สุราเมรัย กับคนชอบทำบุญ

กระทู้: สุราเมรัย กับคนชอบทำบุญ

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. airdhamma said:

    สุราเมรัย กับคนชอบทำบุญ

    ได้พบเห็นกลุ่มผู้หญิงที่พวกเขา ทั้งดื่มเที่ยวเมามาย แต่ชีวิตเค้าเจอแต่เรื่องโชคดีอยู่ตลอด เห็นเค้าทำบุญกันบ่อยพอๆกับดื่มเที่ยว ดังนี้แปลว่าการดื่มเที่ยวนั้นไม่เป็นบาปใช่ไหมคะ หรือเพราะพวกเค้าทำบุญทดแทนกับสิ่งที่เค้าทำคะ ในขณะที่เราเองชีวิตลุ่มๆดอนๆ ดื่มบ้างเที่ยวบ้างแต่ก็จะเป็นทุกข์ทุกครั้งที่ตื่นวันต่อมาว่าเราไม่น่าเลย เราทำบาปเป็นแน่แล้ว และก็คงจริงเพราะไม่เคยมีโชคมีลาภอันใด มีแต่จะติดขัด.. ควรทำอย่างไรคะ.
     
  2. Admax said:
    เปิดซิงกระทู้ให้ครับ สักพักจะได้มีคนมาตอบกันเยอะๆ หลายๆแนวคิด

    พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าโดยมากในยุคปัจจุบันนี้ ย่อมเทศนาชี้แนะดังนี้ว่า

    จริงๆแล้วคนเราอาศัยของเก่ามา เป็นเหตุปัจจัยให้ได้รับผลกรรมจากสิ่งที่ทำในอดีตนั้นมาสู่ปัจจุบัน
    - หากของเก่าทำทานมาดีจึงมีฐานะบ้าง รวยบ้าง มีเงินใช้จ่ายมากมาย มีบริวารมาก
    - หากทำในศีลก็มีรูปร่างหน้าตาที่หมดจรดงดงาม ผิวพรรณดี อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
    - หากทำจิตภาวนามาดี ก็มีสติปัญญามาก เป็นคนฉลาดหลักแหลม
    - แต่จะมีสิ่งใดมากน้อยก็ตามแต่ของเก่าที่สะสมมา


    หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านสอนผมดังนี้ว่า เราเกิดมาชาตินี้ เพื่อทำของเก่าให้มันดี หากไม่เสริมของเก่าให้ดีก็มีแต่วันหมดไป ซึ่งคนเราที่เกิดมาย่อมจำแนกได้ดังนี้ว่า

    - มาสว่าง ไปสว่าง
    - มาสว่าง ไปมืด
    - มามืด ไปสว่าง
    - มามืด ไปมืด

    - มาสว่าง
    ก็คือ เกิดมามีของเก่าสะสมมาดีก็เจริญด้วย โภคทรัพย์สมบัติ ร่ำรวยอยู่สบาย มีบริวารดี มีหน้าตาดีงดงาม ฉลาดหลักแหลม ทำอะไรก็มีโอกาสดีประสบโชคลาภดีงาม
    - มามืด
    ก็คือ เกิดมายากจนข้นแค้น นีหน้าขี้เหร่ หรือ พิการ โง่ไม่มีปัญญาไหวพริบ ทำอะไรก็ติดขัดลำบากไม่มีโชค ไม่มีลาภ มีแต่ความสะดุด ผิดที่ ผิดกาล ไม่เจริญ

    1. คนมาสว่างไปมืด
    ก็คือ คนที่มีของเก่ามาดี แต่ไม่สร้างไม่สั่งสมต่อให้มันดียิ่งๆขึ้น ก็พอใช้บุญเก่าจดหมด ชีวิตก็เริ่มย่ำแย่ เกิดไปชาติหน้าก็มืดมน หรือแม้ปัจจุบันจะทำทั้งบุญและบาปคละเคล้ากันไปแค่บุญบาปที่ทำเสมอกันก็ไม่ส่งผล ก็มีแต่ระรอวันให้บุญเก่านี้ค่อยหมดไปเรื่อยๆ สุขบายแค่ในตอนนี้ แต่ลำบากในภายภาคหน้า ชาติหน้า ภพหน้า
    2. คนมาสว่างไปสว่าง
    ก็คือ คนที่มีของเก่ามาดี มาชาตินี้ก็ทำของเก่าให้มันดียิ่งขึ้นเป็นกำไรชีวิต ยังสั่งสมให้ของเก่ามันดีจนเต็ม ก็เป็นบารมี มีทั้งโภคทรัพย์สมบัติภายนอกและโภคทรัพย์สมบัติในภายใน จะชาตินี้ชาติหน้าก็ดี ภพนี้ภพหน้าก็ดี รอแต่วันที่อิ่มแล้วไปถึงพระนิพพาน
    3. คนมามืดไปสว่าง
    ก็คือ คนที่มีของเก่ามาไม่ดี ยากจนค้นแค้นลำบาก ทำอะไรก็ติดขัด ไม่ถูกที่ ไม่ถูกกาล ไม่ถูกเวลา ไม่ถูกทาง ยังความฉิบหายให้เกิดมีขึ้นอยู่ประจำๆตลอดเวลา แต่เพียรละอกุศลธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นในกุศลธรรมทั้งปวง มีศีล ทาน ภาวนา ตั้งมั่นความดีไม่ย่อท้อ แม้เจอเรื่องร้ายๆหรือทำแล้วติดขัดติดปัญหา ไม่ร่ำรวย งดงาม ไม่มีปัญญาเหมือนเขา ไม่มีโอกาสดีๆในทุกๆเรื่อง ประสบแต่สิ่งร้ายๆ แต่ก็มีจิตตั้งมั่นไม่เสื่อมศรัทธาในกุศล ตั้งมั่นสะสมใน ศรัทธา ศีล ทาน วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ท่านเรียกว่าทำของเก่าให้มันดี แม้ปัจจุบันจะลำบากแค้น แต่ไปภายหน้าจะสุขสบายไม่มีทุกข์ ถึงแม้ชาตินี้ทั้งชาติจะลำบาก แต่ก็เป้นผู้อยู่โดยไม่มีทุกข์ เป็นผู้ที่ทุกข์หยั่งไม่ถึง แม้ไม่มีโภคทรัพย์สมบัติภายนอก แต่อัดเต็มไว้ด้วยโภคทรัพย์สมบัติในภายใน ไปชาติหน้า ภพหน้าก็สุขสบาย ร่ำรวยมีบริวารมาก มีหน้าตางดงามผิวพรรณดี มีสติปัญญาดี
    4. คนมามืดไปมืด
    ก็คือ คนที่มีของเก่ามาไม่ดี ยากจนค้นแค้นลำบาก ทำอะไรก็ติดขัด ไม่ถูกที่ ไม่ถูกกาล ไม่ถูกเวลา ไม่ถูกทาง ยังความฉิบหายให้เกิดมีขึ้นอยู่ประจำๆตลอดเวลา แล้วยังทำชั่วทำบาปสร้างเวรกรรมสืบไป ทำแต่ความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น มีแต่ความประสงค์ร้ายต่อผู้อื่น มีความตระหนี่ขี้เหนียว เพ่งเล็งแต่สิ่งอันเป็นที่รักที่มีค่าของผู้อื่น ไม่ใช่ปัญญาแก่ไขปัญหา ใช้แต่อารมณ์ ใช้กำลัง ไม่สร้างบุญกุศลเพิ่ม มีแต่อกุศลบารมีสะสมทับถมไม่สิ้นสุด แม้ชาตินี้ในปัจจุบนหรือภายหน้า หรือชาติหน้า หรือภพหน้าก็มีแตต่ความลำบากฉิบหาย เกิดมายากจนค้นแค้น พิการ ไม่มีดีทั้งในปัจจุบันและกาลในภายหน้า

    ท่านจึงสอนอยู่เสมอดังนี้ว่า
    - สุขทางโลก มันอาศัยยึดเอาสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของมัน สุขชั่วคราวก็หมดไป อยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจ ตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้ ...ส่วนสุขทางธรรม คือ ความฉลาดในการปล่อยวาง ทำบุญกุศล สิ่งนี้มันจะติดตามเราไปตลอดทุกชาติทุกที่ทุกหนทุกแห่ง
    - สุขทางโลก นี้มันสุขจริง แต่สุขแล้วก็ค่อยๆทุกข์ไปหน้า ทุกข์จากความแสวงหาเสพย์ในสิ่งไม่เที่ยงบ้าง แม้เมื่อได้เสพย์สมดั่งใจแต่พอสุขนั้นดับไปก็ดิ้นรนทุรนทุรายแสวงมามันมาเสพย์ให้ได้อีกบ้าง ทุกข์เพราะไม่สมปารถนาบ้าง ทุกข์เพราะประสบในสิ่งอันไม่เป็นที่รักบ้าง ทุกข์เพราะความพรัดพรากบ้าง ...ส่วนสุขทางธรรม นี่มันอมตะสุข มันยากลำบากในตอนแรกที่เจริญ ต้องใช้กำลังศรัทธาที่แน่วแน่ ตั้งในกุศล ศีล ทาน ภาวนา มีกำลังความเพียรอย่างมากไม่ย่อท้อ ตั้งมั่นสั่งสมกำลังสติ ตั้งมั่นสั่งสมกำลังสมาธิ ตั้งมั่นสั่งสมกำลังปัญญา จะลำบายากเย็นเท่าไหร่ก็ไม่ท้อถอย มีแต่ต้องสู้และแน่วแน่เท่านั้น แต่เมื่อทำเหตุนี้ๆให้ดีมีกำลังแล้ว มันก็อิ่มเต็มกำลังใจ มันสุขด้วยตัวของมันเอง สุขจากความปล่อยวาง จะไปที่ใดก็เป็นสุขอิ่มเอม สงบร่มเย็น ไม่มีทุกข์ ไม่หวาดระแวง ไม่หวาดกลัว ไม่เร่าร้อน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกโลภะ ราคะ โทสะ โมหะกลุ้มรุม ไม่เกรงกลัวความตาย..เพราะแม้จะตายจากโลกนี้ไป ก็ได้ไปเสวยสุขในสุคติภูมิเป็นเทพบุตร เทพธิดา ไปชั้นจาตุมมหาราชิกา ชั้นดุสิต ชั้นพรหมเป็นต้น เกิดชาติหน้าก็มีครบพร้อมซึ่งรูปร่างหน้าตา โภคทรัพย์สมบัติบริวาร และ สติปัญญา เมื่อเสร็จกิจสิ้นสังโยชน์ก็ไม่ต้องมาทนทุกข์ิอีกชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้วก้ไปเสวยสุขบนแดนนิพพาน

    ทีนี้ก็ลองพิจารณาดูครับเรื่องชีวิตของเขาอยู่ในเหตุใด ผลใด ข้อใด แล้วในส่วนของขึนอยู่ในที่ใด เหตุใด ผลใด ควรทำสิ่งใดให้มาก ควรลดละสิ่งใดไป ไปมองดูเขาก็ได้ดูด้วยความริษยา ขุ่นมัว กับบุญบารมีของเขาที่ทำมา ดังนั้นมาย้อนดูตนพิจารณาดูว่าเราควรทำเหตุไรๆอย่างไหนให้ดีจึงจะถึงซึ่งความเต็มบารมีให้เราไม่ทุกข์ เป็นสุข บริบูรณ์ เจริญด้วยรูปร่างหน้าตา โภคทรัพย์สมบัติ สติปัญญา ให้เราไปสว่างดีกว่าครับ มันจะเป็นประโยชน์แก่เรากว่าที่ไปเร่าร้อนริษยาคนอื่น เพราะเขาก็อยู่อย่างนั้นของเขามาตั้งนาน ก็เป็นสุขดีของเขาแล้ว มีแต่เราเองนั้นแหละที่ให้ความสำคัญใจแก่เขาไปร่อนร้อนกับเขา ทั้งๆที่เขาก็ปกติสุขของเขาดี คุณจะแบกเอาเรื่องราวชีวิตของคนทั้งโลกมาแบกไว้ก็หาประโยชน์สุขไม่ได้ สุขของคนไม่ได้ขึ้นอยู่ที่เขา อย่าเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับใคร ละความติดข้องใจได้ก็ไม่ทุกข์เร่าร้อนฟุ้งซ่าน มีแต่ความสงบสุขร่มเย็นจากกุศล กุศล คือ ฉลาด ..ฉลาดในการปล่อยวางนั่นเองครับ
     
  3. Admax said:




    สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา
    กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระณา

    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีกรรมเป็นของของตน, มีกรรมเป็นผู้ให้ผล,
    มีกรรมเป็นแดนเกิด, มีกรรมเป็นผู้ติดตาม,มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศ้ย


    ยัง กัมมัง กะริสสันติ, กัลฺยาณัง วา ปาปะกัง วา,
    ตัสสะ ทายาทา ภาวิสสันติ

    จักทำกรรมอันใดไว้, เป็นบุญหรือเป็นบาป,
    จักต้องเป็นผู้ได้รับผลกรรมนั้นๆ สืบไป




    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  4. airdhamma said:

    มามืดไปสว่างให้ได้!

    ขอบพระคถณจากใจจริงๆค่ะ รู้สึกหูตาสว่างขึ้นมาก.. ไม่เคยได้ยินเรื่องคนสี่เหล่านี้เลยค่ะ ..
    เพิ่งรู้ว่า ตัวเองมามืด และกำลังจะเดินทางมืดต่อไป.. แย่จริงๆ

    จะไม่อิจฉาเค้าแล้วค่ะ ถ้าเราอยากสว่างขึ้น

    ถ้าช่วยแนะนำ การปฏิบัติธรรมที่ทำได้ตลอดในชีวิตประจำวัน จะได้มั้ยคะ

    อยากล้างสมองตัวเอง อยากสะอาดทั้งกายใจ อยากละได้จริงๆค่ะ
     
  5. Admax said:
    1. มีศรัทธาเป็นกำลัง ต้องศรัทธาพระพุทธเจ้าให้ได้ก่อน ศรัทธาได้ก็ถึงพุทโธได้

    2. เมื่อศรัทธาพระพุทธเจ้าก็ย่อมถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า คือเรื่องกรรม(ตามบทอุเบกขาที่ให้ไปข้างต้น)

    3. เมื่อเข้าใจเรื่องกรรมแล้ว พระตถาคตนั้นย่อมสอนให้ทำเหตุแห่งกุศลให้ดี คือ ศีล ทาน ภาวนา

    หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านสอนว่า
    - ละโลภ.. ได้.. ทาน
    - ละโทสะ, ละความเบียดเบียน.. ได้.. ศีล
    - ละโมหะ, ละความหลง.. ได้.. ภาวนา

    4. เกร็ดความรุ้เรื่องการภาวนา

    - พระอาจารย์ณัฐพงษ์ ท่านมาจากวัดที่อเมริกาเพื่ออัญเชิญพระพุทธรูปไปวัดที่ตั้งใหม่ที่อเมริกาท่านได้สอนไว้ว่า "ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก จะภาวนาพุทโธด้วยเพื่อเป็นกำลังให้จิตตั้งมั่นไปกับลมหายใจก็ได้ ที่สำคัญ คือ "ทำไว้ในใจถึงความสงบกายใจ เหมือนเราสงบนิ่งเมื่อสมัยเรียนตอนเด็กๆ" แล้วรู้ลมหายใจเข้า-ออกไปเรื่อยๆ
    - พระอาจารย์ณรงค์ ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ท่านกลับมาจากไปเผยแพร่ธรรมที่อเมริกาแล้วได้เทศนาสอนว่า หลวงปู่ฝั้นท่านได้สอนเอาไว้ว่า "ทำสมาธิให้เหมือนเราขับรถเดินทางไกล เปรียบรถเป็นลมหายใจ สิ่งต่างๆระหว่างทางก็แค่วิวทิวทัศน์ให้ชมพอเพลิดเพลินเล่นเวลาเดินทาง เวลาเดินทางไกลก็ขับไปตามทางเรื่อยๆ จะเจออะไรระหว่างทางก็แค่รู้ว่าคืออะไร แล้วก็ขับผ่านไป(เวลาเดินทางไกลระหว่างทางเราจะรู้เห็นอะไร เราก็แค่ดู.. พอรู้ว่าคืออะไรก็ขับรถต่อไปไม่ไปจอดรถติดแช่กับมันให้เสียเวลาเดินทาง) เดี๋ยวมันก็ถึงปลายทางเอง" (หากเจอนิมิตไรๆสภาวะไรๆให้จดจำไว้ดังนี้)

    ** คงพอนะครับ คำสอนของ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยะสงฆ์ ทั้ง 3 รูป ง่ายๆ ไม่ลำบาก น่าจะบอกแนวทางและอธิบายการเข้าได้ละเอียดแล้วนะครับ ทำได้ทุกที่ทุกเวลา จำใส่ใจแค่ ศีล ทาน ภาวนาพอแระ ที่อธิบายมายาวๆก็แค่ 3 อย่างนี้แหละ ทำให้ดีได้ก็เป็นบารมีให้เรา* *

    พอแระยาวไปเดี๋ยวเป็นวิทยานิพนธ์ เล่ม 2 .. 555
     
  6. airdhamma said:
    อ้างอิง โพสต์ต้นฉบับโดยคุณ Admax ดูโพสต์
    1. มีศรัทธาเป็นกำลัง ต้องศรัทธาพระพุทธเจ้าให้ได้ก่อน ศรัทธาได้ก็ถึงพุทโธได้

    2. เมื่อศรัทธาพระพุทธเจ้าก็ย่อมถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า คือเรื่องกรรม(ตามบทอุเบกขาที่ให้ไปข้างต้น)

    3. เมื่อเข้าใจเรื่องกรรมแล้ว พระตถาคตนั้นย่อมสอนให้ทำเหตุแห่งกุศลให้ดี คือ ศีล ทาน ภาวนา

    หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านสอนว่า
    - ละโลภ.. ได้.. ทาน
    - ละโทสะ, ละความเบียดเบียน.. ได้.. ศีล
    - ละโมหะ, ละความหลง.. ได้.. ภาวนา

    4. เกร็ดความรุ้เรื่องการภาวนา

    - พระอาจารย์ณัฐพงษ์ ท่านมาจากวัดที่อเมริกาเพื่ออัญเชิญพระพุทธรูปไปวัดที่ตั้งใหม่ที่อเมริกาท่านได้สอนไว้ว่า "ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก จะภาวนาพุทโธด้วยเพื่อเป็นกำลังให้จิตตั้งมั่นไปกับลมหายใจก็ได้ ที่สำคัญ คือ "ทำไว้ในใจถึงความสงบกายใจ เหมือนเราสงบนิ่งเมื่อสมัยเรียนตอนเด็กๆ" แล้วรู้ลมหายใจเข้า-ออกไปเรื่อยๆ
    - พระอาจารย์ณรงค์ ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ท่านกลับมาจากไปเผยแพร่ธรรมที่อเมริกาแล้วได้เทศนาสอนว่า หลวงปู่ฝั้นท่านได้สอนเอาไว้ว่า "ทำสมาธิให้เหมือนเราขับรถเดินทางไกล เปรียบรถเป็นลมหายใจ สิ่งต่างๆระหว่างทางก็แค่วิวทิวทัศน์ให้ชมพอเพลิดเพลินเล่นเวลาเดินทาง เวลาเดินทางไกลก็ขับไปตามทางเรื่อยๆ จะเจออะไรระหว่างทางก็แค่รู้ว่าคืออะไร แล้วก็ขับผ่านไป(เวลาเดินทางไกลระหว่างทางเราจะรู้เห็นอะไร เราก็แค่ดู.. พอรู้ว่าคืออะไรก็ขับรถต่อไปไม่ไปจอดรถติดแช่กับมันให้เสียเวลาเดินทาง) เดี๋ยวมันก็ถึงปลายทางเอง" (หากเจอนิมิตไรๆสภาวะไรๆให้จดจำไว้ดังนี้)

    ** คงพอนะครับ คำสอนของ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยะสงฆ์ ทั้ง 3 รูป ง่ายๆ ไม่ลำบาก น่าจะบอกแนวทางและอธิบายการเข้าได้ละเอียดแล้วนะครับ ทำได้ทุกที่ทุกเวลา จำใส่ใจแค่ ศีล ทาน ภาวนาพอแระ ที่อธิบายมายาวๆก็แค่ 3 อย่างนี้แหละ ทำให้ดีได้ก็เป็นบารมีให้เรา* *

    พอแระยาวไปเดี๋ยวเป็นวิทยานิพนธ์ เล่ม 2 .. 555


    5555 ไม่ยาวไปหรอกค่ะ ขอบคุณมากๆนะคะ จะเริ่มตั้งแต่วันนี้เลย (เป็นคนขี้หงุดหงิดมาก แต่หงุดหงิดอยุ่ในใจน่ะค่ะ ไม่เคยว่าใครเลยนะ แต่หน้าตามันบ่งบอกว่ากำลังหงุดหงิดอ่ะ) คิ้วขมวดตลอดถึงแม้จะไม่มีอะไรมากระทบใจ คิดอะไรอยุ่ตลอดเวลาค่ะ จะเรื่องทุกข์ใจหรือสุขใจก็ขมวดค่ะ555
    เลยถูกมองว่าเป็นคนบ้าๆบอๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย พูดเรื่องตลกหน้าก็ยังเครียด แย่จังค่ะ
    ตัวเรายังไม่เข้าใจตัวเองเลย
     
  7. Admax said:
    อ้างอิง โพสต์ต้นฉบับโดยคุณ airdhamma ดูโพสต์
    5555 ไม่ยาวไปหรอกค่ะ ขอบคุณมากๆนะคะ จะเริ่มตั้งแต่วันนี้เลย (เป็นคนขี้หงุดหงิดมาก แต่หงุดหงิดอยุ่ในใจน่ะค่ะ ไม่เคยว่าใครเลยนะ แต่หน้าตามันบ่งบอกว่ากำลังหงุดหงิดอ่ะ) คิ้วขมวดตลอดถึงแม้จะไม่มีอะไรมากระทบใจ คิดอะไรอยุ่ตลอดเวลาค่ะ จะเรื่องทุกข์ใจหรือสุขใจก็ขมวดค่ะ555
    เลยถูกมองว่าเป็นคนบ้าๆบอๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย พูดเรื่องตลกหน้าก็ยังเครียด แย่จังค่ะ
    ตัวเรายังไม่เข้าใจตัวเองเลย
    ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆทั้งที่พอใจยินดีและไม่พอใจยินดีไปก็หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์… ละความติดข้องใจนั้นไปเสียจะไม่ทุกข์

    ทำศีล ทาน ภาวนาให้ได้จะเข้าใจตรงนี้เอง ศีล ทาน ภาวนา คือเหตุแห่งกุศลและทางหลุดพ้นทำให้มากก็เป็นบารมีเราเอง
     
  8. airdhamma said:
    อ้างอิง โพสต์ต้นฉบับโดยคุณ Admax ดูโพสต์
    ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆทั้งที่พอใจยินดีและไม่พอใจยินดีไปก็หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์… ละความติดข้องใจนั้นไปเสียจะไม่ทุกข์

    ทำศีล ทาน ภาวนาให้ได้จะเข้าใจตรงนี้เอง ศีล ทาน ภาวนา คือเหตุแห่งกุศลและทางหลุดพ้นทำให้มากก็เป็นบารมีเราเอง
    หมายถึงว่า..เราจะเป็นอย่างไร ก็ปล่อยไปตามอารมณ์งั้นหรือคะ? อย่าสนใจว่ามำไมเราถึงเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้? แค่ไม่นำพาความเดือดร้อนสู่คนอื่น ก็ได้ใช่ไหมคะ(ขอโทษค่ะใช้คำพูดธรรมดาๆมาก)
     
  9. tewada said:
    กรรมทั้งหมดที่ทำในชาตนี้จะไปส่งผลในชาตที่สามถึงชาตที่เจ็ด ฉนั้นกรรมทั้งหมดที่ส่งผลในชาตนี้คือผลของกรรมจากอดีตชาตที่ผ่านมานับย้อนไปสามถึงเจ็ดชาต(เว้นอนันตริยกรรม มัคผลนิพพาน และผลจากการให้ทานของพระที่ออกจากนิโรทสมาบัตรใหม่ๆ)พวกนี้ให้ผลในชาตนี้และชาตถัดไป
     
  10. Admax said:

    ๑. เธอเห็นกลุ่มผู้หญิงที่ปฏิบัติธรรมข้างต้นกินเหล้า สนุกสนานเฮฮา มีความสุข ซึ่งเขาก็อยู่ของเขาอย่างนั้นไม่ได้มาเกี่ยวข้องอะไรกับเธอเลย

    ๒. เธอไปติดใจข้องแวะขัดเคืองใจในสิ่งที่เขาทำ ที่เขาเป็น
    - ขณะนั้นที่อึดอัด ขัดเคืองใจ มันเร่าร้อน บางครั้งอยากจะด่าจะเผาเขาด้วยไฟแห่งโทสะที่ตนมีเสียด้วยซ้ำ
    - ขณะนั้นเขาเป็นทุกข์กับเธอไหม หรือเขาก็มีความสุขสนุกสนานของเขาไปเรื่อย ไม่ข้องเกี่ยวกัน
    - ทีนี้มาหวนระลึกดูว่าเธอติดใจข้องแวะในสิ่งที่เห็น เข้าไปยึดความไม่พอใจยินดี ไม่ชอบใจในสิ่งที่เขาทำ ขณะนั้นเธอเป็นสุขหรือเป็นทุกข์เล่า


    ก. ถ้าเธอเป็นสุข ก็ติดใจข้องแวะในทุกสิ่งทุกอย่างไปทั่วให้มันเร่าร้อน ร้อนรุ่มกายใจเล่นตามแต่จะสมใจตน แต่เธอต้องไปแสวงหาสุขที่ต้องคอยไปติดใจข้องแวะกับคนทั้งโลกนั้นอีกสักเท่าไหร่จึงจะพอ


    ข. ถ้าเธอเป็นทุกข์ ก็พึงระลึกรู้เสียว่า ทุกข์เพราะไฟคือโทสะที่มันสุมใจเธอนั้นแหละ ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะมันเกิดก็เพราะเธอไปติดใจข้องแวะใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกาย ความรู้สึกนึกคิดทางใจ ด้วยตั้งความพอใจยินดีต่อสิ่งเหล่านั้นเอาไว้ พอสิ่งนั้นๆไม่เป็นไปตามที่รักที่พอใจยินดีก็ขัดใจตนเองให้เร่าร้อนสุมไฟเผาตนเอง ทั้งๆที่มันก็เรื่องของเขา เขาไม่ได้มายุ่งเกี่ยวกับเธอเลย เขาก็เป็นอย่างนั้นของเขามานานแระ แต่เธอกับเอากายใจตนเข้าไปแบกรับทุกข์แทนเขาซะแล้ว ด้วยความติดใจข้องแวะนั้นแหละ


    ** ดังนั้นผมจึงกล่าวว่า อย่าไปติดใจข้องแวะในสิ่งใดๆ.. เพราะติดใจข้องแวะมันไปก็หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์
    ** ดังนั้นใครจะทำอะไร เราจะไปพบเจอสิ่งใด เราจะรู้จะเห็น จะได้ยิน ลิ้มรส สัมผัสกาย สัมผัสใจนังไง ก็ไม่ต้องไปติดใจข้องแวะให้ตนตรึกนึกคิดใคร่ควรญไปตามความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีตนให้มันเป็นทุกข์
    ** ดังนั้นคุณจะถึงจิตที่ตั้งอย่างนี้ไม่ได้เลย หากไม่มี ศีล ทาน โดยมีพรหมวิหาร ๔ คลุม มีภาวนา รู้ตามลมหายใจเข้าออก ทำใจให้สงบ ทำจิตให้เหมือนเดินทางไกลเกิดอะไรก็แค่รู้แล้วก็ปล่อยเลยไปจนถึงจุดหมาย อารมณ์นี้ต้องอาศัยสิ่งนี้ๆ ถ้าทำเหตุใน ศีล ทาน ภาวนา พรหมวิหาร๔ ไม่ได้ คุณก็ยากที่จะเข้าถึงได้ง่าย หรือแม้จะถึงได้แต่ไม่อาจทำให้มันเกิดขึ้นจนเป็นปกติจิตได้
    ** ครูบาอาจารย์พระป่าท่านมักจะสอนดังนี้ว่า ไปปฏิบัติก่อน แล้วค่อยมาคุย ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่จำเป็นจะต้องรู้อะไรมาก เพราะเอาไปก็ไม่ได้ใช้ แค่ศีล ทาน ภาวนา รู้ลมหายใจ บริกรรมพุทโธยังทำไม่ได้ แล้วจะมาเอาอันอื่นไปทำไมเอาไปก็ไม่ได้ใช้

    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ