ธรรมอันเป็นเอก คือ พระพุทธานุสสติ โปรดอย่าประมาท

กระทู้: ธรรมอันเป็นเอก คือ พระพุทธานุสสติ โปรดอย่าประมาท

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. Admax said:

    ธรรมอันเป็นเอก คือ พระพุทธานุสสติ โปรดอย่าประมาท


    1045010_486797858068340_396733206_n.jpg

    ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย วิญญาณมีสังขารเป็นที่อาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัยอุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย ชาติมีภพเป็นที่อาศัย ทุกข์มีชาติเป็นที่อาศัย
    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อาศัย ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย สมาธิมีสุขเป็นที่อาศัย ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย ฉันนั้นเหมือนกัน
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
    ๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๔๓



    หลายท่าน มักจะกล่าว และ ถามว่า ปฏิบัติภาวนาจะเริ่มอย่างไร

    คำตอบก็คือ เริ่มที่พระพุทธานุสสติ เพราะถ้าเริ่มตรงนี้ไม่ได้ ก็ภาวนาไม่ได้ เหมือนบุคคลไม่ศรัทธาในวิธีการของการภาวนา แล้วจะไปทำการภาวนาสำเร็จได้อย่างไร ดังนั้น ท่านทั้งหลาย ที่ภาวนา ก็ควรจะเริ่มต้นที่ พระพุทธานุสสติ เสียเถิด เพราะทำเท่านี้ ก็มี มีนิพพานเป็นที่สุด

    ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
    คือ พุทธานุสสติ(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
    ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญ
    ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
    อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
    เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
    เพื่อนิพพาน

    พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย
    เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๑.
    ปฐมวรรค เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๗


    ขอขอบพระคุณคำสอนจากกระทู้ของพระอาจารย์สนทยา ผู้เผยแพร่กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับของพระราหุลเถระ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชสุข ไก่เถื่อน และ สมเด็จพระพุฒาตจารรย์โต พรหมรังสี และพระอาจารย์สนทยาถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน

    ที่มาจาก
    http://www.madchima.org/forum/index....639.0#msg41631



    การเจริญพุทธานุสติจากพระโอษฐ์ในพระไตรปิฎก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า
    แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น
    ผู้จำแนกธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต
    สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้ม
    รุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป
    หลุดไปจากความอยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของ
    เบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
    บริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 10-27-2013 เมื่อ 06:13 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ