นอนอย่างไรเพื่อเกื้อกูลในการปฏิบัติธรรม

กระทู้: นอนอย่างไรเพื่อเกื้อกูลในการปฏิบัติธรรม

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว Praw

    Praw said:

    Red face นอนอย่างไรเพื่อเกื้อกูลในการปฏิบัติธรรม

    สวัสดีค่ะ สหายธรรมทุกท่าน

    วันนี้ก่อนจะเข้านอน...... ขอสักหนึ่งคำถามนะค่ะ
    เอาเป็นเกี่ยวกับเรื่องการนอนละกานนะค่ะ





    เราควรนอนอย่างไร เพื่อให้เกื้อกูลต่อการปฏิบัติธรรมดีอะค่ะ อิอิ....
    การนอนอย่างคนมีสติกับคนนอนอย่างไม่มีสติสามารถบ่งบอกด้วยท่านอนนี้ได้มัยค่ะ
    ในพุทธศาสนาเราได้มีการกล่าวถึงเกี่ยวกับการนอน หรือท่านอนไว้บ้างหรือป่าวค่ะ
    อย่างพระพุทธเจ้า ท่านอนพระองค์ทรงมีท่าเดียวหรือเปล่าค่ะ
    คือส่วนใหญ่เราจะเห็นรูปของพระพุทธเจ้าส่วนใหญ่จะนอนตะแคง
    แสดงว่าการนอนตะแคงนี้คงจะดีกว่าท่านอนในท่าอื่น ๆ หรือเปล่าค่ะ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Praw : 06-25-2013 เมื่อ 10:44 PM

     
  2. รูปส่วนตัว chocobo

    chocobo said:
    กราบสวัสดีคุณพาวคับ

    การนอนที่คุณพาวหมายถึง น่าจะหมายถึงขณะที่กำลังอยู่ในอิริยาบถนอน แล้วยังไม่หลับ ใช่ไหมครับ เพราะหากหลับเสียแล้ว จิตเป็นภวังค์ ขณะนั้น เจริญสติปัฏฐานย่อมไม่ได้ เพราะไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้ เป็นภวังค์ตลอดสาย ไม่รู้สึกตัว

    แต่ขณะใดที่กำลังอยู่ในอิริยาบถนอน แล้วยังไม่หลับ ก็ยังมีจิตที่รู้สภาพธรรมต่างๆที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยังคงปรากฏเป็นโลก 6 โลก 6ทวารอยู่อย่างปรกติ เพราะยังไม่หลับ คือยังไม่ใช่ภวังค์ตลอดสายเหมือนเวลาหลับสนิท

    ฉะนั้นก็อย่างที่เคยได้เรียนให้ทราบแล้วว่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทำอะไร เมื่อไหร่ ไม่พ้นไปจากโลก 6 โลก คือ โลกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ไม่พ้นจริงๆ อยู่ที่ไหนก็เหมือนกัน จะอยู่บนอากาศ อยู่ใต้น้ำ อยู่บนบก อยู่ในอิริยาบถอะไรๆที่สมมติเอา แม้แต่ตอนอยู่ในอิริยาบถที่สมมติเรียกกันว่านอน ขณะนั้นพ้นไปจากสภาพธรรมที่ปรากฏทางทวารทั้ง 6 หรือเปล่าครับ? ก็ไม่พ้น

    เพราะฉะนั้น แต่ละขณะจิต ไม่เคยพ้นไปจากปรมัตถธรรมเลย แล้วอะไรคืออารมณ์ของสติปัฏฐาน ก็คือปรมัตถธรรม ได้แก่ รูปที่ปรากฏทางตา เสียงที่ปรากฏทางหู กลิ่นที่ปรากฏทางจมูก รสที่ปรากฏทางลิ้น โผฏฐัพพะที่ปรากฏทางกาย ธรรมารมณ์ที่ปรากฏทางใจ (ก็คือ รูป จิต เจตสิก เว้นบัญญัติธรรม เพราะบัญญัติไม่มีลักษณะของปรมัตถธรรมปรากฏ) ซึ่งสติก็ต้องระลึกให้ "ตรง" ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ แล้วทราบว่าเป็นเพียงธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เพื่อไถ่ถอนความยึดมั่นถือมั่นว่ามีเรา เพื่อละสักกายทิฏฐิ

    ขณะที่กำลังนอนอยู่(ยังไม่หลับ) ก็ไม่ต่างไปจากขณะที่กำลังยืนอยู่ ไม่ต่างไปจากขณะที่กำลังนั่งอยู่ ไม่ต่างไปจากขณะที่กำลังเดินอยู่ ไม่ต่างไปจากขณะที่กำลังทำงาน ไม่ต่างไปจากขณะที่กำลังพูดเจรจาปราศัย เพราะกำลังมีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็มีอารมณ์ปรากฏ ทั้งปรมัตถ์ ทั้งบัญญัติ เกิดดับสลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ต้องเพิกอิริยาบถ คือทิ้งเรื่องอิริยาบถไปเลยจริงๆ ไม่ต้องคำนึงถึงว่ากำลังทำอะไรอยู่ กำลังซักผ้า รีดผ้า หรืออยู่ที่ไหนก็ตาม
    คือละสมมติบัญญัติทั้งหมดออก แล้วรู้ชัดจริงๆ ให้ "ตรง" ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถ์ที่กำลังปรากฏ เพราะตามความเป็นจริง อิริยาบถไม่มี ไม่มีเราที่กำลังนั่ง กำลังยืน กำลังเดิน กำลังนอน มีแต่สภาพธรรมะที่ปรากฏทางทวารทั้ง 6 มีเท่านี้ เท่านี้จริงๆ นอกนั้นแล้วเป็นสมมติบัญญัติ ที่ปกปิด กำบัง ปกคลุม ปิดบัง ลักษณะของปรมัตถธรรม ทำให้รู้สึกว่ามีโลกทั้งใบกลมๆ มีคนนั้นคนนี้ มีดอกไม้ใบหญ้า มีภูเขา มีแม่น้ำ มีโน่น นี่ นั่น เต็มไปหมด และก็มีเรา มีตัวตน มีของๆเรา มีตัวตนของเรา ที่เป็นสักกายทิฏฐิ

    วันทั้งวัน เราอยู่ในโลกของบัญญัติ ที่ปกปิดกำบังปรมัตถ์ไว้ เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน ต้องระลึกรู้ลักษณะของปรมัตถ์ จึงต้องเพิกอิริยาบถ เอาสมมติบัญญัติออก แล้วระลึกที่ลักษณะจริงๆที่กำลังปรากฏ

    เช่นขณะที่นอน ขณะนั้นอะไรปรากฏ ทางตาเห็นอะไรไหม แม้จะปิดตาแล้ว ยังมีสีดำๆ มืดๆ ไหม ที่กำลังปรากฏทางตา หูได้ยินเสียงอะไรไหม จมูกได้กลิ่นไหม ลิ้นรู้รสไหม กายรู้แข็งไหม ใจรู้ธรรมารมณ์ไหม มีอาการง่วงหงาวหาวนอนไหม หรือกำลังคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ไหม ก็เกิดสติ ระลึกให้ "ตรง" ในลักษณะของปรมัตถธรรมนั้นๆ ตามความเป็นจริง จนกว่าจะรู้ว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน ไม่ใช่เรา และไม่มีเรา

    ------------

    นอนอย่างคนมีสติ ก็ต่างกับนอนอย่างไม่มีสติอย่างไร ก็ต่างกันด้วยว่า ไม่ว่าจะนอนท่าไหนก็ตาม

    นอนอย่างมีสติ คือการเจริญสติปัฏฐาน รู้ลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ปล่อยเวลาก่อนที่จะหลับให้เสียเปล่า
    ถ้านอนอย่างไม่มีสติ ก็คือนอนอย่างปุถุชนทั่วไป ไมไ่ด้เจริญสติปัฏฐาน ก็คือนอนแล้วก็คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องนั้นบ้างเรื่องนี้บ้างจนกว่าจะหลับ

    ------------------

    ส่วนอิริยาบถท่านอนแล้ว ปรกติพระพุทธองค์ทรงสำเร็จด้วยสีหไสยาสน์

    ซึ่งเรื่องการนอน คิดว่าสองเว็ปนี้น่าจะเป็นประโยชน์ครับ

    http://www.dhammahome.com/front/webb...w.php?id=15108

    http://www.kanlayanatam.com/sara/sara28.htm



    กราบอนุโมทนาครับ



    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย chocobo : 06-26-2013 เมื่อ 02:13 PM
     
  3. รูปส่วนตัว Praw

    Praw said:
    ขออนุโมทนาและขอขอบพระคุณในคำตอบคุณโจ๋ด้วยนะค่ะ

    ขอยกประโยคเด็ดประทับใจมาสักหน่อยนะค่ะ อ่านตรงนี้เก๊ตเลย


    การนอนที่คุณพาวหมายถึง น่าจะหมายถึงขณะที่กำลังอยู่ในอิริยาบถนอน แล้วยังไม่หลับ ใช่ไหมครับ
    เพราะหากหลับเสียแล้ว จิตเป็นภวังค์ ขณะนั้น เจริญสติปัฏฐานย่อมไม่ได้
    เพราะไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้ เป็นภวังค์ตลอดสาย ไม่รู้สึกตั
    พอดีพราวอ่านเจอที่เขาพูดถึงการนอนในแบบต่าง ๆ มาด้วย
    ขอยกมาไว้ซะที่นี่เลยล่ะกันนะค่ะ อิอิ....


    ไสยาสน์การนอน ๔
    ๑. กามโภคีไสยาสน์ การนอนของบุคคลผู้บริโภคกามคุณ (คือนอนตะแคงข้างซ้าย)
    ๒. เปตไสยาสน์ การนอนของเปรต (คือนอนหงาย)
    ๓. สีหไสยาสน์ การนอนของราชสีห์ (คือนอนตะแคงข้างขวา)
    ๔. ตถาคตไสยาสน์ การบรรทมของพระตถาคตเจ้า (ทรงบรรทมตะแคงข้างขวา)

    บุคคลผู้บริโภคกามคุณ ชอบนอนตะแคงข้างซ้าย คือนอนทับแขนซ้ายของตนเอง นอนตะแคงข้างขวาไม่ถนัดนี้เป็นส่วนมาก
    แต่ท่านก็ไม่ปฏิเสธว่า ผู้บริโภคกามคุณนอนตะแคงข้างขวาไม่ได้ ฯ

    เปรต ชอบนอนหงาย เพราะว่าเปรตมีรูปร่างผอม ร่างเต็มไปด้วยกระดูก นอนตะแคงไม่ได้ คงจะเจ็บปวด หรืออย่างไรในทำนองนี้
    จึงได้นอนหงาย คนที่นอนหงาย จึงถูกหาว่า นอนเหมือนเปรต ฯ

    ราชสีห์ นอนเรียบร้อย ไม่ดิ้น ที่สุดแม้พลิกตัวหรือเคลื่อนที่ก็ไม่มี ถึงหากจะมีก็ต้องพลิกหรือเคลื่อนด้วยความรู้สึก
    วิธีนอนท่านกล่าวว่า เวลาจะนอนทอดตัวลงแล้ว ชะโงกศีรษะมองดูท้าวหน้า เท้าหลังตลอดถึงหางก่อนว่าวางไว้อย่างไรแล้ว
    จึงทอดศีรษะลงเบื้องบนเท้าหน้าทั้งสองสำเร็จการนอนต่อไป เวลาตื่นก็ชะโงกศีรษะขึ้นตรวจดูที่วางของเท้าหน้าเท้าหลังและหางก่อน
    ถ้าเรียบร้อยดีไม่เคลื่อนที่จึงลุกขึ้นเปล่งสีหนาทแล้วออกหากิน ถ้าไม่เรียบร้อยก็ลงโทษตัวเอง คือนอนต่อไปอีก ไม่ออกหากิน จนเห็นการนอนเป็นที่เรียบร้อย
    ผู้ที่นอนเรียบร้อยดี ก็จัดว่าเป็นสีหไสยาสน์ นอนเหมือนพระยาไกรสรราชสีห์ ฯ

    พระตถาคต ทรงบรรทมตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีพระสติสัมปชัญญะในการบรรทม อีกอย่างหนึ่งการบรรทมของพระตถาคตเจ้านี้บางอาจารย์ท่านเรียกว่า
    "จตุตถไสยาสน์" พึงทราบว่าการบรรทมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นแล ชื่อว่าตถาคตไสยาสน์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Praw : 06-27-2013 เมื่อ 11:27 AM

     
  4. รูปส่วนตัว chocobo

    chocobo said:
    สาธุคับ กราบอนุโมทนาคุณพาวด้วยคับ _/\_
     
  5. รูปส่วนตัว Praw

    Praw said:
    ขอสงสัยต่ออีกหน่อยนะค่ะ อิอิ..... พอดีอยู่ ๆ ฟามคิดกะปุ๊ดๆๆๆ ขึ้นมานะค่ะ



    ขณะที่จิตเราลงภวังค์แล้ว ทำมัยร่างกายเราถึง กรนเสียงดังเสียงเบาได้ พลิกตัวไปมาได้ ขยับแข้งขาได้ ฮ่าๆๆๆ
    โดยที่ไม่รู้สึกตัว จิตเราก็อยู่ในภวังค์ตลอดสาย แล้วเอาจิตอะไรที่ทำให้อาการต่าง ๆ นี้ถึงได้เป็นแบบนี้อะค่ะ
    แต่เอ๋......... ขณะที่เรากรนเสียงดังนั้นอะ ทำมัยหูเราถึงไม่ได้ยินเสียงที่เรากรนอะคะ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Praw : 06-27-2013 เมื่อ 08:07 PM

     
  6. รูปส่วนตัว chocobo

    chocobo said:
    ก็เหมือนคำถามที่คุณพาวเคยถามเรื่องฝันน่ะคับ เพราะคนเราไม่ได้เป็นภวังค์อย่างเดียวยาวๆ แต่มีฝันด้วย ซึ่งเป็นมโนทวารวิถีจิต

    ขณะที่เป็นมโนทวารวิถีจิตในฝันนั่นเอง เป็นปัจจัยให้มีการขยับ พลิกตัวไปมา ต่างๆ เพราะเหตุว่าการปรับเปลี่ยนอิริยาบถน้อยใหญ่ได้ ต้องอาศัยมโนทวารวิถีที่เป็น ชวนวิถี คือ มีกำลังพอที่จะทำให้เกิดจิตตัชรูปที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไป ไหวไปตามที่ต้องการ ซึ่งภวังค์จิต ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตัชรูปประเภทนี้ (แต่ภวังค์จิตเองก็เป็นปัจจัยให้จิตตัชรูปอื่นๆเกิดได้ เช่น การเต้นหัวใจ เป็นต้น)

    ส่วนการกรน ก็อาศัยระบบหายใจไม่ดีบ้าง อาศัยที่ร่างกายขณะหลับผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆแล้ว เพราะลักษณะของช่องลมที่หายใจเป็นอย่างนั้น เมื่อหายใจจึงเกิดเสียงกรน ก็ไม่ใช่เพราะจิต แต่เป็นอุตุชรูป ที่เกิดเพราะอาศัยลมหายใจ ที่เป็นจิตตัชรูป น่ะครับ แต่ตัวเสียงกรนไม่ใช่จิตตัชรูป แต่เป็นอุตุชรูปที่เกิดเพราะมีลมหายใจที่เป็นจิตตัชรูปเป็นปัจจัย




     
  7. รูปส่วนตัว Praw

    Praw said:


    ฮ่าๆๆๆๆ อุ๋ยต๊าย!!!! อายจัง อิอิ... ถามมาก ๆ ชักได้หน้าลืมหลังแว้วววค่ะเนีย อิอิ....
    คุณโจ๋กะอย่าเพิ่งเบื่อกานไปซะก่อนนะค่ะ

    แต่ก็ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา คุณโจ๋อีกครั้งนะค่ะ อิอิ...
    แต่พราวกะเพิ่งจะรู้นะค่ะ ว่าการที่แค่เราพลิกตัวแค่เนีย
    นั้นคือ จิตเหมือนเราฝันแบบนี้ ขึ้นมโนทวารวิถีจิตเป็นชวนวิถีด้วย
    แบบนี้แสดงว่า การที่เราหลับ เราก็มีทั้งขณะหลับสนิท
    และเหมือนฝันสลับกันไปตลอดทั้งคื่น แต่ส่วนใหญ่จะเหมือนฝันซะมากกว่าจิตลงภวังค์พักจิง ๆ เนาะ

     
  8. รูปส่วนตัว chocobo

    chocobo said:
    กราบอนุโมทนาสาธุคับคุณพาว

    จิตแบ่งเป็นสองประเภท คือ จิตที่เป็นวิถี และจิตที่ไม่ได้เป็นวิถี

    จิตที่เป็นวิถี คือจิตที่เป็นไปในการรู้อารมณ์ตามทวารทั้ง 6
    ส่วนจิตที่ไมไ่ด้เป็นวิถี คือจิตที่กระทำกิจ ภวังค์ จุติ ปฏิสนธิ

    ขณะที่จิตมีลักษณะที่ชาวโลกเรียกว่า การฝัน ขณะนั้นก็เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วครับว่า ต่างจากภวังค์ เพราะลักษณะของภวังค์ ไม่ใช่ขณะที่ฝัน เพราะไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้ และขณะที่ฝัน มีอาการรู้บัญญัติเรื่องราวยาวๆ เสมือนกำลังอยู่ในโลกปรกติ ที่มีการเห็นนู่นเห็นนี่ ได้ยินนั่นได้ยินนี่ เป็นเรื่องราวยาวๆ มีโลภะด้วย ถ้าฝันแล้วสนุก เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นแล้วว่า จิตขณะนั้น ต้องขึ้นวิถีจิต ต้องมีชวนวิถี ไม่อย่างนั้นเสพอารมณ์ รู้อารมณ์นั้นๆไม่ได้ และเมื่อขณะที่ฝัน สีไม่ได้ปรากฏทางจักขุทวาร เสียงไม่ได้ปรากฏที่โสตทวาร ฯลฯ ดังนั้น ขณะที่ฝัน จิตเป็นมโนทวารวิถียาวๆ นั่นเองครับ

    ก็เกิดดับสลับกับภวังค์ กลับไปกลับมา หรืออาจจะมีบางครั้งก็รู้อารมณ์ทางปัญจทวารวิถีเพียงแว้บเดียว แล้วก็กลายเป็นมโนทวารวิถียาวๆต่อ เช่น บางคนนอนแล้วฝนตกฟ้าร้อง ก็อาจจะฝันถึงว่าฝนกำลังตกฟ้าร้องโครมคราม เพราะปัญจทวารวิถีอาจจะรับรู้เสียงฟ้าร้องแว้บนึง หรือรับรู้สีแว้บๆสว่างๆของฟ้าแลบแว้บนึง แล้วก็ขึ้นมโนทวารวิถียาวๆต่อไป กลายเป็นฝันถึงว่าฝนกำลังตกฟ้ากำลังร้อง