.
บัญญัติหรือสมมุติ เป็น สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง แต่มีอยู่โดยสมมุติ เป็นอารมณ์ของจิตได้ และบัญญัติไม่ใช่ตัวสัญญาเจตสิก แต่เป็นอารมณ์ที่ถูกจำหมายโดยสัญญา
ใช่แล้วครับ




อัตตสัญญา เป็น การจำหมาย ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ว่ามีอยู่จริง เป็นสัญญาที่ไม่ปลอดจากอุปาทาน อาจเรียกอีกชื่อว่า สัญญูปาทาน
อัตตสัญญา เป็นการจดจำในสภาพธรรมทั้งหลายที่ประชุมรวมกัน
ดังเช่น ขันธ์ 5 (ขันธ์ 5 เป็นสภาพธรรมที่มีจริง) ว่าเป็นตัวเป็นตน
ทั้งที่แท้จริงแล้วขันธ์ 5 นั้นไม่ได้เป็นตัวเป็นตนของใครเลยใช่มั้ยครับ
เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่ประชุมรวมกัน
แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา บังคับบัญชาไม่ได้
แต่ด้วยความเข้าใจผิด มีความเห็นผิด...จึงจดจำผิด
ซึ่งความเห็นผิดที่ยึดมั่นในสภาพธรรมทั้งหลายว่าเป็นตัวเป็นตน
ก็คือ อัตตวาทุปาทาน

สำหรับ สัญญูปาทาน
เรียกเต็มว่า สัญญูปาทานขันธ์ (สัญญูปาทานักขันธ์)
หมายถึง สัญญาเจตสิก (สัญญาขันธ์) อันเป็นที่ยึดมั่นของอุปาทานน่ะครับ

(อุปาทานขันธ์ หมายถึง ขันธ์อันเป็นที่ยึดมั่นของอุปาทาน)
(หมายถึงขันธ์ 5 นั่นเอง)
(รูปขันธ์ อันเป็นที่ยึดมั่นของอุปาทาน ก็เรียกว่า รูปูปาทานักขันธ์)
(เวทนาขันธ์ "------------------------" ก็เรียกว่า เวทนูปาทานักขันธ์)
(สัญญาขันธ์ "------------------------" ก็เรียกว่า สัญญูปาทานักขันธ์)
(สังขารขันธ์ "------------------------" ก็เรียกว่า สังขารูปาทานักขันธ์)
(วิญญาณขันธ์ "----------------------" ก็เรียกว่า วิญญาณูปาทานักขันธ์)




อนัตตสัญญา เป็น การจำหมาย ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ว่าไม่มีอยู่จริง เป็นสัญญาที่ปลอดจากอุปาทาน
อนัตตสัญญา ถ้าเอาง่ายๆ
ก็ตรงข้ามกับ อัตตสัญญา นั่นเองครับ

ก็คือสัญญาเจตสิกที่จดจำว่าสภาพธรรมทั้งหลาย
ดังเช่น ขันธ์ 5 (ขันธ์ 5 เป็นสภาพธรรมที่มีจริง) ว่าไม่ได้เป็นตัวเป็นตน
เพราะมีความเข้าใจถูก มีความเห็นถูก
ว่าแท้จริงแล้วขันธ์ 5 นั้นไม่ได้เป็นตัวเป็นตนของใครเลย
เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่ประชุมรวมกัน
แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา บังคับบัญชาไม่ได้
ซึ่งความเข้าใจถูกนี้คือ ปัญญาเจตสิก
และปัญญาเจตสิกนี้ก็ไม่เกิดร่วมกับอกุศลจิต
ดังนั้น ขณะจิตนั้นจึงไม่มีอุปาทานเกิดร่วมด้วยครับ




พระอรหันต์ กำหนดรู้อัตตสัญญาถ้วนทั่วแล้ว ละอุปาทานจากสัญญาได้แล้ว ขณะที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ก็ไม่มีอุปาทานในบัญญัตินั้น รู้บัญญัติว่าเป็นบัญญัติ ไม่ใช่ตัวตน...
นับตั้งแต่พระโสดาบันบุคคล
ท่านก็ละอัตตวาทุปาทาน (สักกายทิฏฐิ) สิ้นแล้ว
คลายจากอัตตสัญญาแล้ว
ปราศจากความเห็นผิดในสภาพธรรมทั้งหลาย
ที่ประชุมรวมกันอยู่นั้นว่าเป็นตัวเป็นตน
นี่สภาพธรรมแท้ๆ ท่านก็ยังเข้าใจถูก
ประจักษ์แจ้งแทงตลอด ไม่มีความเห็นผิด
ดังนั้น สำหรับบัญญัติธรรม ท่านย่อมไม่เข้าใจผิดแน่นอนครับ

สำหรับพระโสดาบัน
ท่านละทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน สิ้นซากแล้ว
ทั้ง 3 ตัวนี้ องค์ธรรมคือ ทิฏฐิเจตสิก นั่นเองครับ

ส่วนกามุปาทานนั้น (องค์ธรรมคือ โลภเจตสิก)
สิ้นซากหมดจดไม่เหลือแม้ความติดข้องในภพ
ก็เมื่อถึงซึ่งพระอรหันต์


อนุโมทนาครับ




เดฟ