ศาสนพิธี

กระทู้: ศาสนพิธี

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    ศาสนพิธี



    ศาสนพิธี



    พิธี คือ แบบอย่าง แบบแผน หรือรูปแบบต่างๆ ที่พึงปฏิบัติในทางศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาเรียกว่า ศาสนพิธี

    ความจริงเรื่อง ศาสนพิธี เป็นเรื่องที่มีด้วยกันทุกศาสนา และเป็นเรื่องเกิดขึ้นทีหลังศาสนา หมายความว่า มีศาสนาเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงมีพิธีต่างๆ เกิดตามมาภายหลัง แม้ศาสนพิธีในพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน เกิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้นเหตุเกิดศาสนพิธีในพระพุทธศาสนานี้ ก็เนื่องจากมีหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงวางไว้แต่ในปีที่ตรัสรู้ เพื่อสาวกจะได้ถือเป็นหลักในการออกไปประกาศพระศาสนา อันเรียกว่า "โอวาทปาติโมกข์" ในโอวาทนั้น มีหลักการสำคัญที่ทรงวางไว้เป็นหลักทั่วๆไป ๓ ประการคือ

    ๑. สอนไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง
    ๒. สอนให้อบรมกุศลให้พร้อม
    ๓. สอนให้ทำจิตใจของตนให้ผ่องแผ้ว

    โดยหลักการทั้ง ๓ นี้ เป็นอันว่าพุทธบริษัทต้องพยายามเลิกละความประพฤติชั่วทุกอย่าง จนเต็มความสามารถ และพยายามสร้างกุศลสำหรับตนให้พร้อมเท่าที่จะสร้างได้ กับพยายามชำระจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ ด้วยการพยายามทำตามคำสอนในหลักการการนี้ เป็นการพยายามทำดี เรียกว่า "ทำบุญ" และการทำบุญนี้แหละพระพุทธเจ้าทรงแสดงวัตถุ คือที่ตั้งอันเป็นทางไว้โดยย่อ ๆ ๓ ประการ เรียกว่า "บุญกิริยาวัตถุ" คือ

    ๑. ทาน การบริจาคสิ่งของของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
    ๒. ศีล การรักษากายวาจาให้สงบเรียบร้อยไม่ล่วงพุทธบัญญัติ
    ๓. ภาวนา การอบรมจิตใจให้ผ่องใสในทางกุศล

    บุญกิริยานี้เอง เป็นแนวให้พุทธบริษัทปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวข้างต้น และเป็นเค้าให้เกิดศาสนพิธีต่างๆ ขึ้นโดยนิยม คือ ในกาลต่อ ๆ มา พุทธบริษัทนิยมทำบุญ ไม่ว่าจะปรารภเหตุใดๆ ก็ให้เข้าหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ นี้ โดยเริ่มต้นมีการรับศีล ต่อไปภาวนาด้วยการสวดมนต์เองหรือฟังพระสวดแล้วส่งใจไปตาม จบลงด้วยการบริจาคทานตามสมควร เพราะนิยมทำบุญเป็นการบำเพ็ญความดีดังกล่าวนี้ และทำในกรณีต่าง ๆ กันตามเหตุที่ปรารภ จึงเกิดพิธีกรรมขึ้นมากประการ เมื่อพิธีกรรมใด เป็นที่นิยมและรับรองปฏิบัติสืบ ๆ มาจนเป็นประเพณี พิธีกรรมนั้นก็กลายเป็นศาสนพิธีขึ้น ฉะนั้น ศาสนพิธีจึงมีมากมาย เมื่อแยกเป็นหมวดก็สงเคราะห์ได้ ๔ หมวด คือ

    ๑. หมวดกุศลพิธี ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญกุศล
    ๒. หมวดบุญพิธี ว่าด้วยพิธีทำบุญ
    ๓. หมวดทานพิธี ว่าด้วยพิธีถวายทาน
    ๔. หมวดปกิณกพิธี ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด


    มีต่อคะ





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน
     
  2. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    Re: ศาสนพิธี


    กุศลพิธี


    ความหมาย

    เรื่องกุศลพิธี เป็นเรื่องพิธีกรรมต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยการอบรม ความดีงามทางพระพุทธ ศาสนาเฉพาะตัวบุคคล คือ เรื่องสร้างความดีแก่ตนทางพระพุทธศาสนา ตามพิธีนั่นเอง ซึ่งพิธี ทำนองนี้มีมากด้วยกัน เมื่อจัดเข้าเป็นหมวดเดียวกัน จึงให้ชื่อหมวดว่า “หมวดกุศลพิธี” ฉะนั้น หมวดกุศลพิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะนำกุศลพิธีเฉพาะที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติในเบื้องต้น อย่างสามัญ มาชี้แจงเพียง ๓ เรื่อง คือ

    ก. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

    ข. พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา , วันวิสาขบูชา , วันอาสาฬหบูชา , วันอัฐมีบูชา

    ค. พิธีรักษาอุโบสถศีล


    --------------------------------------------------------------------------------

    ก. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

    การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือ การประกาศตนของผู้แสดงว่า เป็นผู้รับนับถือ พระพุทธเจ้าเป็นของตน เป็นการแสดงตนให้ปรากฏว่ายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิต ของตนนั้นเอง สมเด็จพระมหาสมอย่างสูง ให้ปรากฏเช่นในบัดนี้ กราบด้วย เบญจางคประดิษฐ์ ท่านว่าใช้ได้ ทำข้อหลัง ดูเหมือน เพียงได้ความรับรองว่าเป็นผู้นับถือ”
    “การปฏิญาณตนเป็นผู้นับถือพระศาสนา ไม่จำทำเฉพาะคราวเดียว ทำซ้ำ ๆ ตามกำลัง แห่งศรัทธาและเลื่อมใสก็ได้ เช่น พระสาวกบางรูป ภายหลังแต่ได้รับอุปสมบท ลั่นวาจาว่า “พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ๆ เป็นสาวก” ดังนี้ก็มี อุบาสกประกาศตน หนหนึ่งแล้ว ประกาศซ้ำอีกก็มี”

    “เมื่อการถือพระศาสนาไม่เป็นเพียงเฉพาะตัว ถือกันทั่วทั้งสกุลและสืบชั้นลงมา มารดา บิดายอมนำบุตรธิดาของตนให้เข้าถึงพระศาสนาที่ตนนับถือตั้งแต่ยังเป็นเด็กอ่อน ไม่รู้จักเดียงสา มีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถาว่า นิมนต์พระสำหรับสกุลไปแล้ว ขอให้ขนาน ชื่อและให้สิกขาบทแก่เด็ก ขอให้ขนานชื่อไม่เคอะ ขอให้สิกขาบทเคอะอยู่ หรือให้พอเป็นพิธีเท่านั้น ธรรมเนียมเมือง เราเจ้านายประสูติใหม่ นำเข้าเมื่อสมโภชเดือน เชิญเสด็จ ออกมาหาพระสงฆ์ถ้าเป็นพระกุมาร พระสังฆเถระผู้พระหัตถ์ด้วยด้ายสายสิญจน์ ถ้าเป็นพระกุมารี พาดสายสิญจน์ไว้มุมเบาะข้างบน แล้วพระสงฆ์สวดอำนวยพระพรด้วยบาลีว่า โส อตฺถลทฺโธ.... หรือ สา อตฺถลทฺธา..... โดยควรแก่ภาวะบุตรธิดา ของสกุลที่ไม่ได้ ทำขวัญเดือน ดูเหมือน นำมาขอให้พระผูกมือให้เท่านั้น ความรู้สึกก็ไม่เป็นไปทางเข้าพระศาสนา เป็นไปเพียงทางรับ มงคลเนื่องด้วยพระศาสนา”

    “นำเข้าพระศาสนาแต่ยังเล็ก เด็กไม่รู้สึกด้วยตนเอง เมื่อโตขึ้นที่เป็นชายจึงนำเข้า บรรพชาเป็นสามเณร และอุปสมบทเป็นภิกษุ ที่เจ้าตัวได้ปฏิญาณและได้ความรู้สึก การนำและ สำแดงซ้ำ อย่างนี้เป็นทัฬหีกรรม คือ ทำให้มั่น เช่นเดียวกับอุปสมบทซ้ำ”

    “เมื่อความนิยมในการบวขเณรจืดจางลง พร้อมกันเข้ากับการส่งเด็กออกไปเรียนในยุโรป ก่อนแต่มีอายุสมควรบวชเณร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปริวิตก ว่าเด็ก ๆ จักหาได้ความรู้สึกในทางพระศาสนาไม่ จึงโปรดให้พระราชโอรส ผู้มิได้เคยทรงผนวช เป็นสามเณรทรงปฏิญาณพระองค์ เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาก่อนเสด็จออกไปศึกษายุโรป ครั้งนั้นใช้คำสำแดงเป็นอุบาสกตามแบบบาลี พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นพระองค์แรกปฏิญาณพระองค์ตามธรรมเนียมที่ทรงตั้งขึ้นใหม่นั้น และใช้เป็นราชประเพณี ต่อมาได้ทราบว่า ผู้อื่นจากพระราชวงศ์ เห็นชอบตามพระราชดำริ ทำตามบ้างก็มี”

    “ธรรมเนียมนี้แม้ได้ใช้นานมาแล้วยังไม่ได้เรียบเรียงไว้เป็นแบบแผน คราวนี้ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า (รัชกาลที่ ๖) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าจะส่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมพฏพงศ์บริพัตร พระโอรสสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์ วรพินิตกับหม่อมเจ้าอื่น ๆ ออกไปศึกษาในยุโรป สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต มีพระประสงค์จะให้พระโอรสได้ปฏิญาณพระองค์ในพระพุทธศาสนาตามธรรมเนียม ที่พระองค์ ได้เคยทรงมา พระบิดาและพระญาติของ หม่อมเจ้าอื่นก็ทรงดำริร่วมกัน เป็นอันว่า ธรรมเนียมนี้ ยังจักใช้อยู่ต่อไป ข้าพเจ้าจึงเรียบเรียงตั้งเป็นแบบไว้ทีเดียว สำหรับใช้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจ้านาย ได้แก้บท “อุบาสก” เฉพาะผู้ใหญ่ผู้ได้ศรัทธาเลื่อมใสด้วยตนเองเป็น “พุทธมามกะ” ที่แปลว่า ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน”

    โดยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นประเพณีนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะขึ้นสืบต่อกันมา แต่ใน ปัจจุบันความนิยมของชาวพุทธในประเทศไทยมีสรุปได้ว่า

    ๑. เมื่อมีบุตรหลานของตนมีอายุพ้นเขตเป็นทารก เจริญวัยอยู่ในระหว่างอายุ ๑๒ ถึง ๑๕ ปี ก็ประกอบพิธีให้บุตรหลานได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อให้เด็กสืบความเป็นชาวพุทธ ตามตระกูลวงศ์ต่อไป หรือ

    ๒. เมื่อจะส่งบุตรหลานของตนซึ่งเป็นชาวพุทธอยู่แล้ว ให้ไปอยู่ในถิ่นที่ไม่ใช่ดินแดน ของพระพุทธศาสนา เพื่อการศึกษาหรือเพื่อประโยชน์ใด ๆ ก็ตาม เป็นการที่ต้องจากถิ่นไป นานแรมปี ก็นิยมประกอบพิธีให้บุตรหลานของตนที่จะจากไปนั้น แสดงตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อให้เด็กได้รำลึกอยู่เสมอว่าตนเป็นพุทธศาสนิกชน หรือ

    ๓. เมื่อจะปลูกฝังนิสัยเยาวชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนา ส่วนมากทางโรงเรียนที่สอน วิชาทั้งสามัญและอาชีวศึกษาแก่เด็ก ซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่มชาวพุทธ นิยมประกอบพิธีให้นักเรียน ที่เข้าศึกษาใหม่ในรอบปี ได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะหมู่ คือ แสดงรวมกันเป็นหมู่ ทำปีละ ครั้งในวันที่สะดวกที่สุด เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญ ในการที่ตนเป็นชาวพุทธร่วมอยู่กับ ชาวพุทธทั้งหลายและ

    ๔. เมื่อมีบุคคลต่างศาสนาเกิดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต้องการจะประกาศตน เป็นชาวพุทธ ก็ประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะเพื่อประกาศว่า นับแต่นี้ไปตนยอมรับนับถือ พระพุทธศาสนาแล้ว


    --------------------------------------------------------------------------------

    การแสดงตนเป็นพุทธมามกะตามธรรมเนียมในปัจจุบัน มีระเบียบปฏิบัติที่นิยมกัน ดังต่อไปนี้


    ระเบียบพิธี

    ๑. มอบตัว ผู้ประสงค์จะประกอบพิธี ต้องไปมอบตัวกับพระอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ และมุ่งหมายจะให้เป็นประธานสงฆ์ในพิธีด้วยก่อน ถ้าเป็นเด็กต้องมีผู้ปกครองนำไป แต่ถ้าเป็น พิธีแสดงหมู่ เช่น นักเรียน ให้ครูใหญ่หรือผู้แทนโรงเรียน เป็นผู้นำแต่เพียงบัญชีรายชื่อของ นักเรียนที่จะเข้าพิธีไปเท่านั้นก็พอ ไม่ต้องนำนักเรียน ทั้งหมดไปก็ได้ การมอบตัวควรมีดอกไม้ ธูปเทียนใส่พานไปถวาย พระอาจารย์ตาม ธรรมเนียมโบราณด้วย พึงปฏิบัติดังนี้

    ก. เข้าไปหาพระอาจารย์ ทำความเคารพพร้อมกับผู้นำ (ถ้ามีผู้นำ)

    ข. แจ้งความประสงค์ให้พระอาจารย์ทราบ เมื่อพระอาจารย์รับแล้ว จึง มอบตัว

    ค. การมอบตัว ให้ผู้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะถือพานดอกไม้ธูปเทียน ที่เตรียม ไปนั้น เข้าไปใกล้ ๆ พระอาจารย์ คุกเข่าลงกับพื้น กะว่าเข่าของตนห่างจากตัว พระอาจารย์ ประมาณศอกเศษ แล้วยกพานนั้นน้อมตัวประเคน เมื่อพระอาจารย์รับพาน แล้ว เขยิบกายถอย หลังทั้ง ๆ อยู่ในท่าคุกเข่านั้น ห่างออกมาเล็กน้อย แล้วประนมมือก้มลงกราบ ด้วยเบญจางค ประดิษฐ์ ตรงหน้าพระอาจารย์ ๓ ครั้ง ถ้าเป็นตัวแทนมอบตัวหมู่ ให้ผู้แทน ปฏิบัติเช่นเดียวกัน พร้อมกับถวายบัญชีรายชื่อผู้ที่จะประกอบพิธี

    ฆ. กราบเสร็จแล้วนั่งราบในท่าพับเพียบลงตรงนั้นเพื่อฟังข้อแนะนำ และ นัดหมายของพระอาจารย์จนเป็นที่เข้าใจเรียบร้อย

    ง. เมื่อตกลงกำหนดการกันเรียบร้อยแล้ว ขอเผดียงสงฆ์ต่อพระอาจารย์ ตาม จำนวนที่ต้องการ ไม่น้อยกว่า ๓ รูป รวมเป็น ๔ ทั้งพระอาจารย์

    เมื่อเสร็จธุระนี้แล้ว ให้กราบลาพระอาจารย์ด้วยเบญจางคประดิษฐ์อีก ๓ ครั้ง

    ๒. เตรียมการ ในการประกอบพิธีนี้ต้องมีเตรียมการให้พร้อมทั้ง ฝ่ายสงฆ์และ ฝ่ายผู้แสดงตน คือ

    ก. ฝ่ายสงฆ์ พระอาจารย์ผู้เป็นประธานสงฆ์ที่ได้รับมอบตัว ผู้จะแสดงตน เป็นพุทธมามกะแล้ว ต้องเป็นผู้จัดเตรียมบริเวณพิธีภายในวัดไว้ให้พร้อมก่อนกำหนดนัด เพราะพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะนี้ ประกอบขึ้นในวัดเป็นเหมาะที่สุด ถ้าไม่จำเป็นแล้ว ไม่ควรทำในที่อื่น บริเวณพิธีในวัดควรจัดในพระอุโบสถได้เป็นดี เพราะเป็นสถานที่สำคัญ อันเป็นหลักของวัด แต่ถ้าในพระอุโบสถไม่สะดวกด้วยประการใด ๆ ควรจัดในวิหาร หรือ ศาลาการเปรียญ หอประชุมแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ ไม่ควรจัดให้มีในที่กลางแจ้ง ควรตั้งโต๊ะบูชา มีพระพุทธรูปเป็นประธาน ในบริเวณพิธีนั้น ๆ จัดให้สะอาดเรียบร้อยตามธรรมเนียม และให้เด่น อยู่กึ่งกลาง ถัดหน้าโต๊ะบูชาออกมาตรงหน้าพระประธาน ตั้งหรือปูอาสนะสงฆ์ หันหน้าออก ตามพระประธานนั้น อาสนะพระอาจารย์อยู่ข้างหน้าเดี่ยวเฉพาะองค์เดียว อาสนะ พระสงฆ์อยู่ ข้างหลังพระอาจารย์ เรียงแถวหน้ากระดาน ถ้าเป็นการแสดงตนหมู่ ควรเตรียมที่ปักธูปเทียน และที่วางดอกไม้บูชาพระสำหรับผู้แสดงตนไว้ข้างหน้าให้พร้อม ถ้าสถานที่ไม่อำนวยให้จัดเช่นนี้ ได้ก็จัดอาสนะพระอาจารย์และพระสงฆ์ให้อยู่ทางซีกขวา ของพระประธานเป็นด้านข้าง ให้หันหน้า ไปทางซีกซ้ายของพระประธาน วิธีจัดก็ให้อาสนะพระอาจารย์อยู่หน้าอาสนะสงฆ์ เรียงแถวอยู่หลัง พระอาจารย์ เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้ว ที่จัด ดังนี้ก็เพื่อให้ผู้แสดงตน เข้าแสดงตนต่อสงฆ์โดยหันหน้า ตรงพระอาจารย์แล้วได้หันมือขวา เข้าหาพระประธาน นับเป็นการแสดงความเคารพอีกประการ หนึ่งด้วย

    ข. ฝ่ายผู้แสดงตน ต้องตระเตรียมผ้าขาวสำหรับนุ่งผืนหนึ่ง ชายควรนุ่ง โจงกระเบน หญิงควรนุ่งจีบแบบผ้าถุง หรือจะตัดเย็บเป็นกระโปรง ก็ได้แล้วแต่เหมาะสม และต้องมีผ้าขาวสำหรับห่มสะไบเฉียงอีกหนึ่งผืน ใช้เหมือนกัน ทั้งชายและหญิง นอกจาก นี้มีเสื้อขาวแบบสุภาพสวมก่อนสะไบเฉียงทั้งชายและหญิง รองเท้าและถุงเท้าไม่ต้องใช้พิธี ถ้าเป็นการแสดงตนหมู่ เช่น นักเรียนหรือข้าราชการ เป็นต้น จะไม่นุ่งขาวห่มขาวตามแบบ ก็ให้แต่งเครื่องแบบของตนให้เรียบร้อยทุกประการ เว้นแต่รองเท้าต้องถอดในเวลาเข้าพิธี อีก ประการหนึ่ง ต้องเตรียมเครื่องสักการะสำหรับถวายพระอาจารย์ในพิธีเฉพาะตน ๆ ด้วย คือ ดอกไม้ ธูปเทียนใส่พาน ๑ ที่ กับดอกไม้ธูปเทียนสำหรับจุดบูชาพระในพิธี ๑ ที่ นอกนั้น จะมี ไทยธรรมถวายพระสงฆ์ในพิธีด้วย ก็แล้วแต่ศรัทธา

    ๓. พิธีการ เมื่อเตรียมการพร้อมทุกฝ่ายดังกล่าวแล้ว ถึงวันนัดประกอบพิธีโดย

    ก. ให้ผู้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะ นุ่งขาว ห่มขาว หรือแต่งเครื่องแบบ ของตนเรียบร้อยแล้วไปยังบริเวณพิธีก่อนกำหนด นั่งรอเวลาในที่ที่ทางวัดจัดไว้

    ข. ถึงเวลากำหนด พระอาจารย์และพระสงฆ์เข้าสู่บริเวณพิธี กราบพระ พุทธรูปประธานแล้ว เข้านั่งประจำอาสนะ

    ค. ให้ผู้แสดงตนเข้าไปคุกเข่าหน้าโต๊ะบูชา จุดธูปเทียนและวางดอกไม้บูชา พระส่งใจระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เปล่งวาจาว่า

    อิมินา สกฺกาเรน, พุทฺธํ ปูเชมิ.

    ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้

    (กราบ)

    อิมินา สกฺกาเรน, ธมฺมํ ปูเชมิ.

    ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้

    (กราบ)

    อิมินา สกฺกาเรน สงฺฆํ ปูเชมิ.

    ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้

    (กราบ)


    ถ้าเป็นการแสดงตนหมู่ ให้หัวหน้าเข้าไปจุดธูปเทียนบูชาคนเดียว นอกนั้นวางดอกไม้ ธูปเทียนยังที่ที่จัดไว้ แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ หัวหน้านำกล่าวคำบูชา ให้ว่าพร้อมๆ กัน การกราบ ต้องก้มลงกราบกับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ทุกครั้ง

    ฆ. เข้าไปสู่ที่ประชุมสงฆ์ตรงหน้าพระอาจารย์ ถวายพานเครื่องสักการะแก่พระ อาจารย์ แล้วกราบพระสงฆ์ตรงหน้าพระอาจารย์นั้น ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง ถ้าแสดง ตนหมู่ ทุกคนคงนั่งคุกเข่าประนมมืออยู่กับที่หัวหน้าหมู่คนเดียว นำสักการะที่เดียวเข้าถวาย แทนทั้งหมู่ แล้วกราบพร้อมกับหัวหน้า

    ง. กราบเสร็จแล้วคงคุกเข่าประนมมือ เปล่งคำปฏิญาณตนให้ฉะฉานต่อหน้าสงฆ์ ทั้งคำบาลีและคำแปล เป็นตอน ๆ ไปจนจบเรื่องปฏิญาณ ดังนี้

    คำนมัสการ

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

    คำแปล

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

    คำปฏิญาณ

    เอสาหํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ

    คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ, พุทธมามโกติ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ

    คำแปล

    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพาน ไปนานแล้ว ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้า ไว้ว่าเป็นพุทธมามกะ ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน คือ ผู้นับถือพระพุทธเจ้า

    หมายเหตุ :- ถ้าปฏิญาณพร้อมกันหลายคนทั้งชายหญิง คำปฏิญาณให้เปลี่ยนเฉพาะที่ขีดเส้นใต้ไว้ ดังนี้

    เอสาหํ เป็น ชายว่า เอเต มยํ หญิงว่า เอตา มยํ

    คจฺฉามิ เป็น คจฺฉาม (ทั้งชายและหญิง)

    พุทฺธมามโกติ เป็น พุทฺธมามกาติ (ทั้งชายและหญิง)

    มํ เป็น โน (ทั้งชายและหญิง)

    คำแปลก็เปลี่ยนเฉพาะคำ “ข้าพเจ้า” เป็นว่า “ข้าพเจ้าทั้งหลาย” เท่านั้น นอกนั้น เหมือนกัน สำหรับหญิงผู้ปฏิญาณคนเดียวว่า เอสาหํ ฯลฯ ถึง พุทฺธมามโกติ เปลี่ยนเป็นว่า พุทฺธมามกาติ ต่อไปไม่เปลี่ยนตลอดทั้งคำแปลด้วย ถ้าหญิงกับชายปฏิญาณคู่กัน เฉพาะคู่เดียว ให้ว่าแบบปฏิญาณคนเดียว คือ ขึ้น เอสาหํ ฯลฯ พุทฺธมามโกติ ชายว่า หญิงเปลี่ยนว่า พุทฺธมามกาติ เท่านั้น นอกนั้น คงรูปตลอด ทั้งคำแปล

    เมื่อผู้ปฏิญาณกล่าวคำปฏิญาณจบแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นประนมมือรับ “สาธุ” พร้อมกัน ต่อนั้น ให้ผู้ปฏิญาณลดลงนั่งราบแบบพับเพียบกับพื้น แล้วประนมมือ ฟัง โอวาทต่อไป

    จ. ในลำดับนี้ พระอาจารย์พึงให้โอวาทเพื่อให้รู้หัวข้อแห่งพระพุทธศาสนา พอสมควร โดยใจความว่า


    ตัวอย่างโอวาทโดยย่อ

    "ท่านเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ประกาศ ตนเป็นพุทธมามกะ คือรับว่า พระพุทธเจ้าเป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงสุดของตน ในที่พร้อมหน้า แห่งคณะสงฆ์ ซึ่งประชุมพร้อมกันอยู่ ณ ที่นี้ ข้อนี้จัดเป็นลาภอันประเสริฐของท่าน ท่านได้ดี แล้วคือ ได้สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา
    แท้จริง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ได้นามว่า รัตนะ เพราะยังความยินดีให้เกิด แก่ผู้เคารพบรรจบเป็น ๓ รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย แก้ว ๓ ประการ เป็นหลักอันสำคัญยิ่งนัก ในพระพุทธศาสนา

    ส่วนข้อปฏิบัติซึ่งพุทธศาสนิกชนจะพึงยึดถือไว้เป็นบรรทัดแห่งความประพฤติย่นย่อ กล่าวตามพระพุทธโอวาท สรุปลงได้ ๓ ประการ คือ

    ๑. ไม่พึงทำบาปทั้งปวง ได้แก่ไม่ประพฤติชั่วด้วย กาย วาจา ใจ

    ๒. บำเพ็ญกุศลให้เกิดมี ได้แก่ประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ

    ๓. ทำจิตของตนให้ผ่องใส คือไม่ให้ขุ่นมัวด้วย โลภ โกรธ หลง

    ขอท่านจงตั้งศรัทธาความเชื่อให้มั่นคง ตรงต่อพระรัตนตรัย และจงตั้งใจสมาทาน เบญจศีล ซึ่งจะได้ให้ท่านสมาทาน ณ กาลบัดนี้ "

    (แนวโอวาทนี้ แล้วแต่ความสามารถของพระอาจารย์จะอธิบายขยายความ ได้มากน้อย)


    มีต่อคะ





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน
     
  3. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    Re: ศาสนพิธี

    บุญพิธี


    ความหมาย

    บุญพิธี ได้แก่ พิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัวของพุทธศาสนิกชน เป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของคนไทยทั่วไป ส่วนมากทำกันเกี่ยวกับเรื่องฉลองบ้าง เรื่องต้องการ สิริมงคลบ้าง เรื่องตายบ้าง ในเรื่องเหล่านี้นิยมทำบุญทางพระพุทธศาสนา เช่น ทำบุญเลี้ยงพระและ ตักบาตร เป็นต้น เพราะประเพณีนิยมดังนี้ จึงเกิดมีพิธีกรรม ที่จะต้องปฏิบัติขึ้นและถือสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล ฉะนั้น ในเรื่องพิธีทำบุญ หรือเรียกว่า บุญพิธี จึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษา อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะนำมากล่าวในหมวดนี้ โดยแยกเป็น ๒ ประเภท คือ

    ๑. ทำบุญงานมงคล

    ๒. ทำบุญงานอวมงคล

    แต่ละประเภทมีความมุ่งหมายและเหตุผล ตลอดถึงระเบียบปฏิบัติพิธี แตกต่างออกไป เป็นกรณี ๆ อีกหลายอย่าง ดังจะนำมาชี้แจงแต่เพียงที่สำคัญ ๆ ให้เข้าใจต่อไป



    --------------------------------------------------------------------------------

    พิธีทำบุญเลี้ยงพระ

    การทำบุญเลี้ยงพระ ตามปกติที่ทำกัน มักนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ในสถานที่ที่ประกอบพิธีในตอนเย็น เรียกกันอย่างสามัญว่า สวดมนต์เย็น รุ่งขึ้น เวลาเช้า (บางกรณี เวลาเพล) ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อเย็นวานนั้นเรียกกันว่า เลี้ยงพระเช้า (เลี้ยงพระเพล) หรือฉันเช้า (ฉันเพล) และในคราวเดียวกันก็มีการตักบาตรด้วย บางคนมีเวลาน้อย ย่นเวลามาทำพร้อมกัน ในวันเดียว ในตอนเช้าหรือตอนเพลตามความสะดวก โดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มาเจริญพระพุทธ มนต์ก่อน จบแล้วถวายภัตตาหารให้เสร็จสิ้นในเวลา เดียวกัน อย่างนี้เรียกว่า ทำบุญเลี้ยงพระ
    การทำบุญเลี้ยงพระนี้ นิยมทั้งในงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป ที่เรียกว่า ทำบุญ งานมงคลนั้น ได้แก่ การทำบุญเลี้ยงพระดังกล่าว เพื่อความสุขความเจริญแก่จิตใจ โดยปรารภ เหตุที่ดีเป็นมูล เกี่ยวกับฉลองความสำเร็จในชีวิต เช่น ฉลองพระบวชใหม่ เป็นต้น หรือเกี่ยวกับ การริเริ่มชีวิตใหม่เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ตามปรารถนาด้วยดี ตลอดไป เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญแต่งงาน หรือเรียกว่ามงคลสมรส เป็นต้น ส่วนที่เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล ได้แก่ การทำบุญเลี้ยงพระเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขโดยปรารภเหตุไม่สู้ดี เนื่องจากมีการตาย ขึ้นในวงญาติ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในครอบครัวจัดการทำบุญขึ้น เพื่อให้สำเร็จเป็นประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อเป็นมิ่งขวัญกลาย ๆ แก่ผู้ที่ยังอยู่ งานทำบุญ โดยปรารภเหตุนี้ เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล

    การทำบุญทั้ง ๒ ประเภทนี้ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติมี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายทายก ทายิกาผู้ประกอบด้วยต้องการบุญ เรียกว่า ฝ่ายเจ้าภาพ ๑ ฝ่ายปฏิคาหก ผู้รับทานและ ประกอบพิธีกรรมตามความประสงค์ของเจ้าภาพ ซึ่งเป็นพระภิกษุสงฆ์ เรียกว่า ฝ่ายภิกษุสงฆ์อีก ๑ ทั้งสองฝ่ายนี้มีระเบียบปฏิบัติพิธี กำหนดไว้เพื่อความเรียบร้อยโดยเหมาะสมแต่ละประเภท ของงาน เป็นขนบประเพณีสืบมา ดังต่อไปนี้

    ระเบียบพิธี

    ๑. ทำบุญงานมงคล

    พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ผู้ที่จะทำบุญเนื่องในงานมงคลต่าง ๆ นั้น ในที่นี้เรียกว่า “เจ้าภาพ” เบื้องต้นจะต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ที่ควรทำก่อน ดังนี้

    ก. อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์

    ข. เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา

    ค. ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี

    ฆ. วงด้ายสายสิญจน์

    ง. เชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา

    จ. ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์

    ฉ. เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามควรแก่ฐานะ

    ช. ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์

    เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้วตามเวลากำหนด จะต้องปฏิบัติกรณียกิจ ดังต่อไปนี้

    ก. คอยล้างเท้าพระสงฆ์และเช็ดด้วย (ปัจจุบันพระสงฆ์สวมรองเท้า และเท้าไม่สกปรก จึงไม่ต้องล้างเท้าก็ได้)

    ข. ประเคนเครื่องรับรองที่จัดไว้

    ค. ได้เวลาแล้ว จุดเทียนธูปที่โต๊ะบูชา บูชาพระแล้วกราบนมัสการ ๓ ครั้ง

    ฆ. อาราธนาศีล และรับศีล

    ง. ต่อจากรับศีล อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี

    จ. นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้ว ถวายน้ำร้อนหรือ เครื่องดื่ม
    อันควรแก่สมณะ แล้วแต่จะจัด

    ในการปฏิบัติพิธีตามหน้าที่ที่กล่าวนี้ มีข้อที่ควรจะเข้าใจ คือ

    ๑. เรื่องการอาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ นิยมไม่กำหนดจำนวนข้างมาก แต่นิยมกำหนดข้างน้อยไว้โดยเกณฑ์ คือไม่ต่ำกว่า ๕ รูป เกิน ๕ ไปก็เป็น ๗ หรือ ๙ ข้อน่าสังเกตก็คือ ไม่นิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ เพราะถือเหมือนอย่างว่า การทำบุญครั้งนี้ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แบบเดียวกับครั้งพุทธกาล ซึ่งปรากฏตามบาลีว่า พุทฺธปฺปมุโข ภิกฺขุสงฺโฆ พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข โดยตั้งพระพุทธรูปไว้ข้างหน้าแถวพระสงฆ์ นับจำนวนรวมกับพระสงฆ์เป็นคู่ เว้นแต่ในงานมงคลสมรส มักนิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ จุดมุ่งหมาย คือ แบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าวและฝ่ายเจ้าสาวนิมนต์พระมาจำนวนเท่า ๆ กัน เมื่อมารวมกัน จึงเป็นจำนวนคู่ แต่ในพิธีหลวงในปัจจุบันนี้ มักอาราธนาพระสงฆ์ เป็นจำนวนคู่ เช่น ๑๐ รูป เป็นต้น

    ๒. เรื่องเตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ในงานพิธีต่าง ๆ นั้น นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า “โต๊ะบูชา” สิ่งสำคัญของโต๊ะบูชานี้ ประกอบด้วยโต๊ะรอง ๑ เครื่องบูชา ๑ โต๊ะรองเป็นที่รองรับพระพุทธรูป และเครื่องบูชาปัจจุบันนี้นิยมใช้กันทั่วไป เป็นโต๊ะหมู่ซึ่งสร้างไว้โดยเฉพาะ เรียกกันว่า โต๊ะหมู่บูชา มีเป็นหมู่ ๕ หมู่ ๗ และหมู่ ๙ หมายความว่าหมู่หนึ่ง ๆ ประกอบด้วยโต๊ะ ๕ ตัว ๗ ตัว และ ๙ ตัว ก็เรียกว่าหมู่เท่านั้นเท่านี้ ถ้าในที่ที่หาโต๊ะหมู่ไม่ได้ จะใช้ตั่งอะไรที่สมควรซึ่งไม่สูงหรือต่ำเกินไปนักจัดเป็นโต๊ะบูชาในพิธีก็ได้ โต๊ะหรือตั่งนั้นต้องใช้ผ้าขาวปูพื้นก่อน ถ้าหาผ้าขาวไม่ได้จำเป็นจะใช้ผ้าสี ต้องเป็นผ้าสะอาด และยังมิได้ใช้การอย่างอื่น มาเป็น เหมาะสมที่สุด ผ้าอะไรก็ตามถ้าแสดงลักษณะชัดว่าเป็นผ้านุ่งแล้ว ไม่สมควรอย่างยิ่ง

    การตั้งโต๊ะบูชานี้มีหลักว่า ต้องตั้งหันหน้าโต๊ะออกทางเดียวกับพระสงฆ์ คือให้พระ พุทธรูปหันพระพักตร์ออกทางเดียวกับพระสงฆ์นั่นเอง ด้วยมุ่งหมายให้พระสงฆ์ มีพระพุทธรูป เป็นประธาน เว้นแต่จำเป็นเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งจะต้องให้พระสงฆ์นั่ง มีเบื้องซ้ายอยู่ทางพระพุทธรูป แล้ว จึงต้องตั้งโต๊ะบูชาหันหน้ามาทางพระสงฆ์ให้พระพุทธรูป หันพระพักตร์หาพระสงฆ์ เป็นอัน ไม่ต้องเข้าแถวกับพระสงฆ์ สำหรับเรื่องทิศทางที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น มักจะให้ผิน พระพักตร์ไปสู่ทิศเหนือ ด้วยถือว่าพระพุทธเจ้า เป็นโลกอุดร มิฉะนั้นก็ให้หันไปทางทิศตะวันออก ด้วยถือว่าเป็นทิศพระ (ในวันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางตะวันออก) เป็นพื้น แต่เรื่องนี้เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องจำกัดเช่นนั้น จะให้ผินพระพักตร์ไปทิศใด ๆ ก็ไม่เกิดโทษ และไม่มีข้อห้าม เป็นอัน แล้วแต่สถานที่จะอำนวยให้ประดิษฐานได้เหมาะสมก็พึงทำได้ทั้งนั้น

    สำหรับการตั้งเครื่องบูชานั้น ต้องแล้วแต่โต๊ะที่ตั้ง ถ้าเป็นโต๊ะเดี่ยวที่ใช้ตั่ง หรือโต๊ะ ตัวเดียวตั้งแทนโต๊ะหมู่ เครื่องบูชาควรมีแจกันประดับดอกไม้ ๑ คู่ ตั้ง ๒ ข้างพระพุทธรูป ไม่ชิด หรือห่างจนเกินไป ถัดมาแถวหน้าพระพุทธรูป ตั้งกระถางธูปตรงหน้า พระพุทธรูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ตั้งตรงกับแจกัน เพียงเท่านี้ก็สำเร็จรูปเป็นโต๊ะบูชา พอสมควร

    สำหรับโต๊ะหมู่จะแสดงการตั้งโต๊ะหมู่ ๗ เป็นตัวอย่าง ดังนี้

    หลักโต๊ะหมู่ ๗ มีอยู่ว่า ใช้แจกัน ๒ คู่ คู่ ๑ ตั้งบนโต๊ะกลางที่ตั้งพระพุทธรูป ชิดด้านหลัง ๒ ข้างพระพุทธรูปอยู่ตรงมุมทั้ง ๒ ด้านหลัง อีกคู่ ๑ ตั้งบนโต๊ะข้างตัวละ ๑ ชิดมุมด้านหลัง ถือหลักว่าแจกันเป็นพนักหลังสุด จะตั้งล้ำมาข้างหน้าไม่ควร พานดอกไม้ ๕ พาน ตั้งกลางโต๊ะ ทุกโต๊ะ เว้นโต๊ะกลางแถวหน้าซึ่งตั้งกระถางธูป เชิงเทียน ๕ คู่ ตั้งที่โต๊ะข้างซ้ายและขวามือโต๊ะละ ๑ ที่มุมหน้าตรงข้ามกับแจกัน รวม ๒ ซีก ๒ คู่ ตรง กลางตั้งแต่โต๊ะพระพุทธรูปลงมา ๓ ตัว ตั้งตัวละคู่ที่มุมโต๊ะทั้ง ๒ ด้านหน้า รวมอีก ๓ คู่ สำหรับคู่ที่อยู่บนโต๊ะที่ตั้ง พระพุทธรูปนั้นก็จำเป็น เช่น บังพระพุทธรูปหรือชิดพระพุทธรูปเกินไป จะตัดออกเสียคู่หนึ่งก็ได้ แม้โต๊ะหมู่อื่นนอกจากหมู่ ๗ ที่กล่าวนี้ ก็ถือหลักการตั้งเช่นเดียวกัน

    ๓. เรื่องตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี นิยมให้สะอาดเรียบร้อยเป็นสำคัญ เพราะเป็นการ ทำบุญต้องการสิริมงคล และออกแขกด้วยความสะอาด เรียบร้อยทุกอย่าง เป็นสิ่งที่ควรกระทำ อย่างยิ่ง ถ้าได้เพิ่มการตกแต่งเพื่อความสวยงามขึ้นอีก ก็เป็นการดียิ่ง ทั้งนี้สุดแต่ฐานะและกำลัง ของตนเป็นสำคัญ

    ๔. เรื่องวงด้ายสายสิญจน์ คำว่า สิญจน์ แปลว่า การรดน้ำ คือ การรดน้ำ ด้วยพิธี สืบเนื่องมาแต่พิธีพราหมณ์ เดิม “สาย” เข้าข้างหน้า เป็นสายสิญจน์ กลายเป็นวัตถุชนิดหนึ่ง ที่นำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ สายสิญจน์ได้แก่สายที่ทำด้วยด้ายดิบ โดยวิธีจับเส้นด้ายในเข็ด เส้นเดียว จับออกครั้งแรกเป็น ๓ เส้น ม้วนเข้ากลุ่มไว้ ถ้าต้องการให้สายใหญ่ ก็จับอีกครั้งหนึ่ง จะกลายเป็น ๙ เส้น ในงานมงคลทุกประเภท นิยมใช้สายสิญจน์ ๙ เส้น เพราะกล่าวกันว่า สายสิญจน์ ๓ เส้น สำหรับใช้ในพิธีเบิกโลงผี จะนำมาใช้ในพิธีงานมงคลไม่เหมาะสม ถ้าเพ่ง

    การวงสายสิญจน์ มีเกณฑ์ถืออยู่ว่า ถ้าเป็นบ้านมีรั้วรอบให้วงรอบรั้ว ถ้าไม่มีรั้วรอบ หรือมีแต่กว้างเกินไปหรือมีอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับพิธี อยู่ร่วมในรั้วด้วยก็ให้วง เฉพาะอาคารพิธีโดยรอบ ถ้าเจ้าภาพไม่ต้องการวงสายสิญจน์ รอบรั้วบ้านหรือรอบอาคารที่ตน ประกอบพิธีทำบุญ จะวงสายสิญจน์ที่ฐานพระพุทธรูป บนโต๊ะบูชาเท่านั้น แล้วโยงมาที่ภาชนะ สำหรับทำน้ำมนต์ก็ได้ การโยงสายสิญจน์จากฐานพระพุทธรูปมายังภาชนะน้ำมนต์ ควรโยง หลบเพื่อไม่ให้ต้องข้ามสายสิญจน์ ในเวลาจุดธูปเทียน เมื่อวงที่ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์แล้ว พึงวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้บนพาน สำหรับรองสายสิญจน์ ซึ่งอยู่ทางหัวอาสน์สงฆ์ใกล้ภาชนะ สำหรับทำน้ำมนต์ การวงสายสิญจน์ถือหลักวงจากซ้ายไปขวาของสถานที่หรือวัตถุ มีข้อที่ถือเป็น เรื่องควรระวังอยู่อย่างหนึ่ง คือ ในขณะที่วงสายสิญจน์อย่าให้สายสิญจน์ขาด

    อนึ่ง สายสิญจน์ที่วงพระพุทธรูปแล้วนี้จะข้ามกรายมิได้เพราะถ้าข้ามกรายแล้ว เท่ากับข้ามพระพุทธรูป เป็นการแสดงควาไม่เคารพต่อพระพุทธรูปทีเดียว หากมีความจำเป็น ที่จะต้องผ่านสายสิญจน์ ก็ต้องลอดมือหรือก้มศีรษะลอดภายใต้สายสิญจน์ผ่านไป

    ๕. เรื่องเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา เป็นกิจที่พึงทำเมื่อใกล้จะถึงกำหนดเวลา ประกอบพิธีพระพุทธรูปนั้นจะเป็นพระปางอะไรก็แล้วแต่จะหาได้ ขอให้เป็นพระพุทธรูปเท่านั้น ไม่ใช่พระเครื่องซึ่งเล็กมากไม่เหมาะแก่พิธี พระพุทธรูป ถ้ามีครอบควรเอาครอบออก ตั้งเฉพาะ องค์พระเท่านั้น และที่องค์พระไม่สมควรจะนำ อะไรที่ไม่เหมาะสมประดับ เช่น พวงมาลัยหรือ ดอกไม้ เป็นต้น ควรให้องค์พระเด่น เป็นสำคัญ เว้นแต่ที่ฐานพระจะใช้พวงมาลัยวงรอบฐาน กลับดูงามดีไม่มีข้อห้าม ดอกไม้บูชามีระเบียบจัดดังกล่าวแล้วในเรื่องตั้งเครื่องบูชา ก่อนที่จะ ยกพระพุทธรูป จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ดี ในขณะที่วางพระพุทธรูปลง ณ ที่บูชาก็ดี ควรจะ น้อมไหว้ ก่อนยก หรือน้อมไหว้ในเมื่อวางลงแล้ว เป็นอย่างน้อย ถ้าถึงกราบได้เป็นงดงาม

    ๖. เรื่องปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ นิยมใช้กันอยู่ ๒ วิธี คือ ยกพื้นอาสน์สงฆ์ ให้สูงขึ้นโดยใช้เตียงหรือม้าวางต่อกันเข้าให้ยาวพอแก่จำนวนสงฆ์ อีกวิธีหนึ่ง ปูลาดอาสนะ บนพื้นธรรมดา อาสน์สงฆ์ชนิดยกพื้นนิยมใช้ผ้าขาวปูลาด จะมีผ้านิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง) ปูอีกชั้นหนึ่ง หรือไม่ก็ได้ โดยเฉพาะอาสน์สงฆ์ยกพื้นนี้ มักจัดในสถานที่ที่ฝ่ายเจ้าภาพนั่งเก้าอี้กัน ส่วนอาสนะ ชนิดที่ปูลาดบนพื้นธรรมดา จะใช้เสื่อหรือพรมหรือผ้าที่สมควรปูก็สุดแต่จะมีหรือหาได้ ข้อที่ควร ระวัง คือ อย่าให้อาสนะพระสงฆ์กับอาสนะของคฤหัสถ์ฝ่ายเจ้าภาพเป็นอันเดียวกัน ควรปูลาด ให้แยกจากกัน ถ้าจำเป็นแยกไม่ได้โดยปูเสื่อหรือพรมไว้เต็มห้องสำหรับอาสนะพระสงฆ์ ควรจัด ปูทับเสื่อหรือพรมนั้นอีกชั้นหนึ่งจึงจะเหมาะ

    ๗. เรื่องเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ ตามแบบและประเพณี ก็มีหมากพลู บุหรี่ น้ำร้อน น้ำเย็น และกระโถน การวางเครื่องรับรองเหล่านี้มีหลักว่า ต้องวางทางด้านขวามือของพระ ระหว่างรูปหนึ่งกับอีกรูปหนึ่งที่นั่งเรียงกัน ด้านขวามือของรูปใด ก็เป็นเครื่องรับรองของรูปนั้น การวางให้วางกระโถนข้างในสุด เพราะเป็นสิ่งไม่ต้องประเคน ถัดออกมาภาชนะน้ำเย็น ออกมา อีกเป็นภาชนะใส่หมากพลูบุหรี่ ซึ่งรวมอยู่ในที่เดียวกัน เมื่อพระสงฆ์นั่งก็ประเคนตั้งแต่ข้างใน ออกมาหาข้างนอก คือ น้ำเย็น แล้วหมากพลูบุหรี่ ส่วนน้ำร้อนจัดประเคน ตั้งแต่ข้างในออกมา หาข้างนอก คือ น้ำเย็น แล้วหมากพลูบุหรี่ ส่วนน้ำร้อนจัดประเคนภายหลัง ไม่ต้องตั้งประจำ ที่เหมือนอย่าง เครื่องดังกล่าวแล้ว เครื่องรับรองดังกล่าวนี้ ถ้าจำกัด จะจัดรับรอง ๒ รูป ต่อ ๑ ที่ก็ได้ และให้จัดวางตามลำดับ ในระหว่างรูปที่ต้องการให้ใช้ร่วมกัน

    ๘. เรื่องตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ ควรเตรียมภาชนะเป็นประการแรก ถ้าไม่มีครอบ น้ำมนต์ ซึ่งเป็นของสำหรับใส่น้ำมนต์โดยเฉพาะ จะใช้บาตรของพระหรือขันน้ำ พานรองแทนก็ได้ แต่ขันต้องไม่ใช่ขันเงินหรือทองคำ เพราะเงินและทองเป็นวัตถุ อนามาสไม่ควรแก่การจับต้อง ของพระ ต่อไปก็หาน้ำสะอาดใส่ในภาชนะ ห้ามไม่ให้ใช้น้ำฝน ทั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยถือว่า น้ำที่ จะศักดิ์สิทธิ์ขึ้นได้ ต้องมาจากธรณี ส่วนน้ำฝนมาจากอากาศจึงไม่นิยม น้ำที่ใส่ควรใส่แต่เพียง ค่อนภาชนะเท่านั้น ควรหาใบเงินใบทอง ใส่ลงไปด้วยแต่เพียงสังเขปเล็กน้อย (ถ้าหาไม่ได้ จะใช้ ดอกบัวใส่แทนก็ได้ แต่ดอกไม้อื่นไม่ควร) ต้องมีเทียนน้ำมนต์อีกหนึ่งเล่ม ควรเป็นเทียนขี้ผึ้งแท้ ขนาดหนัก ๑ บาทเป็นอย่างต่ำ ติดที่ปากบาตรหรือขอบขัน หรือบนยอดจุกฝาครอบน้ำมนต์ ไม่ต้องจุด แล้วนำไปวางไว้หน้าโต๊ะบูชาให้ค่อนมาทางอาสนะพระสงฆ์ ใกล้กับรูปที่เป็นหัวหน้า เพื่อหัวหน้าจะได้หยดเทียนทำน้ำมนต์ในขณะสวดมนต์ได้สะดวก

    ๙. เรื่อง จุด เทียน ธูป ที่โต๊ะบูชา เจ้าภาพควรจุดเอง ไม่ควรให้คนอื่นจุดแทน เพราะเป็น การนมัสการพระอันเป็นกิจเบื้องต้นของบุญ การจุดควรจุดเทียนก่อน จุดด้วยไม้ขีดหรือเทียน ชนวน อย่าต่อจากตะเกียง หรือไฟอื่น เทียนติดดีแล้ว ใช้ธูป ๓ ดอกจุดต่อที่เทียนจนติดดี จึงปักลงให้ตรง ๆ ในกระถางธูป แล้วตั้งใจบูชาพระ

    ต่อจากนี้จึงดำเนินพิธีไปตามลำดับ คืออาราธนาศีล รับศีลแล้ว อาราธนาพระปริตร วิธีอาราธนาจักกล่าวต่อไปข้างหน้า

    พออาราธนาพระปริตรจบแล้ว พระสงฆ์เริ่มสวดมนต์ ทุกคนที่อยู่ในบริเวณพิธี พึงนั่ง ประนมมือฟังพระสวดด้วยความเคารพ พอพระเริ่มสวดมงคลสูตรขึ้นต้นบท
    อเสวนา จ พาลานํ เป็นต้น เจ้าภาพพึงเข้าไปจุดเทียนน้ำมนต์ที่บาตร หรือครอบน้ำมนต์หน้าพระแล้วประเคนบาตร หรือครอบน้ำมนต์นั้นต่อหัวหน้าสงฆ์ เพื่อท่านจะได้ทำน้ำมนต์ต่อไป

    ๑๐. ข้อปฏิบัติวันเลี้ยงพระ ถ้าเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้น การเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ พึงจัดอย่างวันสวดมนต์เย็น เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพร้อมตามเวลาแล้ว เจ้าภาพพึงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระแล้วอาราธนาศีลและรับศีลอย่างเดียวกับวันก่อน เสร็จแล้วไม่ต้องอาราธนา พระปริตร พระสงฆ์จะเริ่มสวดถวายพรพระเอง ถ้ามีการตักบาตรด้วย พึงเริ่มลงมือตักบาตร ขณะพระสงฆ์สวดถึงบท พาหุํ และให้เสร็จก่อน พระสงฆ์สวดจบ เตรียมยกบาตรและภัตตาหาร มาตั้งไว้ให้พร้อม พอสวดจบก็ประเคนให้ พระฉันได้ทันที ถ้าไม่มีตักบาตรเจ้าภาพก็นั่งประนมมือ ฟังพระสวดไปพอสมควรแล้ว เตรียมตั้งภัตตาหารเมื่อพระสวดจวนจบ

    แต่ถ้าเป็นงานวันเดียว คือ สวดมนต์ก่อนฉัน การตระเตรียมต่าง ๆ ก็คงจัดครั้งเดียว พระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ก่อน แล้วสวดถวายพรพระต่อท้าย เจ้าภาพพึงนั่งประนมมือฟัง เมื่อพระสงฆ์สวดถึงบทถวายพรพระ จึงเตรียมภัตตาหารไว้ให้พร้อม พอพระสวดจบก็ยกประเคน ได้

    สุดท้ายพิธี เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันอิ่มแล้ว ถวายเครื่องไทยธรรม ต่อนั้น พระสงฆ์ อนุโมทนา ขณะพระว่าบท ยถา... ให้เริ่มกรวดน้ำให้เสร็จก่อนจบบท ยถา... พอพระว่าบท สพฺพีติโย... พร้อมกัน ถึงประนมมือรับพรตลอดไปจนจบ แล้วส่งพระกลับ


    มีต่อคะ





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน
     
  4. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    Re: ศาสนพิธี



    อนึ่ง การเลี้ยงพระในพิธีทำบุญเลี้ยงพระนี้ มีประเพณีโบราณสืบเนื่องกันมานาน อย่างหนึ่ง คือ ประเพณีถวายข้าวพระพุทธ เห็นจะเนื่องมาจากถือว่า พระสงฆ์ที่นิมนต์มาฉัน ในพิธีนั้นมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตามหลักพระบาลีที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้นการถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์ ก็ต้องถวายองค์ประมุข คือ พระพุทธเจ้าด้วย แม้พระองค์ปรินิพพานไปนานแล้ว ก็จำต้องทำการถวายต่อพระพักตร์พระพุทธรูป ให้เป็นกิริยาสำเร็จรูปสมตามเจตนานั้น เหตุนี้ ในงานทำบุญ ไม่ว่างานมงคลหรืองานอวมงคล จึงนิยมถวายภัตตาหารแด่พระพุทธรูปด้วย ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ถวายข้าวพระพุทธ ถ้ามีตักบาตรก็ต้องตั้งบาตรพระพุทธไว้หัวแถว ด้วยเช่นกัน ข้าวพระพุทธที่ถวายนั้นนิยมจัดอย่างเดียวกับที่ถวายพระสงฆ์เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว ข้าวพระพุทธนั้นตกเป็นของมรรคนายกวัด หรืออุบาสกอุบาสิกาผู้มาในงาน แต่บางงานเนื่องด้วยที่ จำกัดหรือจะเป็นเพราะเรียวลงตามกาลเวลา หรือความง่ายของบุคคลหาทราบไม่ เจ้าภาพจึง จัดสำรับพระพุทธเพียงสำรับเล็ก ๆ ก็มี การถวายนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพ พึงใช้ผ้าขาวปูบนโต๊ะ ที่จะนำมาตั้งรองข้าวพระพุทธ หรือปูบนพื้นราบก็ได้ ตรงหน้าโต๊ะบูชาแล้วตั้งสำรับคาวหวาน พร้อมทั้งข้าวน้ำให้บริบูรณ์บนโต๊ะหรือบนพื้นผ้านั้น เสร็จแล้วจุดธูป ๓ ดอก ปักในกระถางธูป หน้าโต๊ะบูชา นั่งคุกเข่าประนมมือ ตรงหน้าที่ตั้งข้าวพระพุทธและโต๊ะบูชา ว่านโม ๓ จบ แล้วว่า คำถวาย ดังนี้ “อิมํ สูปพฺยญฺชนสมฺปนฺนํ สีลีนํ โอทนํ, อุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ” จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง ต่อนี้จึงจัดถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ตามวิธีที่กล่าวแล้ว

    เมื่อเสร็จภัตกิจ และพระสงฆ์อนุโมทนาเสร็จจนกลับหมดแล้ว ถ้ามีการเลี้ยงแขก ผู้มา ในงานต่อก็เป็นหน้าที่ของอุบาสกหรืออุบาสิกา ผู้รู้ธรรมเนียมวัดจะลาข้าวพระพุทธนั้น มา รับประทาน การลาข้าวพระพุทธมีนิยมดังนี้ ผู้ลาพึงเข้าไปนั่ง คุกเข่าหน้าสำรับ ที่หน้าโต๊ะบูชานั้น กราบ ๓ ครั้งก่อน แล้วประนมมือกล่าวคำว่า “เสสํ มงฺคลา ยาจามิ” แล้วไหว้ ต่อนั้นยกข้าว พระพุทธออกไปได้เลย

    พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ เริ่มต้นเมื่อพระสงฆ์รับนิมนต์ไปในงานทำบุญแล้ว ถึงวันกำหนด ถ้าเจ้าภาพกำหนดจะมารับ พึงเตรียมตัวไว้ให้พร้อมก่อนถึงเวลา พอมีคนมารับ ก็ให้ไปได้ทันที ควรไปตามกำหนดให้ถึงที่งานก่อนเวลาพอสมควร อย่าให้ก่อนมากนัก เพราะเกี่ยวด้วยการ เตรียมการของเจ้าภาพอาจยังไม่พร้อมก็ได้ จะเป็นเหตุให้เจ้าภาพ อึดอัดในการที่ยังไม่พร้อม จะรับรอง และอย่าให้กระชั้นเวลาจนเกินไป เพราะจะทำให้เจ้าภาพกระวนกระวาย

    การไปในงานต้องนุ่มห่มให้เรียบร้อยเป็นสมณสารูป ตามแบบนิยมของวัด ควรมีพัด ไปด้วยทุกรูป และควรใช้พัดงานมงคลไม่ใช่พัดงานศพ พัดงานศพที่ถือเป็นข้อห้ามอย่างจริงจัง นั้นคือ พัดที่มีอักษรปรากฏว่า ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ... ในงานฌาปนกิจศพ... เพราะพัดงานศพใช้สำหรับงานอวมงคลเท่านั้น ถ้าขัดข้อง เพราะเหตุจำเป็นจริง ๆ อย่างใด อย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะนำพัดไปได้ทุกรูป (สำหรับ พระสงฆ์วัดเดียวกันทั้งหมด) ก็ควรมีไปเฉพาะ หัวหน้ารูปเดียว เพราะพัดที่ต้องนำไปนี้ จำต้องใช้ในคราว

    ก. ให้ศีล เฉพาะหัวหน้า

    ข. ขัด สคฺเค และขัดตำนาน เฉพาะรูปที่นั่งอันดับที่ ๓

    ค. อนุโมทนาท้ายพิธี ต้องใช้ทุกรูป และ

    ฆ. ถ้ามีการบังสุกุลอัฐิประกอบด้วย ก็ต้องใช้ทุกรูปเช่นกัน

    เรื่องการนำพัดไปในงานทำบุญนี้ บางแห่งถือกันว่า ถ้าพระสงฆ์มีพัดไปในงาน ทุกรูป เป็นการให้เกียรติแก่เจ้าภาพด้วย

    เมื่อไปถึงที่งานแล้ว ได้เวลาเจ้าภาพจะนิมนต์เข้าที่ ขณะขึ้นนั่งบนอาสนะที่เจ้าภาพจัด ปูไว้ ควรพิจารณาเสียก่อน ถ้าเป็นอาสนะผ้าขาวไม่ควรขึ้นเหยียบ หรือทำอาการใด ๆ ให้ฝ่าเท้า ถูกผ้าขาวสกปรกด้วย ควรคุกเข่าบนผ้าขาวเดินเข่าเข้าไปยังที่นั่ง ถ้าไม่ใช่อาสนะผ้าขาว ควรปฏิบัติโดยอาการที่เหมาะสมเรียบร้อยน่าดูเป็นเหมาะที่สุด ให้เข้านั่งกันตามลำดับไว้ ระยะให้พองาม นั่งแบบพับเพียบให้ได้แถวได้แนว ดูเข่าให้เสมอกันและนั่งอย่างผึ่งผาย ไม่ควรนั่งงอหลังหรือเท้าแขน เข้าที่แล้ววางพัดไว้ทางหลังด้านขวามือ

    เมื่อเจ้าภาพเริ่มอาราธนาศีล พระเถระผู้เป็นหัวหน้าพึงคลี่กลุ่ม สายสิญจน์แล้วส่งต่อกัน ไปจนถึงรูปสุดท้าย พออาราธนาศีลถึงวาระที่ ๓ ว่าตติยมฺปิ... ผู้เป็นหัวหน้าพึงตั้งพัดเตรียมให้ศีล การจับพัดให้จับด้วยมือขวาที่ด้ามถัดคอพัดลงมา ๔ - ๕ นิ้ว หรือกะว่าจับตรงส่วนที่สามตอนบน ของด้ามพัด ใช้มือกำด้ามด้วยนิ้วทั้ง ๔ เว้นนิ้วแม่มือ เฉพาะนิ้วแม่มือยกขึ้นแตะด้ามให้ทาบ ตรงขึ้นไปตามด้ามพัดนั้น นำสายสิญจน์ขึ้นพาดไว้บนนิ้วชี้ ตั้งพัดให้ตรงหน้า ปลายด้ามอยู่กึ่งกลาง อย่าให้ห่างตัวหรือชิดตัวมากนัก และอย่าตั้งนอกสายสิญจน์ ดูหน้าพัดให้หันออกข้างนอก ให้พัดตั้ง ตรงได้ฉากเป็นงาม พอจบคำอาราธนาศีลก็ตั้ง นโม ให้ศีลทันที ให้ไปถึงตอนจบไตรสรณคมน์ ไม่ต้องว่า “ติสรณคมนํ นิฏ€ิตํ” เพราะคำนี้ใช้เฉพาะในพิธี สมาทานศีลจริง ๆ เช่น สมาทาน อุโบสถศีล ในการรับศีลเป็นพิธีอย่างในงานทำบุญนี้ ไม่ต้องว่าพึงให้ศีลต่อไตรสรณคมน์ไปเลย ทีเดียว, พอให้ศีลจบก็วางพัด ถ้าไม่ได้นำพัด ไปทุกรูป ให้ส่งพัดต่อให้รูปที่ ๓ เตรียมขัด สคฺเค

    พอเจ้าภาพอาราธนาพระปริตรถึงครั้งที่สาม รูปที่ต้องขัด สคฺเค เตรียมตั้งพัด แบบเดียว กับที่กล่าวแล้ว พออาราธนาจบก็เริ่มขัดได้ พอขัดจบพระสงฆ์ทุกรูปยกสายสิญจน์ขึ้นประนมมือ พร้อมกัน ใช้ง่ามนิ้วแม่มือทั้งสองรับสายสิญจน์ไว้ในระหว่างประนมมือ แล้วหัวหน้านำว่า นโม และนำสวดมนต์บทต่าง ๆ ไปตามแบบนิยม

    การเจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคล มีกำหนดเป็นหลัก ดังนี้

    เจ็ดตำนานใช้ในงานมงคลทั่วไป

    สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัยใช้ในงานมงคลบางอย่าง สุดแต่เจ้าภาพ ประสงค์ หรือสุดแต่พระสงฆ์เห็นเป็นการสมควร ที่ถือกันมาเป็นธรรมเนียม เช่น ในงานทำบุญอายุใหญ่ สวดธรรมจักรและเจ็ดตำนานย่อ งานมงคลสมรส สวดมหาสมัย และเจ็ดตำนานย่อ

    ในการเจริญพระพุทธมนต์งานมงคลทุกแบบ มีตั้งภาชนะน้ำมนต์ไว้ด้วยก็เพื่อให้ พระสงฆ์ทำน้ำมนต์ในขณะสวด การทำน้ำมนต์นิยมว่าเป็นหน้าที่ของหัวหน้าสงฆ์ เจ้าภาพจะจุด เทียนน้ำมนต์ตั้งแต่เริ่มสวดมงคลสูตร พอสวดรตนสูตร ถึงตอน ขีณํ ปุราณํ นวํ นตฺถิ สมฺภวํ... หัวหน้าสงฆ์พึงใช้มือขวา ปลดเทียนน้ำมนต์ออกจากที่ปัก ถ้าที่น้ำมนต์เป็นครอบ พึงเปิดฝาครอบ แล้วจับเทียน ควบกับสายสิญจน์ เอียงให้หยดลงในน้ำทีละหยด ๆ พร้อมกับสวด พอสวดถึงคำว่า นิพฺ ในคำว่า นิพฺพนฺติ ธีรา ยถายมฺปทีโป ก็ให้จุ่มเทียนลงดับในน้ำมนต์ทันที พอถึงคำว่า ปทีโป จึงยกขึ้น แล้ววางหรือติดเทียนไว้ตามเดิม (นี้กล่าวตามธรรมเนียม แต่ก่อน แต่ในปัจจุบัน พอสวดถึง
    เย สุปฺปยุตฺตา... เตรียมปลดเทียนน้ำมนต์ และเริ่มหยดเรื่อยไปดับตรงคำว่า นิพฺ เช่นเดียวกันก็มี) เป็นอันเสร็จพิธีทำน้ำมนต์ ต่อนั้นจึงสวดมนต์ต่อไปจนจบ

    อนึ่ง ในงานมงคล เมื่อตั้งน้ำมนต์ในขณะเจริญพระพุทธมนต์แล้ว เสร็จพิธี หรือเสร็จ การเลี้ยงพระในวันฉัน มักมีประเพณีขอให้พระสงฆ์พรมน้ำพระพุทธมนต์ ให้เจ้าภาพ และบริเวณ สถานที่บ้านเรือนเป็นต้นด้วย ถ้าเจ้าภาพประสงค์ให้มีการพรมน้ำพระพุทธมนต์ต่อท้าย เจ้าภาพ จะต้องเตรียมสิ่งสำหรับพรม คือ หญ้าคา หรือก้าน มะยมมัดเป็นกำไว้ให้พร้อม การใช้หญ้าคา เป็นประเพณีติดมาแต่คติพราหมณ์ ซึ่งมีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ว่า เมื่อครั้ง อสูรกับเทวดาร่วมกันกวน เกษียรสมุทรให้เป็นน้ำอมฤตขึ้นสำเร็จ พวกเทวดาหาอุบายกีดกัน ไม่ให้พวกอสูรได้ดื่ม น้ำอำมฤตนั้น จึงเกิดวิวาทถึงรบราฆ่าฟันกันเป็นการใหญ่ ในการรบกันนั้น น้ำอมฤตได้ กระเซ็นตกมาบนหญ้าคา ๒ - ๓ หยด โดยเหตุนี้เองพวกพราหมณ์จึงถือว่าหญ้าคา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นสิ่งที่กำจัดให้ตายได้ยาก เลยนำมาใช้ในพิธีการ
    ต่าง ๆ หลายอย่าง ติดมา จนทุกวันนี้

    สำหรับชาวพุทธที่ติดประเพณีพราหมณ์ ก็ถือว่าหญ้าคาเป็นหญ้ามงคล เพราะปรากฏ เป็นพุทธบัลลังก์ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่มโพธิพฤกษ์ในวันตรัสรู้ จึงนิยมใช้ หญ้าคากันสืบต่อมา

    ส่วนที่ใช้ก้านมะยมอีกอย่างหนึ่ง เห็นจะเป็นความนิยมเกิดขึ้นในภายหลัง และอาจจะ นิยมเฉพาะในประเทศไทย อย่างเดียวกับที่ชาวจีนนิยมใช้ก้านทับทิมพรมน้ำมนต์ เรื่องใช้ก้าน มะยมในหมู่ชาวไทยนี้ ได้ทราบอธิบายของเกจิอาจารย์มาว่า ท่านถือว่า “ไม้มะยม” มีชื่อพ้องกัน กับ “ยมทัณฑ์” คือ ไม้อาญาสิทธิ์ของพญายม ผู้เป็นเจ้าของภูตผีปีศาจ ไม้ยมทัณฑ์นั้น สามารถปราบหรือกำจัดภูตผีปีศาจได้ทุกทิศทุกทาง ชาวไทยเราถือเคล็ดที่ชื่อพ้องกันนี้นำมา ใช้สำหรับพรมน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อขับไล่ เสนียดจัญไร และเพื่อให้มีความขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ในการใช้ก้านมะยมนี้ จึงนิยมเพิ่มเติมอีกว่า ต้องใช้ ๗ ก้านมัดรวมกัน โดยถือว่าได้จำนวน เท่ากันกับหัวข้อธรรม ในโพชฌงคสูตร ซึ่งเป็นธรรมโอสถวิเศษ และเท่าจำนวนพระปริตร ๗ ตำนาน ที่พระสงฆ์สวดในงานมงคลนั้นด้วย แต่จะอย่างไรก็ตาม เรื่องใช้ก้านมะยมพรมแทน หญ้าคาที่นิยมมาเดิม เห็นจะเป็นเพราะในถิ่นที่เจริญแล้ว เช่น ในเมือง เป็นต้น หาหญ้าคาได้ยาก เพราะไม่มีป่า แต่ต้นมะยมมีอยู่ตามบ้านในเมืองไทยนี้ทั่วไป จึงดัดแปลงมาเพื่อใช้สิ่งที่หาได้ง่าย เป็นประมาณนั่นเอง


    --------------------------------------------------------------------------------

    ๒. ทำบุญงานอวมงคล

    การทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตายดังกล่าวแล้ว นิยมทำกันอยู่ ๒ อย่างคือ ทำบุญหน้าศพ ที่เรียกกันว่าทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพ อย่างหนึ่ง ทำบุญอัฐิหรือทำบุญปรารภการตาย ของบรรพบุรุษ หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวันคล้ายกับวันตายของท่านผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างนี้ มีระเบียบ ที่จะพึงปฏิบัติ ดังนี้

    ก. งานทำบุญหน้าศพ

    พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ในงานทำบุญหน้าศพ มีกิจกรรมที่ควรตระเตียมไว้เป็น เบื้องต้น ส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่างอยู่บางประการ คือ

    ๑. อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีจำนวนนิยม ๘ รูป หรือ ๑๐ หรือกว่า นั้นขึ้นไป แล้วแต่กรณี ในเรื่องอาราธนาพระสงฆ์สำหรับทำบุญงานอวมงคล ไม่ใช้คำอาราธนาว่า ่”ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์” เหมือนอย่างทำบุญงานมงคล แต่ใช้คำอราธนาว่า “ขออราธนา สวดพระพุทธมนต์”

    ๒. ไม่ตั้งน้ำวงด้าย หมายความว่า ไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ และไม่มี การวงด้ายสายสิญจน์

    ๓. เตียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้ เพื่อใช้บังสุกุลสายโยงนั้น ก็ใช้สายสิญจน์ นั่นเอง แต่ไม่เรียกว่าสายสิญจน์เหมือนงานมงคล เรียกว่า สายโยง ถ้าไม่ใช้สายสิญจน์โยง มีหลักที่ต้องระวังอย่างหนึ่ง คือ จะโยงในที่สูงกว่าพระพุทธรูป ที่ตั้งในพิธีไม่ได้ และจะปล่อย ให้ลาดมากับพื้นที่เดินหรือนั่งก็ไม่เหมาะเพราะสายโยงนี้ เป็นสาย ที่ล่ามโยงออกมาจากกระหม่อม ของศพ เป็นสิ่งเนื่องด้วยศพ จึงต้องล่ามหรือโยงให้สมควร

    ส่วนการปฏิบัติกรณียกิจ ในเมื่อพระสงฆ์มาถึงตามกำหนดแล้วก็คล้ายกับงานมงคล

    สำหรับข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในงานมงคล มีแต่เพียงว่า ในงานมงคล หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว นิยมให้มีบังสุกุล แล้วจึงถวายไทยธรรม เมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนาพึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลต่อไป

    พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ ต้องใช้พัดที่เกี่ยวกับงานศพเป็นเหมาะสม เพราะงานอวมงคล เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตายทั้งสิ้น ถ้าไม่มี จะใช้พัดงานอื่นก็ได้ เช่น พัดงานฉลองต่าง ๆ การสวดมนต์ ในงานอวมงคลนี้ (สวดมนต์เย็นและฉันวันรุ่งขึ้น) มีระเบียบนิยมเหมือนกัน ในตอนต้นและตอนท้าย ทุกงาน ต่างกันแต่ตอนกลาง ซึ่งมีนิยมเฉพาะงาน ๆ ดังนี้

    ๑. ทำบุญศพ ๗ วัน สวดอนัตตลักขณสูตร

    ๒. ทำบุญศพ ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร

    ๓. ทำบุญศพ ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพสวดธรรมนิยามสูตร

    ๔. ทำบุญศพในวาระอื่นจากที่กล่าวนี้จะสวดสูตรอื่นใดนอกจากที่กล่าวนี้ก็ได้ แล้วแต่ เจ้าภาพประสงค์หรือหัวหน้านำสวด แต่มีธรรมเนียมอยู่ว่า ไม่สวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัย

    ในการสวดนี้ มีระเบียบปฏิบัติ คือ เมื่อพระหัวหน้าให้ศีลและเจ้าภาพอาราธนา สวดพระปริตรจบแล้ว ไม่ต้องขัด สคฺเค พระทุกรูปประนมมือพร้อมกันแล้ว หัวหน้านำสวด

    ก. นมการปาฐะ (นโม......)

    ข. สรณคมนปาฐะ (พุทฺธํ สรณํ.....)

    ค. ปัพพโตปมคาถาและอริยธนคาถา (ยถาปิ เสลา....)

    พอจบตอนนี้ ทั้งหมดลดมือลง แล้วรูปที่นั่งอันดับ ๓ ตั้งพัดขัดบทขัดของสูตร ที่กำหนด สวดตามงานสูตรใดสูตรหนึ่ง เมื่อขัดจบวางพัด ทุกรูปประนมมือพร้อมกันอีก หัวหน้านำสวดสูตร ที่ขัดนำนั้น จบสูตรแล้ว นำสวดบทท้ายสวดมนต์ของงานอวมงคลต่อ คือ

    ก. ปฏิจจปมุปบาท (อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา....)

    ข. พุทธอุทานคาถา (ยทา หเว....)

    ค. พุทเทกรัตตคาถา (อตีตํ นานฺวาคเมยฺย....)

    ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ....

    ถ้าสวดธรรมนิยามสูตร ใช้สวดติลักขณาทิคาถา (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯเปฯ เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ) ก่อนสวดปฏิจจสมุปบาท

    เมื่อพระสวดมนต์จบแล้ว ถ้ามีการชักผ้าบังสุกุลต่อท้าย เจ้าจะลากสายโยงหรือภูษาโยง แล้วทอดผ้า พอทอดถึงรูปสุดท้าย พระสงฆ์ก็ตั้งพัดพร้อมกัน (อย่าข้าสายโยง หรือภูษาโยง เพราะ จะถือว่าเป็นการข้ามศพ) การตั้งพัดในพิธีชักบังสุกุลของพระให้ใช้มือซ้ายจับพัดแล้วใช้มือ ขวาจับผ้าบังสุกุล

    ในกรณีที่เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลเพียงสดมนต์ ไม่มีการเลี้ยงพระ ไม่ต้องสวดบทถวาย พรพระ เมื่อพระสงฆ์รับไทยธรรมแล้ว หากไม่มีการรีบด่วน ในการอนุโมทนาด้วยบทวิเสส อนุโมทนา พึงใช้บท “อทาสิ เม” เพราะศพยังปรากฏอยู่

    ข. งานทำบุญอัฐิ

    พิธีฝ่ายเจ้าภาพ พึงจัดตระเตียมทำนองเดียวกับงานทำบุญหน้าศพที่กล่าวแล้ว ทุกประการ ต่างแต่เพียงงานนี้เป็นงานทำบุญหน้าอัฐิหรือรูปที่ระลึกของผู้ที่ล่วงลับ เป็นต้น เจ้าภาพต้องเตรีมที่ตั้งอัฐิหรือที่ตั้งรูประลึกนั้น ๆ ต่างหากจากโต๊ะบูชา จะใช้โต๊ะหมู่หรือโต๊ะอื่นใด ที่สมควรก็ได้ ให้มีออกไม้ตั้งหรือประดับพองามตามแต่จะพึงจัดได้ และตั้งกระถางธูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ที่หน้าโต๊ะอัฐิหรือรูปนั้นด้วยเพื่อบูชา จะใช้พานหรือกระบะเครื่องห้าสำหรับบูชาแทนก็ได้ ข้อสำคัญให้ดูงามเด่นพอควร เป็นใช้ได้

    พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ ส่วนใหญ่ก็พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับงานทำบุญหน้าศพ ต่างแต่ การสวดมนต์ นิยมใช้สูตรอื่นนอกจากอนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร และธรรมนิยามสูตร ที่ใช้สำหรับงานทำบุญศพ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือหน้าวันปลงศพดังกล่าวแล้ว (ในปัจจุบัน สวดธรรมนิยามสูตรก็มี) ทั้งนี้แล้วแต่หัวหน้าสงฆ์ จะกะนัดหมาย หรือเจ้าภาพจำนง หมาย เช่น สติปัฏฐานปาฐะ เป็นต้น


    มีต่อคะ





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน
     
  5. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    Re: ศาสนพิธี



    ทานพิธี


    ความหมาย

    พิธีถวายทานต่าง ๆ เรียกว่า ทานพิธี ในที่นี้จะกว่าเฉพาะทานพิธีสามัญ ที่จำเป็น และนิยมบำเพ็ญกันอยู่ทั่วไป และจะกล่าวเฉพาะระเบียบปฏิบัติกับคำถวาย ของฝ่ายทายกเท่านั้น

    การถวายทาน คือ การถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน ในพระพุทธศาสนา เรียกวัตถุที่ควร ให้เป็นทานนี้ว่า “ทานวัตถุ” ท่านจำแนกไว้ ๑๐ ประการ คือ (๑) ภัตตาหาร (๒) น้ำรวม ทั้งเครื่องดื่มอันควรแก่สมณบริโภค (๓) ผ้าเครื่องนุ่งห่ม (๔) ยานพาหนะ สงเคราะห์ ปัจจัยค่าโดยสารเข้าด้วย (๕) มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาชนิด ต่าง ๆ (๖) ของหอม หมายถึง ธูปเทียนบูชาพระ (๗) เครื่องลูบไล้ หมายถึง เครื่อง สุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกายให้สะอาด มีสบู่ถูกตัว เป็นต้น (๘) เครื่องที่นอนอันควรแก่สมณะ (๙) ที่อยู่อาศัย มีกุฏิเสนาสนะ และ เครื่องสำหรับเสนาสนะเช่น เตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น (๑๐) เครื่องตามประทีป มีเทียน จุดใช้แสงตะเกียง น้ำมันตะเกียงและไฟฟ้า เป็นต้น ทั้ง ๑๐ ประการนี้ควรแก่การถวายเป็นทาน แก่ภิกษุสามเณร เพื่อใช้สอย หรือบูชาพระตามสมควร แต่การถวายทานนี้มีนิยม ๒ อย่าง คือ

    ๑. ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรูปนี้อย่างหนึ่ง เรียกว่า ปาฏิบุคลิกทาน

    ๒. ถวายไม่เจาะจงรูปใด มอบเป็นของกลางให้สงฆ์จัดเฉลี่ยกันใช้สอยเอง อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า สังฆทาน

    สำหรับปาฏิบุคลิกทานไม่จำต้องมีพิธีกรรมอะไรในการถวาย เพราะผู้ถวายเกิดศรัทธา จะถวายสิ่งไร แก่ภิกษุหรือสามเณรรูปใด ก็จัดสิ่งนั้นมอบถวายเฉพาะรูปนั้น เป็นรายบุคคล สำเร็จเป็นทานแล้ว และผู้รับปาฏิบุคคลทาน จะอนุโมทนาอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลเช่นกัน

    แต่สำหรับสังฆทาน เป็นการถวายสงฆ์เกี่ยวกับพระสงฆ์ส่วนรวมในวัด จัดเป็น การสงฆ์ไม่ใช่การบุคคลดังกล่าว จึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องด้วยพิธีกรรม โดยเฉพาะการถวาย และการอนุโมทนาของสงฆ์ย่อมมีพิธีปฏิบัติ ฉะนั้นในหมวดนี้ จึงจะกล่าวทานพิธีเฉพาะส่วน ที่ถวายเป็นการสงฆ์อย่างเดียว และทานที่ถวายสงฆ์นั้น แม้มีกำหนดวัตถุเป็น ๑๐ ชนิดแล้ว ก็มีนิยมถวายวัตถุใน ๑๐ ชนิดนั้นเป็นรายการ ๆ แยกคำถวายต่างกันออกไปอีกมากมาย แต่จะเป็นถวายอะไรก็ตาม เมื่อสงเคราะห์ก็อยู่ในปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช ทั้งนั้น และการถวายก็มีนิยมเป็น ๒ คือ ถวายในกาลที่ควรถวายสิ่งนั้น ๆ เรียกว่า กาลทาน ๑ ถวายไม่เนื่องด้วยกาลหรือนอกกาลอีก ๑ ซึ่งมีระเบียบปฏิบัติ ดังนี้



    --------------------------------------------------------------------------------

    ระเบียบพิธี

    ๑. หลักสำคัญของการถวายทานเป็นการสงฆ์มีอยู่ว่า ต้องตั้งใจถวายเป็นสงฆ์จริง ๆ อย่าเห็นแก่หน้าบุคคลผู้รับว่า เป็นภิกษุหรือสามเณร เป็นพระสังฆเถระ หรือพระอันดับ ถ้ามิฉะนั้นแล้วจะเป็นเหตุให้จิตใจไขว้เขว เกิดความยินดียินร้าย ไปตามบุคคลผู้รับ ซึ่งจะเสีย พิธีสังฆทานไป ควรทำใจว่าผู้รับจะเป็นบุคคลชนิดใด ๆ ก็ตาม เมื่อเป็นผู้รับในนามของสงฆ์ ซึ่งสงฆ์จัดมา หรือเป็นผู้มาถึงเฉพาะหน้า ในขณะตั้งใจถวายสงฆ์แล้ว ก็ถวายทานนั้น ๆ อุทิศให้ เป็นสงฆ์จริง ๆ
    ๒. ตระเตรียมทานวัตถุที่ต้องการถวายให้เสร็จเรียบร้อย ตามศรัทธาและทันเวลาถวาย ถ้าเป็นภัตตาหาร จีวร และคิลานเภสัช ซึ่งเป็นวัตถุยกประเคนได้ จะเป็นของถวายเนื่องด้วยกาล หรือไม่ก็ตาม ต้องจัดให้ถูกต้องตามนิยมของทานชนิดนั้น ๆ แต่ถ้าเป็นเสนาสนะหรือเครื่องเสนาสนะ ซึ่งต้องก่อสร้างกับที่และเป็นของใหญ่ใช้ติดที่ ก็ต้องเตรียมการตามสมควร

    ๓. เผดียงสงฆ์ คือ แจ้งความประสงค์ที่จะถวายทานนั้น ๆ ให้สงฆ์ทราบ ถ้าเป็น ภัตตาหาร หรือ จีวร คิลานเภสัช ซึ่งมีจำนวนจำกัดไม่ทั่วไปแก่สงฆ์ ผู้รับให้ตามจำนวนต้องการ และนัดแนะสถานที่กับกำหนดเวลาให้เรียบร้อยด้วย

    ๔. ในการถวายทานนั้น ถ้ามีพิธีอื่นประกอบด้วย ก็เป็นเรื่องของพิธีแต่ละอย่าง ๆ ไป เฉพาะพิธีถวายทานเมื่อถึงกำหนด ฝ่ายทายกพึงดำเนินพิธี ดังนี้

    ก. จุดธูปเทียนหน้าที่บูชาพระ ถ้ามีตั้งอยู่ด้วย

    ข. อาราธนาศีล และรับศีล

    ค. ประนมมือกล่าวว่าคำถวายทานนั้น ๆ ตามแบบ

    ในการกล่าวคำถวายนี้ ทุกครั้ง ต้องตั้ง นโมก่อน ๓ จบ ถ้าถวายรวมกันมากคน ควรว่า นโม พร้อมกันก่อน แล้วหัวหน้ากล่าวนำคำถวายให้ผู้อื่นว่าตามเป็นคำ ๆ ทั้งคำบาลีและคำแปล จนจบ แต่คำแปลในบางกรณีที่มีคำถวายบาลียืดยาวจะเว้นไม่กล่าวก็ได้ ต่อนั้นถ้าเป็นของควร ประเคนก็ประเคน จะประเคนสิ่งของประเภทอาหารแต่เที่ยงแล้วไปหาได้ไม่ อนึ่ง เสนาสนะหรือ วัตถุที่ใหญ๋โต ไม่สามารถจะยกประเคนได้ ถ้าประสงค์จะประเคน ใช้น้ำหลั่งลงบนมือของสงฆ์ผู้เป็น ประธานในพิธี ก็ถือว่าได้ประเคนแล้ว

    ๕. พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนา เพื่อรับสังฆทานตามธรรมเนียมของทานนั้น ๆ แล้ว บางพวก ในขณะที่ทายกกล่าวคำถวายทานประนมมือ เป็นอาการแสดงถึงการรับทานโดยเคารพ เมื่อทายกกล่าวคำถวายจบแล้ว เปล่งวาจา สาธุ พร้อมกัน บางพวก เมื่อทายกกล่าวคำถวายจบ แล้วจึงประนมมือ เปล่งวาจา สาธุ ทั้งนี้ สุดแต่จะควร สถานใดกล่าวไว้ตามที่เคยเห็นเท่านั้น เมื่อเสร็จการประเคนแล้ว พึงอนุโมทนาด้วยบท

    ก. ยถา....................................................................................

    ข. สพฺพีติโย.............................................................................

    ค. บทอนุโมทนาโดยควรแก่ทาน..................................................

    ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ.................................................................

    ๖. ขณะพระสงฆ์อนุโมทนา ทายกพึงกรวดน้ำ เมื่อพระเริ่มบท ยถา... พอถึงบท สพฺพีติโย... เป็นต้นไป พึงประนมมือรับพรไปจนจบ แล้วกราบ ๓ หน เป็นอัน เสร็จพิธีถวายทาน

    คำถวายสังฆทาน (ประเภทสามัญ)

    อิมานิ มยํ ภนฺเต ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ



    --------------------------------------------------------------------------------


    คำถวายต่างๆ

    คำถวายสังฆทาน (ประเภทมตกภัตอุทิศผู้ตาย)
    อิมานิ มยํ ภนฺเต มตกภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, มตกภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากญฺเจว, มาตาปิตุ อาทีนญฺจ าตกานํ, กาลกตานํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วด้วย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายสลากภัต

    เอตานิ มยํ ภนฺเต, สลากภตฺตานิ, สปริวารานิ, อสุกฏฺ€าเน, €ปิตานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, เอตานิ, สลากภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายสลากภัตตาหารกับทั้งบริวาร ทั้งหลาย ซึ่งตั้งไว้ ณ ที่โน้นนั้น แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งสลากภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านั้น ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายข้าวสาร

    อิมานิ มยํ ภนฺเต ตณฺฑุลานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ อิมานิ, ตณฺฑุลานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายข้าวสารกับทั้งเครื่องบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับข้าวสารกับทั้งเครื่องบริวารทั้งหลาย เหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ ความร่มเย็นเป็นสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายเภสัชทานมีน้ำผึ้งเป็นต้น

    สรโท นามายํ ภนฺเต, กาโล สมฺปตฺโต, ยตฺถ ตถาคโต, อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ, สารทิกาพาเธน อาพาธิกานํ, ภิกฺขูนํ, ปญฺจ เภสชฺชานิ, อนุญฺาสิ, สปฺปึ, นวนีตํ, เตลํ, มธุํ ผาณิตํ, มยนฺทานิ, ตกฺกาลสทิสํ สมฺปตฺตา ตสฺส ภควโต, ปญฺตฺตานุคํ, ทานํ ทาตุกามา, เตสุ ปริยาปนฺนํ, มธุํ จ, เตลํ จ, ผาณิตํ จ, ภิกฺขูนญฺเจว, สามเณรานญฺจ, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, อยฺยา ยถาวิภตฺตา, มธุทานํ จ, เตลํ จ, ผาณิตํ จ, ปฏิคฺคณฺหนฺตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแด่พระสงฆ์ผู้เจริญ บัดนี้สรทกาลมาถึงแล้ว ในกาลใดเล่า พระตถาคต อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ทรงอนุญาตเภสัช ๕ อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แก่ภิกษุ ทั้งหลายผู้อาพาธ ด้วยโรคเกิดในสรทกาล บัดนี้ข้าพเจ้าทั้งหลาย มาถึงกาลเช่นนี้แล้ว ปรารถนา จะถวายทานตามพระพุทธานุญาต ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงถวายน้ำผึ้งกับน้ำมันและน้ำอ้อย อันนับเข้าในเภสัช ๕ อย่างนั้น แก่ภิกษุและสามเณรทั้งหลาย ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงรับ มธุทาน เตลทาน และผาณิตทาน ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ตามที่แจกถวายแล้วนั้น เพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายเสนาสนะ กุฏิ วิหาร

    อิมานิ มยํ ภนฺเต, เสนาสนานิ, อาคตานาคตสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, เสนาสนานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเสนาสนะเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ เสนาสนะเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายศาลาโรงธรรม

    มยํ ภนฺเต, อิมํ สาลํ, ธมฺมสภาย, อุทฺทิสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมํ สาลํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายศาลาหลังนี้แก่พระภิกษุสงฆ์ที่มี ในทิศทั้ง ๔ อุทิศเพื่อเป็นสถานที่แสดงธรรม ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ศาลาหลังนี้ของข้าพเจ้า ทั้งหลายเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายผ้าวัสสิกสาฎก

    อิมานิ มยํ ภนฺเต, วสฺสิกสาฏิกานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, วสฺสิกสาฏิกานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

    หมายเหตุ :- ถ้าไม่มีเครื่องบริวารถวายพ่วงด้วย ก็ตัดคำบาลีว่า “สปริวารานิ” และคำแปลว่า “กับทั้งบริวาร” ออกเสียทุกแห่ง


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายผ้าจำนำพรรษา

    อิมานิ มยํ ภนฺเต, วสฺสาวาสิกจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, วสฺสาวาสิกจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลายเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายผ้าอัจเจกจีวร

    อิมานิ มยํ ภนฺเต, อจฺเจกจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, อจฺเจกจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอัจเจกจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอัจเจกจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายผ้าป่า

    อิมานิ มยํ ภนฺเต, ปํสุกูลจีวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โฮโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อ ประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๑)

    อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, (ว่า ๓ จบ)

    คำแปล
    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แก่พระสงฆ์ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๒)

    อิมํ ภนฺเต สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน, ก€ินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวาร นี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้วจงกราน กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายธูปเทียนดอกไม้เพื่อบูชา

    อิมานิ มยํ ภนฺเต, ทีปธูปปุปฺผวรานิ, รตนตฺตยสฺเสว, อภิปูเชม, อมฺหากํ, รตนตฺตยสฺส ปูชา, ทีฆรตฺตํ, หิตสุขาวหา, โหตุ, อาสวกฺขยปฺปตฺติยา.

    คำแปล
    ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้ อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย กิริยาที่บูชาแก่พระรัตนตรัยนี้ จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน จงเป็นไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน เป็นที่สิ้นไป แห่งอาสวกิเลส เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป

    มยํ อิมินา ปทีเปน, อสุกาย, นมฺมทาย, นทิยา, ปุลิเน €ิตํ, มุนิโน, ปาทวลญฺชํ, อภิปูเชม, อยํ, ปทีเปน, มุนิโน ปาทวลญฺชสฺส, ปูชา, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.

    คำแปล
    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทราย ในแม่น้ำ ชื่อนัมมทานทีโน้น ด้วยประทีปนี้, กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาท ด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายธงเพื่อบูชา

    มยํ อิมินา, ธชปฏาเกน, รตนตฺตยํ, อภิปูเชม, อยํ ธชปฏาเกน, รตนตฺตยปูชา, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.

    คำแปล
    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งพระรัตนตรัย ด้วยธงแผ่นผ้านี้ กิริยาที่บูชาพระรัตนตรัย ด้วยธงแผ่นผ้านี้ ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายเวจกุฎี

    มยํ ภนฺเต, อิมํ วจฺจกุฏึ, อาคตานาคตสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ อิมํ, วจฺจกุฏึ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเวจกุฎีหลังนี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเวจกุฎีหลังนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------

    คำถวายสะพาน

    มยํ ภนฺเต, อิมํ, เสตุํ, มหาชนานํ, สาธารณตฺถาย, นิยฺยาเทม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมสฺมึ, เสตุมฺหิ, นิยฺยาทิเต, สกฺขิโก โหตุ, อิทํ, เสตุทานํ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.

    คำแปล
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอมอบถวาย ซึ่งสะพานนี้ เพื่อประโยชน์ ทั่วไป แก่มหาชนทั้งหลาย ขอพระสงฆ์จงเป็นพยาน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ในสะพานที่ ข้าพเจ้าทั้งหลายได้มอบให้แล้วนี้ ขอเสตุทานนี้ จงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้า ทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ


    มีต่อคะ





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน
     
  6. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    Re: ศาสนพิธี



    ปกิณกะพิธี


    ความหมาย

    พิธีกรรมที่จะกล่าวในบทนี้เป็นพิธีเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติบางประการ ในการ ประกอบพิธีต่าง ๆ ที่กล่าวแล้วในหมวดต้น ๆ มาชี้แจงเพื่อความรู้ และเพื่อเป็นทางปฏิบัติ แต่จะกล่าวเฉพาะเรื่องที่มิได้ชี้แจงไว้ข้างต้นเพียง ๕ เรื่องเท่านั้น คือ

    ๑. วิธีแสดงความเคารพพระ

    ๒. วิธีประเคนของพระ

    ๓. วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย

    ๔. วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม

    ๕. วิธีกรวดน้ำ

    จะได้แสดงวิธีปฏิบัติต่อไปตามลำดับ



    --------------------------------------------------------------------------------

    ๑. วิธีแสดงความเคารพพระ

    ความมุ่งหมายของการแสดงความเคารพพระ ก็เพื่อแสดงให้ปรากฏว่า ตนมีความนับถือ ด้วยกายและใจจริง การแสดงให้ปรากฏนี้ส่วนใหญ่แสดงออกทางกาย ซึ่งส่อซึ้งถึงน้ำใจอย่างเด่นชัด พระที่ควรแก่การแสดงความเคารพ ได้แก่ พระพุทธรูปรือปูชนียวัตถุ มีพระสถูปเจดีย์ เป็นต้น ๑ พระภิกษุสามเณรผู้ทรง เพศอุดมกว่าตน ๑ การแสดงความเคารพต่อพระดังกล่าวนี้ จะนำมาชี้แจงในที่นี้เพียง ๓ วิธี คือ
    ก. ประนมมือ

    ข. ไหว้

    ค. กราบ

    ประนมมือ ตรงกับหลักที่กล่าวไว้ในบาลีว่า “ทำอัญชลี” คือ การกระพุ่มมือทั้งสอง ประนม ให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิ้วทุกนิ้วของมือทั้งสองแนบชิดตรงกัน ไม่มีเหลื่อมล้ำกว่ากัน หรือกางให้ห่าง ตั้งกระพุ่มมือ ที่ประนมด้วยอาการนี้ไว้ในระหว่างอก ให้ตั้งตรงขึ้นข้างบน มีลักษณะ คล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้าง ชิดชายโครง ไม่ให้กางห่างออกไป แสดงอาการอย่างนี้ เรียกว่าประนมมือ เป็นการแสดง ความเคารพ เวลาสวดมนต์ หรือฟังพระสวดและฟังเทศน์ เป็นต้น แสดงอย่างเดียวกัน ทั้งชายทั้งหญิง

    ไหว้ ตรงกับที่กล่าวไว้ในบาลีว่า “นมัสการ” หรือ “วันทา” คือการยกมือที่ประนม แล้วขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้มือประนมจดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือ ทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว อย่างนี้เรียกว่า ไหว้ ใช้แสดงความเคารพพระ ในขณะนั่งเก้าอี้ หรือยืนอยู่ ไม่ใช่นั่งราบกับพื้น แสดงอย่างเดียวกันทั้งชายและหญิง



    --------------------------------------------------------------------------------

    ๒. วิธีประเคนของพระ

    การประเคนของพระ คือ การถวายของให้พระได้รับถึงมือ ของที่ประเคนนั้น ต้องเป็น ของที่คนเดียวพอยกได้อย่างธรรมดา ไม่ใช่ของหนัก หรือใหญ่โตจนเกินไป ไม่มีวัตถุอนามาส คือ เงินทอง หรือของกะไหล่ด้วยเงินแท้หรือทองแท้ปนอยู่ด้วย เพราะเป็นของไม่เหมาะแก่ภาวะ ของพระที่จะรับได้ และถ้าเป็นของเคี้ยวของฉัน ต้องประเคนได้เฉพาะในกาล เวลาวิกาลตั้งแต่ เที่ยงแล้วไปจนถึงย่ำรุ่งวันใหม่ ไม่ควรนำมาประเคน วิธีประเคนนั้นพึงปฏิบัติ ดังนี้
    ก. พึงนำของประเคนเข้าไปให้ใกล้พระผู้รับ ประมาณ ๑ ศอก (ไม่ถึงศอก หรือไม่ เกินศอกคืบก็ได้) จะนั่งหรือยืนแล้วแต่สถานที่ที่พระนั่งอยู่นั้นอำนวย

    ข. จับของที่ประเคนด้วยมือทั้งสองก็ได้ มือเดียวก็ได้ ยกให้สูงขึ้นเล็กน้อย แล้วน้อม ถวายพระซึ่งท่านจะยื่นมือทั้งสองออกมาจับ ถ้าผู้ถวายเป็นสตรี พึงวางของลงบนผ้ากราบ ที่พระปูรับอยู่ข้างหน้า เสร็จแล้วพึงไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี หนหนึ่ง

    หลักสำคัญของการประเคนนี้ ต้องแสดงออกด้วยความเคารพ ไม่ใช่เสือกไส หรือทิ้ง ให้โดยไม่เคารพ



    --------------------------------------------------------------------------------

    ๓. วิธีทำหนังสืออาราธนาและทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย

    การอาราธนาพระ ก็คือการนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีต่าง ๆ ต้องทำให้เป็น กิจจะลักษณะ แต่ปางก่อนใช้อาราธนาด้วยวาจาเป็นพื้น แต่ในปัจจุบันนี้มีนิยม ทำหนังสืออาราธนา ความมุ่งหมายก็เพื่อแจ้งกำหนดงานและรายการให้พระสงฆ์ทราบ หนังสืออาราธนานี้ เรียกกันว่า ฎีกานิมนต์พระ มีข้อความที่จะแสดงเป็นตัวอย่าง ดังนี้
    “ขออาราธนาพระคุณเจ้า (พร้อมด้วยพระสงฆ์ในวัดนี้อีก...รูป) เจริญพระพุทธมนต์ (หรือสวดพระพุทธมนต์ หรือแสดงพระธรรมเทศนาแล้วแต่กรณี) ในงาน.....ที่บ้านเลขที่..... ตำบล.....อำเภอ......กำหนดวันที่.....เดือน......พ.ศ.......เวลา.....น.

    (หากจะอาราธนาให้รับอาหารบิณฑบาต เช้า หรือ เพล ให้บอกด้วย ถ้าต้องการ ตักบาตรหรือปิ่นโต ก็ต้องบอกไว้ในฎีกาให้นำไปด้วย)

    ถ้างานนั้นมีเรือหรือรถรับส่ง ก็ให้หมายเหตุบอกไว้ท้ายฎีกานั้น เพื่อพระจะได้ทราบ ล่วงหน้า การวางฎีกานิมนต์พระนี้ ถ้าเป็นพระวัดเดียวกัน ไม่ต้องทำฎีกานิมนต์ เป็นรายองค์ ก็ได้ เป็นแต่ระบุจำนวนพระหรือรายชื่อพระที่ต้องการให้ทางวัดจัดนิมนต์ ต่อให้ก็ได้

    และในการถวายไทยธรรมแก่พระสงฆ์ ที่นิมนต์มาประกอบพิธีต่าง ๆ ก็มี นิยมถวายค่า จตุปัจจัยเป็นพิเศษจากไทยธรรมอีกส่วนหนึ่งด้วยในการถวายค่าจตุปัจจัยนี้ นิยมทำใบปวารณา ถวาย คือ ถวายด้วยใบปวารณาความมุ่งหมายก็เพื่อสงเคราะห์ ให้ภิกษุได้รับค่าจตุปัจจัยนั้น โดยชอบด้วยวินัย ใบปวารณานี้ มีแบบนิยมเป็นฉบับ ดังนี้

    “ขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค แด่พระคุณเจ้าเป็น มูลค่า.....บาท ....สต. หากพระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการก ผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้า เทอญ”

    ใบปวารณานี้ นิยมกลัดติดกับผ้าที่ทอดในงานอวมงคล หรือถวายเฉพาะใบ หรือไม่ ก็ใส่ซองแล้วรวมถวายไปกับเครื่องไทยธรรมในทุก ๆ งาน ส่วนเงินค่าจตุปัจจัยนั้น มอบไปกับ กัปปิยการก คือศิษย์ผู้มากับพระนั้น



    --------------------------------------------------------------------------------

    ๔. วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร

    อาราธนาธรรม
    การอาราธนา คือ การเชื้อเชิญพระสงฆ์ในพิธีให้ศีล ให้สวดพระปริตร หรือให้แสดงธรรม เป็นธรรมเนียมมีมาแต่ดั้งเดิมที่จะต้องอาราธนาก่อน พระสงฆ์จึงจะประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ และการอาราธนาที่ถือเป็นธรรมเนียมกันมาก็มี ๓ กรณีเท่านั้น

    วิธีอาราธนา นิยมกันว่า ถ้าพระสงฆ์นั่งบนอาสนะยกสูงเจ้าภาพและแขกนั่งเก้าอี้ ผู้อาราธนาเข้าไปยืนระหว่างเจ้าภาพกับแถวพระสงฆ์ตรงกับรูปที่ ๓ หรือที่ ๔ ห่างแถวพระสงฆ์ พอสมควรหันหน้าไปทางโต๊ะที่บูชา ประนมมือไหว้พระพุทธรูปก่อนแล้วยืนประนมมือตั้งตัวตรง กล่าวคำอาราธนาตามแบบที่ต้องการ ถ้าพระสงฆ์นั่งอาสนะต่ำธรรมดา เจ้าภาพและแขกอื่น ก็นั่งกับพื้น ผู้อาราธนาต้องเข้าไปนั่งคุกเข่าต่อหน้าแถวพระสงฆ์ตรงหัวหน้า กราบพระที่โต๊ะบูชา ๓ ครั้งก่อน แล้วประนมมือตั้งตัวตรง กล่าวคำอาราธนาที่ต้องการตามแบบ คือ

    พิธีสวดมนต์เย็น อาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร

    พิธีเลี้ยงพระ อาราธนาศีล

    พิธีถวายทานทุกอย่าง อาราธนาศีล

    พิธีเทศน์ ถ้าเทศน์ต่อจากสวดมนต์ ตอนสวดมนต์ไม่ต้องอาราธนาศีล เริ่มต้นด้วย อาราธนาพระปริตร แล้วอาราธนาศีล ตอนพระขึ้นเทศน์ รับศีลแล้วอาราธนาธรรมต่อ แต่ถ้า สวดมนต์กับเทศน์ไม่ได้ต่อเนื่องกัน ถือว่าเป็นคนละพิธี ตอนสวดมนต์ก็อาราธนา ตามแบบ พิธีสวดมนต์เย็นที่กล่าวแล้ว ตอนเทศน์ก็เริ่มต้น ด้วยอาราธนาศีลก่อน จบรับศีลแล้วจึงอาราธนา ธรรม

    พิธีสวดศพต่าง ๆ เช่น สวดแจง สวดพระอภิธรรม เป็นต้น ถ้าไม่มีพิธีอื่นนำ หน้าให้ อาราธนาศีลก่อน ถ้ามีพิธีอื่นนำหน้าแล้วไม่ต้องอาราธนาศีล

    คำอาราธนาศีล ๕ ในพิธีการ

    มยํ ภนฺเต

    วิสุํ วิสุํ รกฺขนตฺถาย

    ติสรเณน สห

    ปญฺจ สีลานิ ยาจาม

    ทุติยมฺปิ..........

    ตติยมฺปิ..........

    คำอาราธนาพระปริตร

    วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา

    สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ

    วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา

    สพฺพภยวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ

    วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา

    สพฺพโรควินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ ฯ

    คำอาราธนาธรรม

    พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ

    กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ

    สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา

    เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ ฯ



    --------------------------------------------------------------------------------

    ๕. วิธีกรวดน้ำ

    เมื่อจะกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญ ต้องคำนึงถึงประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลด้วยวิธีนิยม ทำกันดังนี้ คือ เริ่มต้นเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะไว้พอสมควร จะเป็นคณฑี ขวดเล็ก แก้วน้ำ หรือขัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ พอพระสงฆ์เริ่ม อนุโมทนาด้วยบท ยถา... ก็เริ่มกรวดน้ำ โดยตั้งใจ นึกอุทิศส่วนบุญ มือขวาจับ ภาชนะน้ำริน ใช้มือซ้ายประคอง แล้วว่าบทกรวดน้ำในใจไปจนจบ การหลั่งน้ำกรวด ถ้าเป็นพื้นดินควรหลั่งลงในที่สะอาดหมดจด ถ้าอยู่บนเรือนหรือสถานที่ ที่ไม่ใช่พื้นดิน ต้องหาภาชนะอื่นที่สมควร เช่น ถาดหรือขัน เป็นต้น รองน้ำกรวดไว้เสร็จแล้วจึงนำไป เทลงดินตรงที่สะอาด อย่าใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองเป็นอันขาด เพราะน้ำที่กรวดเป็น สักขีพยานในการทำบุญของตนว่าทำด้วยใจสะอาดจริง ๆ
    คำกรวดน้ำที่นิยมว่ากันในเวลากรวดทั่ว ๆ ไป มีอยู่ ๓ แบบ คือ แบบสั้น แบบย่อ และแบบยาว ว่าเฉพาะคำบาลีเท่านั้น ดังนี้

    คำกรวดน้ำแบบสั้น (คำอุทิศของพระเจ้าพิมพิสาร)

    อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ (ว่า ๓ จบ)

    หากจะเดิมพุทธภาษิตต่อว่า “สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย” ก็ได้

    คำแปล
    ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด
    “ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุข ๆ เถิด”

    คำกรวดน้ำแบบย่อ เรียกคาถาติโลกวิชัย

    ยงฺกิญฺจิ กุสลํ กมฺมํ กตฺตพฺพํ กิริยํ มม

    กาเยน วาจามนสา ติทเส สุคตํ กตํ

    เย สตฺตา สญฺญิโน อตฺถิ เย จ สตฺตา อสญฺิโน

    กตํ ปุญฺผลํ มยฺหํ สพฺเพ ภาคี ภวนฺตุ เต

    เย ตํ กตํ สุวิทิตํ ทินฺนํ ปุญฺผลํ มยา

    เย จ ตตฺถ น ชานนฺติ เทวา คนฺตฺวา นิเวทยุํ

    สพฺเพ โลกมฺหิ เย สตฺตา ชีวนฺตาหารเหตุกา

    มนุญฺํ โภชนํ สพฺเพ ลภนฺตุ มม เจตสา.

    คำแปล
    กุศลกรรมซึ่งเป็นกิริยาควรทำอันหนึ่งด้วยกายวาจาใจ อันจะเป็นเหตุนำไปให้เกิดใน สวรรค์ชั้นไตรทศเทพ ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ขอสัตว์ซึ่งมีสัญญา และไม่มี สัญญาทุกหมู่เหล่า จงเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วนั้น เหล่าสัตว์ที่รู้ผลบุญอันที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ขอจงเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญที่ข้าพเจ้าอุทิศให้ ในบรรดาสรรพสัตว์จำพวกใด ไม่รู้ข่าวถึง บุญข้าพเจ้ากระทำแล้ว ขอเทพยดาทั้งหลายจงนำไปบอกแก่สัตว์จำพวกนั้น ขอสัตว์ทุกหมู่ ในชีวโลก ซึ่งเสพอาหารเป็นเครื่องเลี้ยงชีพ จงได้เสวยซึ่งโภชนะอันพึงใจ ด้วยอำนาจเจตนา อุทิศของ ข้าพเจ้านี้เถิด ฯ

    คำกรวดน้ำแบบยาว เป็นคาถาของเก่า

    อิมินา ปุญฺญกมฺเมน อุปชฺฌายา คุณุตฺตรา

    อาจริยูปการา จ มาตา ปิตา จ ญาตกา (ปิยา มมํ)

    สุริโย จนฺทิมา ราชา คุณวนฺตา นราปิ จ

    พฺรหฺมมารา จ อินฺทา จ โลกปาลา จ เทวตา

    ยโม มิตฺตา มนุสฺสา จ มชฺฌตฺตา เวริกาปิ จ

    สพฺเพ สตฺตา สุขี โหนฺตุ ปุญฺญานิ ปกตานิ เม

    สุขญฺจ ติวิธํ เทนฺตุ ขิปฺปํ ปาเปถ โว มตํ

    อิมินา ปุญฺญกมฺเมน อิมินา อุทฺทิเสน จ

    ขิปฺปาหํ สุลเภ เจว ตณฺหุปาทานเฉทนํ

    เย สนฺตาเน หินา ธมฺมา ยาว นิพฺพานโต มมํ

    นสฺสนฺตุ สพฺพทาเยว ยตฺถ ชาโต ภเว ภเว

    อุชุจิตฺตํ สติปญฺญา สลฺเลโข วิริยมฺหินา

    มารา ลภนฺตุ โนกาสํ กาตุญฺจ วิริเยสุ เม

    พุทฺธาธิปวโร นาโถ ธมฺโม นาโถ วรุตฺตโม

    นาโถ ปจฺเจกพุทฺโธ จ สงฺโฆ นาโถตฺตโร มมํ

    เตโสตฺตมานุภาเวน มาโรกาสํ ลภนฺตุ มา.

    คำแปล
    ด้วยผลบุญที่ข้าพเจ้ากระทำนี้ ขอพระอุปัชฌาย์ผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล อีกทั้ง อาจารย์ผู้ได้สั่งสอนข้าพเจ้ามา ทั้งมารดาบิดาและคณาญาติทั้งสิ้น ตลอดจน พระอาทิตย์พระจันทร์ และพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ในเอกเทศแห่งเมทนีดล และนรชนผู้มีคุณงามความดี ทั้งหลาย ทุกถิ่นฐาน อีกท้าวมหาพรหมกับหมู่มาร และท้าวมัฆวานเทวราช ทั้งเทพเจ้าผู้ฉกาจรักษา โลกทั้ง สี่ทิศ และพญายามราชอีกมวล มิตรสหาย ทั้งผู้ขวนขวายวางตนเป็นกลาง และผู้เป็นศัตรู ของข้าพเจ้าทุก ๆ เหล่า จงมีความเกษมสุขนิราศภัย ขอบุญที่ข้าพเจ้ากระทำไว้ด้วยไตรทวาร จงบันดาลให้สำเร็จไตรพิธสุข ถึงความเกษมปราศจากทุกข์ คือ พระอมตมหานฤพานโดยพลัน อีกโสดหนึ่งนั้น ด้วยบุญกรรมนี้และอุทิศเจตนานี้ ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุทันทีซึ่งการตัดขาด ตัณหาอุปาทาน ธรรมอันชั่วในสันดานจงพินาศไปหมด จนตราบเท่าถึงนิพพาน สิ้นกาลทุกเมื่อ เทียว แม้ว่าข้าพเจ้ายังจะท่องเที่ยวไปเกิดในภพใด ๆ ก็ขอให้มีจิตซื่อตรง ดำรงสติปัญญาไว ชาญฉลาด ให้มีความเพียรกล้าสามารถขัดเกลากิเลสให้สูญหาย ขอหมู่มารเหล่าร้ายอย่าได้ กล้ำกรายสบโอกาส เพื่อทำให้ข้าพเจ้าพินาศคลายความ เพียรได้ อนึ่งไซร้ พระพุทธเจ้าผู้เป็น ที่พึ่งอันยิ่งอย่างประเสริฐ พระธรรมเป็นที่พึ่งอัน ล้ำเลิศยิ่งประมาณ พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง อันไพศาล และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอัน อุดมยิ่งประมาณของข้าพเจ้านี้ ด้วยอานุภาพอันอุดมดีพิเศษ สูงสุดของพระรัตนตรัย ขออย่าให้หมู่มารได้โอกาสทุกเมื่อไป เทอญ ฯ

    นอกจากคำกรวดน้ำทั้ง ๓ แบบตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีคำกรวดน้ำอีกแบบหนึ่ง เป็น พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ เรียก ปัตติทานคาถา ดังนี้

    ปุญฺสฺสิทานิ กตสฺส ยานญฺานิ กตานิ เม

    เตสญฺจ ภาคิโน โหนฺตุ สตฺตานนฺตาปฺปมาณกา

    เย ปิยา คุณวนฺตา จ มยฺหํ มาตาปิตาทโย

    ทิฏฺฐา เม จาปฺยทิฏฺฐา วา อญฺเ มชฺฌตฺตเวริโน

    สตฺตา ติฏฺฐนฺติ โลกสฺมึ เตภุมฺมา จตุโยนิกา

    ปญฺเจกจตุโวการา สํสรนฺตา ภวาภเว

    าตํ เย ปตฺติทานมฺเม อนุโมทนฺตุ เต สยํ

    เย จิมํ นปฺปชานนฺติ เทวา เตสํ นิเวทยุํ

    มยา ทินฺนาน ปุญฺานํ อนุโมทนเหตุนา

    สพฺเพ สตฺตา สทา โหนฺตุ อเวรา สุขชีวิโน

    เขมปฺปทญฺจ ปปฺโปนฺตุ เตสาสา สิชฺฌตํ สุภา.

    คำแปล
    สัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ จงเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญอันข้าพเจ้าทำแล้ว ณ บัดนี้ ด้วย แห่งบุญทั้งหลายอื่นอันข้าพเจ้าทำแล้วด้วย เหล่าใดเป็นที่รักและมีคุณ มีมารดาและบิดา ของข้าพเจ้าเป็นต้น เหล่าที่ข้าพเจ้าเห็นแล้ว หรือแม้ที่ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น แล้วเหล่าอื่น ที่เป็น ผู้มัธยัสถ์เป็นปานกลางและเป็นผู้มีเวร สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในโลก เป็นไปในภูมิสาม เป็นไป ในกำเนิดสี่ มีขันธ์ห้า มีขันธ์หนึ่ง มีขันธ์สี่ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยและภพใหญ่ ความให้ส่วนบุญ ของข้าพเจ้าอันสัตว์ทั้งหลายเหล่าใดรู้แล้ว สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จงอนุโมทนาเองเถิด ส่วนสัตว์ ทั้งหลายเหล่าใดยังไม่รู้ซึ่ง ความให้ส่วนบุญของข้าพเจ้านี้ ขอเทพยดาทั้งหลาย พึงบอกแก่สัตว์ ทั้งหลายเหล่านั้นให้รู้ (แล้วอนุโมทนา) เพราะเหตุคืออนุโมทนาซึ่งบุญทั้งหลายอันข้าพเจ้าได้ให้แล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร เป็นผู้ดำรงชีพโดยสุขทุกเมื่อเถิด จงถึงซึ่งบทอันเกษม คือพระนิพพาน ขอความปรารถนาที่ดีงามของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นจงสำเร็จ เถิด ฯ


    ขอขอบคุณที่มาคะhttp://www.dhammathai.org/practice/main.php





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน