ฐานพิสดาร25

กระทู้: ฐานพิสดาร25

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว oubasika

    oubasika said:

    ฐานพิสดาร25

    สวัสดีค่ะพี่เดฟและสหายธรรมทุกๆท่านค่ะ มีเรื่องอยากถามนิดนะค่ะ เรื่องฐานพิสดาร25
    ภวังคฐาน นะค่ะ ทำไมถึงมีตั้ง6ฐานค่ะ ที่แสดงไว้ตั้ง6ฐาน มีเป็นวาระๆ ใช่ป่าวค่ะ เช่น

    ฐานที่1 ระหว่าง ปฏิสนธิจิต กับ อาวัชชนจิต (ป-อา) วาระใหนค่ะ กาลใหนค่ะ
    ฐานที่2 ระหว่าง ตทารัมมณจิต กับ อาวัชชนจิต (ต-อา) ,,
    ฐานที่3 ระหว่าง ชวนจิต กับ อาวัชชนจิต (ช-อา) ,,
    ฐานที่4 ระหว่าง โวฏฐัพพนจิต กับ อาวัชชนจิต (โว-อา) ,,
    ฐานที่5 ระหว่าง ตทารัมมณจิต กับ จุติจิต (ต-จุ) ,,
    ฐานที่6 ระหว่าง ชวนจิต กับ จุติจิต (ช-จุ) ,,

    แล้วทำไมแต่ละวาระมีภวังค์ไม่เท่ากันค่ะ^^'
    อยากทราบค่ะ แต่ยังมีความเข้าใจน้อยอยู่ อาจจะถามไม่ถูกนะค่ะ แต่ขอเริ่มตรงจุดนี้ก่อนนะค่ะ
    ขอบคุณค่ะ
    ^^


    อุบาสิกา


    *กิจโฉ มนุสสปฏิลาโภ การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นแสนยากส์
    *


     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    การแสดงฐานของกิจอย่างพิสดารนี้
    เ็ป็นการแสดงตามวิถีจิตน่ะครับ
    ดังนั้น การจะเข้าใจได้ชัดเจน
    ก็ควรเข้าใจเรื่องของวิถีจิตด้วย
    ว่าในวิถีจิตนั้นมีจิตใดเกิดขึ้นบ้าง
    เรียงไปตามลำดับอย่างไร ซึ่งหากสนใจศึกษา
    ก็ลองหาผังวิถีจิตที่เคยลงไว้มาดูประกอบกันนะครับ
    จะมีวิถีจิตที่เป็นทางปัญจทวารวิถี 17 ขณะ
    กับ มโนทวารวิถี 12 ขณะน่ะครับ

    สำหรับ ภวังคฐาน มี 6 ฐาน
    เป็นการแสดงให้เห็นถึงขณะที่มีจิตซึ่งทำภวังคกิจเกิดขึ้นน่ะัครับ
    ก็คือ...

    1. ปฏิสนธิจิต....ภวังคจิต...อาวัชชนจิต
    หมายความว่า หลังจากปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป
    จิตดวงที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิตจะต้องเป็นภวังคจิต
    ซึ่งจะเป็นภวังคจิตเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆๆๆ
    จนกว่าจะมีการรับรู้อารมณ์เกิดขึ้น จึงจะมีวิถีจิตเกิดขึ้น
    ซึ่งวิถีจิตแรกของการเกิดแต่ละภพชาตินั้น จะเป็นทางมโนทวาร
    จึงมีอาวัชชนจิตเกิดขึ้น (มโนทวาราวัชชนจิต)
    ดังนั้น ภวังคจิตจึงเกิดขึ้นทำภวังคกิจระหว่าง ปฏิสนธิจิต กับ อาวัชชนจิต

    2. ตทาลัมพนจิต...ภวังคจิต...อาวัชชนจิต
    หมายความว่า ทางปัญจทวารวิถี หรือมโนทวารวิถีก็ได้
    มีวิถีจิตเกิดขึ้นและสิ้นสุดที่ ตทาลัมพนจิต...จบ....จากนั้นจะขึ้นวิถีใหม่
    ซึ่งจิตแรกที่เกิดขึ้นในแต่ละวิถีนั้น จะต้องเป็นอาวัชชนจิต
    (หากเป็นทางปัญจทวารก็จะเป็น ปัญจทวาราวัชชนจิต)
    (หากเป็นทางมโนทวารก็จะเป็น มโนทวาราวัชชนจิต)
    แต่ก่อนจะขึ้นวิถีใหม่ จะต้องมีภวังคจิตเกิดคั่นก่อน
    ดังนั้น ภวังคจิตจึงเกิดขึ้นทำภวังคกิจระหว่าง ตทาลัมพนจิต กับ อาวัชชนจิต

    3. ชวนจิต...ภวังคจิต...อาวัชชนจิต
    หมายความว่า ทางปัญจทวารวิถี หรือมโนทวารวิถีก็ได้
    สิ้นสุดลงที่ ชวนจิต...จบ...จากนั้นจะขึ้นวิถีใหม่
    ซึ่งจิตแรกที่เกิดขึ้นในแต่ละวิถีนั้น จะต้องเป็นอาวัชชนจิต
    (หากเป็นทางปัญจทวารก็จะเป็น ปัญจทวาราวัชชนจิต)
    (หากเป็นทางมโนทวารก็จะเป็น มโนทวาราวัชชนจิต)
    แต่ก่อนจะขึ้นวิถีใหม่ จะต้องมีภวังคจิตเกิดคั่นก่อน
    ดังนั้น ภวังคจิตจึงเกิดขึ้นทำภวังคกิจระหว่าง ชวนจิต กับ อาวัชชนจิต

    4. โวฏฐัพพนจิต...ภวังคจิต...อาวัชชนจิต
    หมายความว่า ทางปัญจทวารวิถี
    มีวิถีจิตเกิดขึ้นและสิ้นสุดที่ โวฏฐัพพนจิต...จบ....จากนั้นจะขึ้นวิถีใหม่
    ซึ่งจิตแรกที่เกิดขึ้นในแต่ละวิถีนั้น จะต้องเป็นอาวัชชนจิต
    (หากเป็นทางปัญจทวารก็จะเป็น ปัญจทวาราวัชชนจิต)
    (หากเป็นทางมโนทวารก็จะเป็น มโนทวาราวัชชนจิต)
    แต่ก่อนจะขึ้นวิถีใหม่ จะต้องมีภวังคจิตเกิดคั่นก่อน
    ดังนั้น ภวังคจิตจึงเกิดขึ้นทำภวังคกิจระหว่าง โวฏฐัพพนจิต กับ อาวัชชนจิต

    5. ตทาลัมพนจิต...ภวังคจิต...จุติจิต
    หมายความว่า ทางปัญจทวารวิถี หรือมโนทวารวิถีก็ได้
    มีวิถีจิตเกิดขึ้นและสิ้นสุดที่ ตทาลัมพนจิต...จบ
    จากนั้นจะตายแล้ว...คือจะเป็นจุติจิตซึ่งเป็นจิตดวงสุดท้ายของภพชาติ
    ภวังคจิตก็เกิดต่อจากตทาลัมพนจิต ก่อนที่จะเป็นจุติจิตน่ะครับ

    6. ชวนจิต...ภวังคจิต...จุติจิต
    หมายความว่า ทางปัญจทวารวิถี หรือมโนทวารวิถีก็ได้
    มีวิถีจิตเกิดขึ้นและสิ้นสุดที่ ชวนจิต...จบ
    จากนั้นจะตายแล้ว...คือจะเป็นจุติจิตซึ่งเป็นจิตดวงสุดท้ายของภพชาติ
    ภวังคจิตก็เกิดต่อจากชวนจิต ก่อนที่จะเป็นจุติจิตน่ะครับ

    สรุปแล้วก็คือ
    ในระหว่างจิตต่างๆ ดังที่แสดงไว้ มีภวังคจิตเกิดขึ้นทำภวังคกิจ
    เมื่อรวมแล้วจึงมี 6 ฐาน

    และให้ทราบว่า...ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และ จุติจิต
    ทั้ง 3 นี้ก็คือจิตประเภทเดียวกัน เพียงแต่ทำกิจต่างกัน
    เช่น ติ๊ต่างว่าเราเกิดมาด้วยมหากุศลวิบากจิตดวงที่ 1
    มหากุศลวิบากจิตดวงที่ 1 นี้ก็จะทำปฏิสนธิกิจ เป็นปฏิสนธิจิต
    และทำ ภวังคกิจ เป็นภวังคจิต...และทำ จุติกิจ เป็นจุติจิต นั่นเองครับ

    งง มั้ยครับ อย่างที่บอกน่ะครับว่า
    ถ้าจะไม่ให้งง ต้องเข้าใจเรื่องวิถีจิต
    ลำดับจิตที่เกิดขึ้นในวิถีจิตก่อน ถึงจะไม่งงน่ะครับ
    ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ละเอียดพอสมควร
    ถ้าหากยากไปอาจจะข้ามไปก่อนก็ได้น่ะครับ

    อนุโมทนาครับ





    เดฟ


    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 11-22-2013 เมื่อ 07:20 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  3. รูปส่วนตัว oubasika

    oubasika said:
    ใช่ค่ะพี่เดฟยากมาก แต่น่าสนใจ แล้วจะเข้าใจได้อย่างไรน๊อออ.

    คือเท่าที่แสดงไว้คือภวังคจิต ทำ ภวังคกิจ โดยมีภวังคฐานทั้งหมดแค่นี้ป่าวค่ะพี่เดฟ
    เป็นสูตรเลยป่าวค่ะ คือมีมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว หรือว่า ยังมีภวังคฐานได้มากกว่านี้อีก
    โดยไม่จำกัดแล้วแต่วาระของวิถีอื่นๆจะเกิดขึ้นอีก หรือว่าที่ยกมาทั้ง6ฐานนนี้ครอบคลุมหมดแล้วค่ะ
    คืออุบาสิกาก็พอมีแผนของวิถีจิตอยู่ แล้วจะเอาไปเทียบดูนะค่ะ แต่ยัง งง อยู่มากมาย จะค่อยๆทำความเข้าไปก่อนนะค่ะ
    เพราะเค้ามีแผนมาให้ แต่ไม่มีคำอธิบายรายละเอียดน้อยมาก ไม่ได้อธิบายอย่างที่พี่เดฟยกความหมายแต่ละข้อๆมาให้แบบนี้

    ในภวังคฐานที่1 (ป-อา)
    จุติจิตดับปุ๊บ..ปฏิสนธิจิตทำปฏิสนธิกิจปั๊บ
    ภวังคจิตเกิดขึ้นทำภวังคกิจทันที...........สืบต่อฯลฯ..........อาวัชชนจิต(ทางมโนทวาร )
    ภวังจิตเกิดขึ้นนานแค่ใหนไม่อาจรู้ได้ แต่นับเป็น1ฐาน ถูกต้องมั้ยค่ะ อิอิ

    จะถามต่อว่าในระยะภวังคจิตทำภวังคกิจอยู่นั้น รู้ระยะเวลามั้ยค่ะว่านานแค่ใหน(สงสัยๆ เผื่อมีกล่าวไว้) กว่าจะขึ้นสู่มโนทวารวิถี ที่มโนทวาราวัชชนจิตจะทำกิจอาวัชชนกิจได้
    เอาแค่ฐานแรกก่อน เดียวอุบาสิกาไปทำความเข้าใจประกอบภาพก่อนนะค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะพีเดฟที่กรุณาอธิบายให้ฟัง พื้นฐานๆ แต่สนใจจริงๆค่ะ

    เอ...แต่เห็นแว่บๆนะค่ะข้อ4 ฐานที่4
    โวฏฐัพพนจิตทำโวฏฐัพพนกิจ ได้แค่ทางปัญจทวารหรอค่ะ แล้วเกิดขึ้นทำกิจทางมโนทวารไม่ได้หรอค่ะ เหตุเพราะอะไรน๊ออ
    ขอบคุณค่ะูููู ^^






    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย oubasika : 08-15-2013 เมื่อ 07:09 PM


    *กิจโฉ มนุสสปฏิลาโภ การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นแสนยากส์
    *


     
  4. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    งี้ละกันครับ

    ก่อนอื่นให้เข้าใจแบบนี้ก่อนว่า
    ภวังคจิตนี้เป็นจิตที่เกิดดับสืบต่อเพื่อรักษาภพชาติ
    ดำรงชีวิตของบุคคลนั้นๆ ไว้...ไม่ให้ตาย

    ดังนั้น ภวังคจิตจึงเป็นจิตที่เป็นพื้นของเราทุกคน
    คือหลังจากที่ปฏิสนธิจิตนำเกิดแล้ว
    ก็จะต้องเป็นภวังคจิตนี้แหละที่เกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ

    ปฏิสนธิจิตและภวังคจิตนี้เป็นวิบากจิต
    เป็นผลจากกรรมเดียวกัน

    เมื่อกรรมนั้นนำให้เกิด
    กรรมนั้นเองก็หล่อเลี้ยงให้ดำรงชีวิตไว้

    แต่ว่า...เราทุกคนไม่ได้มีแค่กรรมนั้นอย่างเดียว
    เรายังมีกรรมอื่นๆ อีกมากมายที่ให้ผล
    จึงมีกรรมที่ทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส
    ในสิ่งที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง
    และก็ยังมีการกระทำกรรมใหม่
    เป็นการนึกคิด พูด กระทำ ที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง อีกด้วย

    ดังนั้น ขณะใดที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส
    นึกคิด พูด กระทำ ก็จะเป็นวิถีจิตที่เกิดขึ้น
    ทางปัญจทวารบ้าง ทางมโนทวารบ้าง
    ซึ่งขณะใดที่เป็นวิถีจิต ขณะนั้นไม่ใช่ภวังคจิต

    สรุปก็คือ จิตของเราทุกคนหลังจากปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว
    จะต้องเป็นภวังคจิตเกิดดับสืบต่อกันไปไม่ขาดเลย
    จนกว่า...จะมีการรับรู้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น
    มีการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส นึกคิด พูด กระทำ เกิดขึ้น
    ก็จะไหวจากภวังคจิต...เกิดเป็นวิถีจิตที่รับรู้สิ่งต่างๆ นั่นเองครับ
    และเมื่อสิ้นสุดวิถีจิตแต่ละวาระแล้ว ก่อนจะขึ้นวิถีจิตวาระใหม่
    ก็จะต้องมีภวังคจิตแทรกอยู่เสมอ

    ทีนี้ วิถีจิตนั้นก็มีทั้งที่ไปสิ้นสุดที่ตทาลัมพนจิตบ้าง
    สิ้นสุดที่ชวนจิตบ้าง สิ้นสุดที่โวฏฐัพพนจิตบ้าง
    ดังนั้น อย่างที่บอกน่ะครับว่า เมื่อสิ้นสุดวิถีจิตแต่ละวาระ
    ก็จะต้องมีภวังคจิตคั่นทุกครั้ง แล้วจึงจะขึ้นวิถีจิตใหม่
    พอขึ้นวิถีจิตใหม่ ก็จะเป็น อาวัชชนจิต นั่นเองครับ
    เพราะอาวัชชนจิตจะเป็นจิตดวงแรกเวลาที่ขึ้นสู่วิถีจิต

    ดังนั้น ฐานของกิจทั้ง 6 นั้น จึงครอบคลุมหมดแล้วน่ะครับ
    เพราะเป็นการจำแนกให้เห็นว่า
    ภวังคจิตแทรกคั่นแต่ละวิถีจิตยังไงบ้าง
    ระหว่างจิตที่สิ้นสุดวิถี...กับจิตที่ขึ้นสู่วิถี
    รวมทั้งขณะหลังปฏิสนธิและก่อนจุติด้วยครับ




    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  5. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    ในภวังคฐานที่1 (ป-อา)
    จุติจิตดับปุ๊บ..ปฏิสนธิจิตทำปฏิสนธิกิจปั๊บ
    ภวังคจิตเกิดขึ้นทำภวังคกิจทันที...........สืบต่อฯลฯ..........อาวัชชนจิต(ทางมโนทวาร )
    ภวังจิตเกิดขึ้นนานแค่ใหนไม่อาจรู้ได้ แต่นับเป็น1ฐาน ถูกต้องมั้ยค่ะ อิอิ

    ถูกต้องครับ



    จะถามต่อว่าในระยะภวังคจิตทำภวังคกิจอยู่นั้น รู้ระยะเวลามั้ยค่ะว่านานแค่ใหน(สงสัยๆ เผื่อมีกล่าวไว้) กว่าจะขึ้นสู่มโนทวารวิถี ที่มโนทวาราวัชชนจิตจะทำกิจอาวัชชนกิจได้
    เอาแค่ฐานแรกก่อน เดียวอุบาสิกาไปทำความเข้าใจประกอบภาพก่อนนะค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะพีเดฟที่กรุณาอธิบายให้ฟัง พื้นฐานๆ แต่สนใจจริงๆค่ะ

    หลังจากปฏิสนธิจิตดับไป
    ภวังคจิตดวงแรกที่เกิดสืบต่อเรียกว่า ปฐมภวังค์
    หลังจากนั้นภวังคจิตก็เกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ
    จนกว่าวิถีจิตแรกคือมโนทวารวิถีจะเกิดขึ้น
    ซึ่งสามารถเกิดได้หลังจากภวังคจิต 15 ขณะเป็นต้นไป

    ทว่า...เราไม่อาจทราบได้เลยว่า เป็นต้นไปนั้นน่ะ...คือเท่าไหร่
    เพราะภวังคจิตเกิดดับสืบต่อมากมายสุดคณานับ (และไม่ควรคิดจะนับ)
    เพราะประเด็นสำคัญไม่ใช่การนับภวังคจิตน่ะครับ

    ดังที่ทราบแล้วว่า
    ขณะที่เป็นภวังคจิตเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ นั้น
    ก็คือขณะที่หลับสนิทจริงๆ ไม่ฝันใดๆ นั่นเอง
    เป็นภวังคจิตเกิดดับสืบต่อกันไปทั้งคืน
    ส่วนที่ภวังคจิตเกิดคั่นแต่ละวิถีจิตนั้นก็มากมาย
    แต่การเกิดดับของจิตก็รวดเร็วจนไม่อาจรู้ได้เลย




    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  6. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    เอ...แต่เห็นแว่บๆนะค่ะข้อ4 ฐานที่4 โวฏฐัพพนจิตทำโวฏฐัพพนกิจ ได้แค่ทางปัญจทวารหรอค่ะ แล้วเกิดขึ้นทำกิจทางมโนทวารไม่ได้หรอค่ะ เหตุเพราะอะไรน๊ออ
    ขอบคุณค่ะูููู ^^

    โวฏฐัพพนจิต เกิดทางปัญจทวารเท่านั้น
    ไม่เกิดทางมโนทวารครับ

    และที่จริงก็คือ
    มโนทวาราวัชชนจิต* นั้นเอง
    แต่ไปกระทำ โวฏฐัพพนกิจ ทางปัญจทวาร
    คือทำกิจตัดสินหรือกระทำทางให้ชวนจิตที่เกิดต่อจากนั้น
    เกิดขึ้นเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต

    เมื่อปัญจทวารวิถีดับไป...ภวังคจิตคั่น (หลายวาระ)...แล้วมโนทวารวิถีเกิดต่อ
    ถ้าชวนจิตในปัญจทวารวิถีเป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิต
    ชวนจิตในมโนทวารวิถีที่รับอารมณ์ต่อจากปัญจทวารวิถีนั้น
    ก็จะเป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิต ตามปัญจทวารวิถีนั้นด้วยน่ะครับ

    ต่อเมื่อมโนทวารวิถีวาระหลังๆ
    ก็อาจจะเปลี่ยนจากกุศลจิตเป็นอกุศลจิต
    หรือเปลี่ยนจากอกุศลจิตเป็นกุศลจิตได้

    (มโนทวาราวัชชนจิต ทำกิจได้ 2 กิจน่ะครับ)
    (คือทำ อาวัชชนกิจทางมโนทวาร เรียกว่า มโนทวาราวัชชนจิต)
    (และทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวาร เรียกว่า โวฏฐัพพนจิต)




    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  7. รูปส่วนตัว oubasika

    oubasika said:
    อืมมมค่ะ พอเข้าใจนิดๆแล้วค่ะ

    ที่พี่เดฟอธิบายว่า มีวิถีจิตเกิดขึ้นและสิ้นสุดที่ ตทาลัมพนจิต...จบ....จากนั้นจะขึ้นวิถีใหม่
    แต่ ทุกๆครั้ง ก่อนที่จะขึ้นวิถีใหม่ต้องมีภวังคจิตเกิดคั่นก่อนจึงเป็นปัจจัยให้ภวังคจิต มีฐานแต่ละฐาน แล้วจึงขึ้นสู่วิถีจิตใหม่ ทั้งสองทางได้ คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต/มโนทวาราวัชชนจิต ที่ทำอาวัชชนกิจ อืมค่ะความเข้าใจเริ่มเป็นแสงลอดตา-มดเข้ามาแล้วค่ะ อิอิ



    หลังจากปฏิสนธิจิตดับไป
    ภวังคจิตดวงแรกที่เกิดสืบต่อเรียกว่า ปฐมภวังค์
    หลังจากนั้นภวังคจิตก็เกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ
    จนกว่าวิถีจิตแรกคือมโนทวารวิถีจะเกิดขึ้น
    ซึ่งสามารถเกิดได้หลังจากภวังคจิต 15 ขณะเป็นต้นไป

    ทว่า...เราไม่อาจทราบได้เลยว่า เป็นต้นไปนั้นน่ะ...คือเท่าไหร่
    เพราะภวังคจิตเกิดดับสืบต่อมากมายสุดคณานับ (และไม่ควรคิดจะนับ)
    เพราะประเด็นสำคัญไม่ใช่การนับภวังคจิตน่ะครับ
    อ้อค่ะ ในส่วนนี้ ในแผนมีจำนวน16ขณะ ก็ยังว่าเอ๊ะ มีนับขณะได้แบบนี้ก็แสดงว่า
    ภวังคจิตต้องมีจำนวนที่นับได้ ทีนี้เข้าใจเลยค่ะ ถ้าพูดคลี่คลายให้แบบนี้
    คือ ตั้งแต่15หรือจะ16ขณะก็ตาม เป็นต้นไป ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเริ่มจากเป็นต้นไปนี้ จะไปจบแค่ตรงใหน
    จนกว่าจะขึ้นวิถีใหม่นั่นแหล่ะซึ่งก็ไม่ต้องไปใส่ใจให้เพียงรู้พอเนาะ เข้าใจแล้วค่ะ

    แล้วชวนจิตที่มีอยู่7ขณะ อันนี้พอทราบค่ะ ว่าเป็นการจำแนกอายุการส่งผลของกรรม คือ
    ชวนจิตขณะที่1 ส่งผลในชาตินี้
    ขณะที่2-6 ส่งผลตั้งแต่ชาติที่3 เป็นต้นไป
    ขณะที่7 ส่งผลในชาติที่หน้าหรือชาติที่2
    มีแค่นี้ใช่มั้ยค่ะความสำคัญของชวนจิต เพิ่มเติมได้นะค่ะ เป็นธรรมทานค่ะ อิิอิ
    แต่ที่ส่งสัยคือ ทำไม ตทาลัมพนถึงมีสองขณะค่ะ (ตต) ที่ต่อจากชวนวิถี นะค่ะ



    โวฏฐัพพนจิต เกิดทางปัญจทวารเท่านั้น
    ไม่เกิดทางมโนทวารครับ

    และที่จริงก็คือ
    มโนทวาราวัชชนจิต* นั้นเอง
    แต่ไปกระทำ โวฏฐัพพนกิจ ทางปัญจทวาร
    คือทำกิจตัดสินหรือกระทำทางให้ชวนจิตที่เกิดต่อจากนั้น
    เกิดขึ้นเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต

    เมื่อปัญจทวารวิถีดับไป...ภวังคจิตคั่น (หลายวาระ)...แล้วมโนทวารวิถีเกิดต่อ
    ถ้าชวนจิตในปัญจทวารวิถีเป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิต
    ชวนจิตในมโนทวารวิถีที่รับอารมณ์ต่อจากปัญจทวารวิถีนั้น
    ก็จะเป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิต ตามปัญจทวารวิถีนั้นด้วยน่ะครับ

    ต่อเมื่อมโนทวารวิถีวาระหลังๆ
    ก็อาจจะเปลี่ยนจากกุศลจิตเป็นอกุศลจิต
    หรือเปลี่ยนจากอกุศลจิตเป็นกุศลจิตได้
    อ้อค่ะ เป็นการกระทำทางให้เกิดชวนจิตทางมโนทวารวิถีจิต คือคล้ายๆรับอารมณ์ต่อจากปัญจทวารวิถีจิต ทำกิจคล้ายๆกับสัมปฏิจฉนจิต นั่นอ่ะ ใช่มั้ยค่ะ แต่เป็นทางมโนทวาร เพราะสัมปฏิจฉนจิตรับอารมณ์ทางปัญจทวาร คือตามที่เข้าใจนะค่ะ ไม่เป็นไรอันนี้ผ่านไปก่อนก็ได้ค่ะ อิอิ เกรงว่าจะเหนื่อย^^
    แต่ที่จะถามคือ พอมโนทวารวิถีจิตดับไปหนึ่งวาระ ภวังคจิตเกิดคั่นแล้วขึ้นวิถีใหม่เป็นมโนทวารวิถีอีกหลายครั้งได้ใช่มั้ยค่ะที่พี่เดฟบอกว่ามโนทวารวิถีรับอารมณ์กุศลหรืออกุศลต่อจากปัญจทวารวิถีจิต แต่วาระหลังๆอาจจะเป็นอารมณ์ตรงกันข้ามกันก็ได้ หรือพอมโนทวารวิถีจิตจบปุ๊บแล้วต้องมาทางปัญจทวารวิถีจิตก่อนทุกครั้งค่ะ วนเวียนไปเรื่อยๆแบบนี้อ่ะค่ะ



    ออ พี่เดฟๆ อีกนิดๆหนึ่งค่ะ จิตกับกิจ
    ปฏิสนธิจิตกับปฏิสนธิกิจ(ภวังค์ / จุติ ) ทำไมต้องเรียกต่างกันค่ะ เพราะจิตที่ทำกิจปฏิสนธิ คือ สันตีรณจิต2 /มหาวิปากจิต8/มหัคตวิปากจิต9
    ทำไมไม่เอาชื่อเค้ามาเรียกเลยค่ะ ถ้าใช้ชื่อเค้ามาเรียกได้มั้ยค่ะ ทำไมต้องเอาชื่อกิจมาเรียกเป็นชื่อจิต
    ทำไม ไม่เรียกว่า สันตีรณจิตทำปฏิสนธิกิจ แต่เรียกปฏิสนธิจิตทำปฏิสนธิกิจ แต่เอาชื่อสันตีรณมาเรียกว่าปฏิสนธิจิตแทนทำไมอ่ะ อิอิ

    เมื่อวานอุบาสิกาเจอการอธิบายเรื่องวิถีจิตในนี้อยู่สองกระทู้
    ที่ตอบคุณโจ๋กับพี่ดาว หนูรวบรวมไว้แล้วค่ะ แล้วเจอในเว็บทั่วไป อีกสองหน้า
    แต่ ยังไม่มีเวลาอ่านเลย เดียวว่างๆค่อยอ่านทำความเข้าใจ ^^"
    แล้วเนื้อหาที่อธิบายเรื่อง ฐานพิสดาร25อ่ะค่ะ
    พี่เดฟพอมีลิ้งมั้ยค่ะที่อธิบายเป็นข้อๆ แบบที่พี่เดฟอธิายอ่ะค่ะ เหมือนจะเข้าใจดี
    ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรค่ะ ปล่อยผ่านไปก่อนได้ เดียวศึกษาส่วนที่มีไปก่อน แค่นี้ก็ไม่รู้จะเข้าใจหรือป่าวว อิอิ

    ขอบคุณค่ะ..อนุโมทนาในการอธิบายและคำตอบทุกอย่างนะค่ะพี่เดฟ สาธุๆค่ะ.


    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย oubasika : 08-16-2013 เมื่อ 01:48 PM


    *กิจโฉ มนุสสปฏิลาโภ การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นแสนยากส์
    *


     
  8. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    ในส่วนของชวนวิถี
    ขอกล่าวเพียงย่อๆ ในเบื้องต้นก่อน
    เพื่อไม่ให้ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไปน่ะครับ


    ในชีวิตประจำวันของเรานั้น
    เวลาที่รับรู้อารมณ์ต่างๆ ตามปรกติ ชวนจิตจะเกิดขึ้น 7 ขณะ
    แต่เวลาที่ป่วยหนักหรือสลบ ชวนจิตจะเกิด 5 หรือ 6 ขณะ
    และเวลาที่ใกล้จะตาย ชวนจิตก็เกิดเพียง 5 ขณะเท่านั้น
    นี่คือชวนวิถีที่เกิดได้โดยทั่วไปน่ะครับ


    ส่วนชวนจิตที่เกิด 1 ขณะ...2 ขณะ...3 ขณะ...4 ขณะ
    และที่เกิดมากกว่า 7 ขณะ เหล่านี้จะยังไม่กล่าวถึง
    แต่หากสนใจก็ลองดูเพิ่มเติมนะครับ
    http://abhidhamonline.org/aphi/p4/070.htm



    สำหรับตทาลัมพนจิต นั้นเป็นวิบากจิตที่เกิดขึ้น 2 ขณะ
    เพื่อรับอารมณ์ต่อจากชวนจิต
    เมื่ออารมณ์ที่รับรู้นั้นเป็นอารมณ์ที่แจ่มชัดและยังไม่ดับ

    ดังที่ทราบจากการศึกษาน่ะครับว่า
    อายุของรูปเท่ากับ 17 ขณะจิต นับตั้งแต่กระทบกับ อตีตภวังค์
    ซึ่งเมื่อไปสิ้นสุดที่ชวนวิถี ก็เพียง 15 ขณะจิตเท่านั้น
    แต่ว่ารูปยังไม่ดับ...ตทาลัมพนจิตก็รับอารมณ์นั้นต่ออีก 2 ขณะ...รูปจึงดับ

    ตทาลัมพนจิตนี้ เวลาเกิดก็จะเกิด 2 ขณะน่ะครับ
    แต่ถ้าไม่เกิดก็จะไม่เกิดเลย
    ซึ่งรายละเอียดของตทาลัมพนจิตก็ยังมีอีกมาก
    แต่อยากจะแนะนำว่าให้เว้นไว้ก่อนน่ะครับ
    เพราะการที่ตทาลัมพนจิตจะเกิดหรือไม่เกิด
    มันจะเกี่ยวเนื่องไปเรื่องอื่นๆ อีกเยอะแยะยาวไกลอ่ะครับ


    สำหรับโวฏฐัพพนจิต นั้นทำกิจตัดสินอารมณ์
    หรือกระทำทางให้ชวนวิถีจิตเกิดต่อ ตั้งแต่ในปัญจทวารวิถีเลยครับ
    ซึ่งโวฏฐัพพนจิตนี้กระทำคนละกิจกับสัมปฏิจฉันนจิต
    และเมื่อสิ้นสุดปัญจทวารวิถี
    มโนทวารวิถีจะเกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อได้หลายวาระครับ




    เดฟ

    ปล. ต้องขออนุโมทนากับน้องอุบาสิกาด้วยนะครับ
    ที่สนใจใคร่ศึกษาในพระธรรมคำสอนอย่างละเอียด
    แต่ก็เพราะเป็นเรื่องละเอียดจึงอยากแนะนำว่า ให้ค่อยเป็นค่อยไป
    เพราะถ้าหลายเรื่องในเวลาอันสั้น อาจจะทำให้สับสนได้น่ะครับ

    อนุโมทนาครับ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 08-19-2013 เมื่อ 01:17 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  9. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    สำหรับเรื่องฐานของกิจอย่างพิสดาร 25 ฐาน
    ลองดูลิงค์นี้แล้วกันนะครับ
    http://abhidhamonline.org/aphi/p3/020.htm
    ไม่ทราบว่าใช่ที่น้องอุบาสิกาศึกษาอยู่หรือเปล่า

    ส่วนการอธิบายพร้อมยกตัวอย่างเป็นข้อๆ
    อย่างที่ได้อธิบายไปให้นั้น
    เป็นการประมวลเอาเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่อง
    มาย่อยแล้วแจกแจงออกมาให้เป็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นน่ะครับ

    ส่วนการเรียกชื่อจิตนั้น เรียกได้หลายแบบ
    ถ้าจะยกตัวอย่าง เช่น...
    เวลาที่น้องอุบาสิกาขายของ ก็เรียกว่า แม่ค้า
    เวลาที่น้องอุบาสิกาเป็นคนจัดรายการ ก็เรียกว่า ดีเจ
    แต่ไม่ว่าจะเรียกว่า แม่ค้า หรือ ดีเจ ก็คือน้องอุบาสิกานั่นเอง

    ฉันใดก็ฉันนั้น
    เราสามารถเรียกตามชื่อเดิมของจิตก็ได้
    หรือเรียกตามกิจหน้าที่ ที่จิตนั้นกระทำก็ได้น่ะครับ
    การที่เราเรียกชื่อจิตตามกิจหน้าที่
    ก็เพื่อให้รู้ว่าจิตนั้นทำหน้าที่อะไร
    เพราะจิตก็มีหลายประเภท ทำกิจได้หลายกิจน่ะครับ

    ตามที่น้องอุบาสิกายกตัวอย่างมา เช่น
    สันตีรณ2 /มหาวิปากจิต8/มหัคตจิต9
    จิตเหล่านี้ทำหน้าที่ปฏิสนธิได้ จึงเรียกว่าทำปฏิสนธิกิจ
    และเวลาที่จิตเหล่านี้ทำปฏิสนธิกิจ
    เราก็สามารถจะเรียกตามกิจที่เค้าทำว่า ปฏิสนธิจิต

    จะเรียกอย่างน้องอุบาสิกาเรียกก็ได้ ไม่ผิดแต่อย่างใด
    คือเรียกชัดเจนไปเลยว่า สันตีรณจิตทำปฏิสนธิกิจ
    ก็เป็นการเรียกเจาะจงลงไปเลยว่าคือจิตใด

    ส่วนการที่เรียกว่า....ปฏิสนธิจิต ทำปฏิสนธิกิจ
    เป็นการเรียกรวมๆ ไป ไม่เจาะจงว่าเป็นจิตใดน่ะครับ
    ซึ่งผู้ที่เข้าใจ ก็จะทราบได้ว่า มีจิตใดบ้างที่เป็นปฏิสนธิจิต
    เพราะต้องเป็นจิตที่ทำปฏิสนธิกิจได้นั่นเองน่ะครับ




    เดฟ



    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  10. รูปส่วนตัว oubasika

    oubasika said:
    อ้อ คนละลิ้งกันค่ะพี่เดฟ ขอบคุณค่ะ
    อธิบายเคลียร์เลยเรื่องชื่อของจิต เข้าใจแร่ะค่ะ ^^

    ใช่ค่ะพี่เดฟ หลายอย่างชัก เริ่มๆ งงเองแล้วค่ะ
    แต่เข้าไปดูลิ้งเรื่องชวนจิตแล้วนะค่ะ ไม่ได้มีแค่7ขณะ มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะเลย
    อิอิ


    ชวนนิยม
    แปลว่า ข้อจำกัดอันแน่นอนของชวนะ มีความหมายในที่นี้ว่า ชวนจิตอย่างใดมีจำกัดว่าเกิดได้กี่ขณะ ท่านกล่าวว่ากามชวนะเกิดเพียง ๗ ขณะ มัคคชวนะ อภิญญาชวนะ เกิดเพียงขณะเดียว ชวนะที่เหลือนอกจากนี้ แม้หลาย ๆ ขณะก็เกิดได้

    แสดงรายละเอียด
    ชวนจิตที่เกิด ๑ ขณะ ได้แก่จิต ๒๖ ดวง คือ
    ก. มหัคคตกุสล ชวนะ ๙ ที่เกิดขึ้นในอาทิกัมมิกฌานวิถี
    ข. มหัคคตกิริยา ชวนะ ๙ ที่เกิดขึ้นในอาทิกัมมิกฌานวิถี
    ค. อภิญญาชวนะ ๒ ที่เกิดขึ้นในอภิญญาวิถี
    ง. มัคคชวนะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมัคควิถี
    จ. อนาคามิผลชวนะ ๑ ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาออกจากนิโรธสมาบัติ
    ฉ. อรหัตตผลชวนะ ๑ ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาออกจากนิโรธสมาบัติ

    ชวนจิตที่เกิด ๒ ขณะ ได้แก่จิต ๖ ดวง คือ
    ก. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ๒ ที่เกิดขึ้นในเวลาเข้านิโรธสมาบัติ
    ข. ผลชวนะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมัคควิถีของมันทบุคคล

    ชวนจิตที่เกิด ๓ ขณะ ได้แก่จิต ๑๒ ดวง คือ
    ก. มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นในอัปปนาวิถีของติกขบุคคล
    ข. มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นในอัปปนาวิถีของติกขบุคคล
    ค. ผลชวนะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมัคควิถีของติกขบุคคล

    ชวนจิตที่เกิด ๔ ขณะ ได้แก่จิต ๘ ดวง คือ
    ก. มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นในอัปปนาวิถีของมันทบุคคล
    ข. มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นในอัปปนาวิถีของมันทบุคคล
    อนึ่งมหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นใน(ปัจจเวกขณวิถี) เมื่อสมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์นั้น ก็เกิดเพียง ๔ ขณะ เพราะต้อง กระทำกิจนั้นโดยเร็วที่สุด

    ชวนจิตที่เกิด ๕ ขณะ ได้แก่จิต ๒๘ ดวง คือ
    กามชวนะ ๒๘ (เว้นหสิตุปปาทะ) ที่เกิดขึ้นในมรณาสันนวิถี คือ วิถีที่จะจุติ
    อนึ่งบางแห่งกล่าวว่า ชวนจิตที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล(ใกล้ตาย), มุจฉา กาล(ขณะหลง), วิสัญญีภูตกาล(ขณะสลบ), อติตรุณกาล(ขณะที่กัมมชรูปมีกำลัง อ่อนมาก) เหล่านี้ ชวนะก็เกิด ๕ ขณะ
    และมหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นใน(ปัจจ เวกขณวิถี) เมื่อพระสาวกแสดงอิทธิฤทธิซึ่งเกี่ยวกับกรณีพิเศษชวนะก็เกิด ๕ ขณะ เหมือนกัน

    ชวนจิตที่เกิด ๖ ขณะ ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นในเวลาสลบ
    อนึ่ง บางแห่งกล่าวว่า ในเวลาร่างกายเป็นปกติ กามชวนะ ๒๙ ดวงนั้น อาจจะเกิดเพียง ๖ ขณะ ก็มีได้

    ชวนจิตที่เกิด ๗ ขณะ ได้แก่จิต ๒๙ ดวง คือ
    กามชวนะ ๒๙ ที่เกิดขึ้นในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ

    ชวนจิตที่เกิดมากกว่า ๗ ขณะขึ้นไป
    ได้แก่จิต ๒๒ ดวง คือ
    ก. มหัคคต กุสล ชวนะ ๙ ที่เกิดขึ้นในเวลาเข้า ฌานสมาบัติ
    ข. มหัคคต กิริยา ชวนะ ๙ ที่เกิดขึ้นในเวลาเข้า ฌานสมาบัติ
    ค. ผลจิต ๔ ที่เกิดขึ้นในเวลาเข้า ผลสมาบัติ


    งั้นขอวางคำถามไว้แค่นี้ก่อนนะค่ะ จะไปศึกษาส่วนที่เหลือก่อน คงอีกนานเลยกว่าปัญญาจะงอกเงย อิอิ
    ขอบพระคุณในความอนุเคราะห์มากค่ะพี่เดฟ สาธุๆค่ะ



    อุบาสิกา


    *กิจโฉ มนุสสปฏิลาโภ การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นแสนยากส์
    *