่ว่าจะที่กายหรือนอกกาย ในทุกสรรพสิ่งที่มีรูปธาตุรวมกันอยู่
    เมื่อแยกย่อยออกจนไม่สามารถแยกจากกันได้อีกแล้ว
    จะประกอบด้วยกลุ่มรูปที่เล็กที่สุด 8 รูปนี้ เรียกว่า "อวินิพโภครูป"

    ส่วนอุปาทายรูปที่เหลือ 20 รูปนั้น
    ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีความสำคัญ
    เพียงแต่ว่าบางครั้งก็เกิดร่วมด้วย
    บางครั้งก็ไม่ได้เกิดร่วมด้วย
    ไม่ได้เกิดร่วมกันเสมอไป
    เหมือนอย่างกลุ่มของอวินิพโภครูปน่ะครับ

    - ถ้าลองมองไปรอบๆ ไม่ว่าจะมองไปทางไหน
    ก็จะเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอ เพราะมีสีเกิดร่วมด้วยในที่นั้นนั่นเอง


    - ลองดมไปทุกๆ สิ่ง ก็จะได้กลิ่นใดกลิ่นหนึ่ง ชัดบ้าง จางบ้าง
    หรือบางกลิ่นคนดมไม่รู้ แต่สัตว์บางชนิดก็ดมรู้


    - ทีนี้ ลองเอาลิ้นเลียๆ ไปทุกๆ ที่เลยนะครับ 555
    เลียไปที่จานเปล่าๆ ช้อนเปล่าๆ ก็ได้
    หรือแม้แต่ดื่มน้ำเปล่าที่เราบอกว่าจืดสนิท
    ก็พอจะรู้สึกได้ว่าสัมผัสรสอะไรบางอย่าง
    ซึ่งอาจจะอ่อนๆ จางๆ อย่างมาก
    เหมือนว่าไม่มีรส หรืออาจจะเรียกรสนั้นไม่ถูก
    บางทีก็เรียกว่าจืด คือจางมากๆ นั่นเอง
    แล้วถ้าเป็นรสต่างๆ ที่อยู่ในอาหารหรือขนมที่รับประทาน
    ก็จะยิ่งรู้รสนั้นๆ ได้ชัดขึ้นใช่ไหมครับ


    - อาหารที่รับประทานเข้าไปนั้น
    นอกจากจะมีรสแล้ว ก็จะมี "โอชา" อยู่ด้วย
    หรือที่เราเรียกว่าสารอาหารอ่ะครับ
    จึงช่วยอุปถัมภ์หล่อเลี้ยงร่างกาย
    แม้แต่ของบางอย่างที่ไม่ใช่อาหารสำหรับคน
    แต่ก็อาจเป็นอาหารของสัตว์อื่นๆ
    เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ หรือแม้แต่บ้านไม้ทั้งหลัง
    ก็ยังเป็นอาหารแก่ปลวกได้น่ะครับ


    ดังนั้น ในทุกสรรพสิ่งที่มีรูปธาตุ
    จึงต้องมีอวินิพโภครูป 8 นี้ยืนพื้นเสมอ
    คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา


    ส่วน "เสียง" ก็เป็นรูปชนิดหนึ่ง เป็นอุปาทายรูป
    ซึ่งเวลาเกิดก็ต้องอาศัยเกิดขึ้นที่มหาภูตรูป
    โดยเกิดร่วมกับอวินิพโภครูป
    คือ อวินิพโภครูป + เสียง

    แต่ว่าเสียงนั้นบางครั้งก็เกิด บางครั้งก็ไม่เกิด
    ไม่เหมือนกับ สี กลิ่น รส โอชา ที่ต้องเกิดร่วมกับมหาภูตรูปเสมอ
    เสียงจึงไม่ได้เป็นกลุ่มรูปที่แยกจากกันไม่ได้
    เหมือนอย่างอวินิพโภครูปน่ะครับ





    เดฟ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 03-29-2013 เมื่อ 10:24 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  9. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    สำหรับ "อสภาวรูป"
    หมายถึง รูปที่ไม่มีสภาวะหรือลักษณะของตนเอง
    แต่ว่าเกิดขึ้น มีขึ้น โดยอาศัยการเกิดขึ้นของ "สภาวรูป" น่ะครับ


    "อสภาวรูป" นี้รับรู้ได้ทางมโนทวาร
    มีอยู่ 10 รูป คือ...

    ปริจเฉทรูป เกิดขึ้นโดยเป็นช่องว่างระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป

    อุปจยรูป คือขณะที่รูปนั้นๆ เกิดขึ้น

    สันตติรูป คือขณะที่รูปนั้นๆ ตั้งอยู่

    ชรตารูป คือขณะที่รูปนั้นๆ เสื่อม

    อนิจจตารูป คือขณะที่รูปนั้นๆ ดับไป

    ลหุตารูป คือความเบาของรูปนั้นๆ

    มุทุตารูป คือความอ่อนของรูปนั้นๆ

    กัมมัญญตารูป คือความเหมาะควรแก่การงานของรูปนั้นๆ

    กายวิญญัตติรูป คือ อาการไหวไปของรูปซึ่งทำให้รู้ความหมายทางกาย

    วจีวิญญัตติรูป คือ อาการไหวไปของรูปซึ่งทำให้รู้ความหมายทางวาจา




    เดฟ

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 03-29-2013 เมื่อ 07:58 AM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  10. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    "ภาวรูป" คือรูปที่บ่งบอกความเป็นเพศชายหรือเพศหญิง
    ได้แก่ ปุริสภาวรูป และ อิตถีภาวรูป
    ซึ่งสามารถรับรู้ได้ทางมโนทวาร

    สิ่งที่จะบ่งบอกให้รู้ได้ว่าเป็นชายหรือหญิง
    ประมวลแล้วก็คือ...

    ลิงฺค ได้แก่รูปร่างสัณฐาน
    เช่น รูปร่างหน้าตา แขน ขา มือ เท้า เป็นต้น

    นิมิตฺต ได้แก่สิ่งที่เป็นเครื่องหมายให้รู้
    เช่น ผู้ชายก็มีหนวดเครา ผู้หญิงก็มีหน้าอก เป็นต้น

    กุตฺต ได้แก่ นิสัยใจคอ
    เช่น อ่อนโยน หรือ ห้าวหาญ เป็นต้น

    อากปฺป ได้แก่กิริยาท่าทางต่างๆ
    เช่น การเดิน การยืน การพูด แช่มช้อยหรือเข็มแข็ง เป็นต้น

    จะเห็นได้ว่า...แท้จริงแล้วที่เราเห็นทางตานั้นคือเห็น "สี"
    ซึ่งรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นรูปทรงต่างๆ เป็นท่าทางต่างๆ
    แล้วทางใจจึงรู้ว่านี้เป็นผู้ชาย หรือนี้เป็นผู้หญิง น่ะครับ





    เดฟ

    (มีต่อหน้า 2)
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 03-28-2013 เมื่อ 04:54 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย