การเจริญฌาณของอรูปพรหม

กระทู้: การเจริญฌาณของอรูปพรหม

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว Praw

    Praw said:

    การเจริญฌาณของอรูปพรหม

    สวัสดีค่ะ กัลยณามิตรทุกท่าน

    พราวเคยได้ยินมาว่าการเจริญฌาณจะต้องเจริญตามลำดับคือ รูปฌาณที่ 1 2 3 4
    แล้วค่อยอรูปฌาณ 1 2 3 4 ก็เลยไม่แน่ใจว่า อรูปพรหมสามารถเจริญรูปฌาณได้หรือป่าวอะค่ะ เพราะอะไรหรอค่ะ


    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Praw : 10-08-2013 เมื่อ 10:13 PM

     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    ผู้ที่เกิดในอรูปพรหมภูมิ เป็นอรูปพรหมบุคคล
    เป็นผู้ที่เพิกความติดข้องในรูป
    เป็นภพภูมิที่ปราศจากรูปทั้งมวล
    ไม่อาจเจริญรูปฌานเพื่อให้เกิดรูปาวจรจิตน่ะครับ





    เดฟ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 10-10-2013 เมื่อ 07:32 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  3. รูปส่วนตัว Praw

    Praw said:
    อืมมมค่ะ เป็นแบบนี้เอง
    ขอบคุณค่ะ พี่เดฟ

     
  4. รูปส่วนตัว Praw

    Praw said:
    อืมมม พาวขออนุญาติวางรายละเอียด ที่พี่เดฟค้นมาให้ไว้ในนี้ด้วยนะค่ะ
    เผื่อว่าเพื่อน ๆ ท่านใดสนใจมาอ่านกระทู้นี้ จะได้อ่านรายละเอียดไปด้วยนะค่ะ
    พี่เดฟใจดีสรุปให้ด้านบนแล้ว ส่วนด้านล่างนี้ ขอยกข้อความในพระไตรปิฏก
    มาประกอบเนื้อหาและลิงค์ที่เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้ในการเติมเต็มความเข้าใจนะค่ะ
    ขอขอบพระคุณและอนุโมทนา พี่เดฟ พี่เวด พี่วินและเพื่อน ๆ ในห้องสนทนาธรรม
    ที่ช่วยกันเกื้อกูลจนทำให้พาวมีความเข้าใจและได้ขยายความรู้ในพระธรรมเพิ่มเติมด้วยนะค่ะ

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

    พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
    ธรรมสังคณีปกรณ์

    อรูปาวจรกุศล
    อรูปฌาน ๔


    [๑๙๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย
    ประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุ
    จตุตถฌาน อันสหรคตต้องอากาสานัญจายตนสัญญาสหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
    เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
    อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

    ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ
    โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา สหรคตด้วย
    อุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

    ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ
    โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา สหรคตด้วย
    อุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

    ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ
    โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา สหรคต
    ด้วยอุเบกขาไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

    อรูปฌาน ๔ แจกอย่างละ ๑๖
    อรูปาวจรกุศล จบ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Praw : 10-11-2013 เมื่อ 10:15 AM

     
  5. รูปส่วนตัว Praw

    Praw said:
    เหล่านี้คือที่แสดงให้เห็นว่า เป็นผู้ที่เพิกรูป

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 551
    สัญญาที่พรั่งพร้อมด้วยมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
    ย่อมเป็นไปในอารมณ์อันมีความแตกต่างกัน และสภาวะที่ต่างกันซึ่งต่างกันด้วยรูป
    และเสียงเป็นต้น.

    อนึ่ง สัญญาเหล่านี้แม้ทั้ง ๔๔ อย่างนี้ คือ
    กามาวจรกุศลสัญญา ๘
    อกุศลสัญญา ๑๒
    กามาวจรกุศลวิปากสัญญา ๑๑
    อกุศลวิปากสัญญา ๒
    กามาวจรกิริยสัญญา ๑๑

    มีความต่างกัน มีสภาวะต่างกัน ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
    จึงตรัสว่า นานัตตสัญญา เพราะไม่มนสิการ เพราะไม่ใคร่ครวญ เพราะ
    ไม่คำนึง เพราะไม่นำมา เพราะไม่พิจารณานานัตตสัญญาเหล่านั้น
    โดยประการทั้งปวง ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะไม่ใคร่ครวญ ไม่มนสิการ
    ไม่พิจารณาสัญญาเหล่านั้น ก็เพราะในอากาสานัญจยตนะนั้น
    รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา ข้างต้น ย่อมไม่มีแม้ในภพที่เกิดขึ้นด้วยฌานนี้
    จะป่วยกล่าวไปไยถึงในกาลที่เข้าฌานนี้ในภพนั้นอยู่
    เพราะฉะนั้น
    จึงตรัสความไม่มีสัญญาแม้ทั้ง ๒ นั้น ด้วยคำว่า เพราะความก้าวล่วง
    เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาเหล่านั้น ดังนี้.
    แต่ในนานัตตสัญญาทั้งหลาย สัญญา ๒๗ อย่างนี้ คือ กามาวจร-
    กุศลสัญญา ๘ กิริยาสัญญา (มหากิริยา ๗ มโนทวาราวัชชน ๑)
    ๙ อกุศลสัญญา(เว้นโทสะ ๒) ๑๐ไม่มีในภพที่เกิดแล้วด้วยฌานนี้ เพราะฉะนั้น
    พึงทราบว่า คำนี้ตรัสไว้ว่า เพราะไม่มนสิการสัญญาเหล่านั้น
    เพราะว่า แม้ในการเกิดขึ้น

    ขอเชิญคลิกลิงค์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านเพิ่มเติมนะค่ะ


    1. พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 546 เป็นต้นไป

    2. พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 551- 600

    3. บทที่ 22 ฌานจิต ในชีวิตประจำวัน
    คัดลอกจากหนังสือ
    "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
    โดย Nina Van Gorkom
    แปลโดย ดวงเดือน บารมีธรรม
    มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Praw : 10-11-2013 เมื่อ 06:54 PM