หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง

กระทู้: หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง







    พระครูปทุมวรกิจ (ชำนาญ อุตตมปญโญ)

    สถานเดิม

    ชำนาญ นามสกุล พันธ์หว้า เกิดวันอาทิตย์ ชึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีชวด วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2515 บิดา นายชะโอด มารดา นางสำเนียง บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 7 ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

    บรรพชา

    ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ปีขาล วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ณ วัดบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

    อุปสมบท

    ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 ปีวอกวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2538 ณ วัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
    พระอุปัชฌาย์พระสุเมธาภรณ์ วัดบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
    พระกรรมวาจาจารย์ พระครูปทุมธรรมานุสิฐ วัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
    พระอนสาวนาจารย์ พระครูปทุมสุตคุณ วัดสังลาน ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

    วิทยฐานะทางการศึกษา

    พ.ศ. 2527 สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
    พ.ศ. 2533 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน จังหวัดปทุมธานี)
    พ.ศ. 2548 สอบได้นักธรรมชั้นเอก
    พ.ศ. 2549 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.)
    พ.ศ. 2551 ได้รับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการจัดการเชิงพุทธ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    มีความชำนาญการ

    1.ด้านการแสดงพระธรรมเทศนา
    2.ด้านนวกรรมาทิฎฐายี ควบคุมดูแลการก่อสร้างและบูรณะปฎิสังขรณ์ถาวรวัตถุ
    3.ชำนาญการด้านภาษามอญ

    สมณศักดิ์

    พ.ศ. 2543 เป็นพระสมุห์ ฐานานุกรม ใน พระครูโสภณพิทักษ์ พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก วัดโสภาราม ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัดปทุมธานี

    พ.ศ. 2549 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฏร์ชั้นโท ราชทินนามที่ พระครูปทุมวรกิจ

    ด้านการปกครอง

    พ.ศ. 2539 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทอง
    พ.ศ. 2541 เป็นเจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทอง
    พ.ศ. 2542 เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    1. เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีแล้วได้ดำเนินการปฎิบัติตามหน้าที่และอำนาจของเจ้าอาวาสตาม มาตราที่ 34 และ 38 ในหมวดที่ 5 ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยจนทุกประการ

    2. ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส และเจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึง ปัจจุบัน

    3. มีการทำอุโบสถสังฆกรรม (สวดพระปาฎิโมกข์) ทุก ๆ วันอุโบสถโดยมีการประกอบ อุโบสถสังฆกรรมที่วัดสังลาน ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ และ วันแรม 14,15 ค่ำ ทั้งในพรรษาและนอกพรรษา

    4. มีการทำวัตรสวดมนต์ เช้า – เย็น เป็นประจำทุกวัน

    5. มีระเบียบการปกครองเป็นไปตามหลักของพระธรรมวินัย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎ ระเบียบ คำสั่ง มติของมหาเถรสมาคม พระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราช และกฎหมายบ้านเมือง ตามกฎระเบียบกติกาของวัด เพื่อให้ภิกษุสามเณรผู้ได้รับการบรรพชาอุปสมบทและผู้ที่พำนักอาศัยในวัดแล้ว ได้มีความประพฤติปฎิบัติที่สุภาพเรียบร้อยดีงาม

    งานประชุมว่าด้วยการปกครอง

    พ.ศ. 2537 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามวาระ(แทนเจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทอง) ณ วัดประยูรธรรมาราม ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

    พ.ศ. 2538 ร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามวาระ (แทนเจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทอง) ณ วัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรีจังหวัดปทุมธานีวันที่ 14 – 15 กันยายน พ.ศ. 2538

    พ.ศ. 2538 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามวาระ (แทนเจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทอง) ณ วัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2538

    พ.ศ. 2539 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามวาระ (แทนเจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทอง) ณ วัดหน้าไม้ ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2539

    พ.ศ. 2539 เข้าร่วมประชุม พระสังฆาธิการตามวาระ ณ วัดเขียนเขต ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 8 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2539

    พ.ศ. 2540 เข้าประชุมพระสังฆาธิการทุกระดับ วัดเขียนเขต ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 8 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2539

    พ.ศ. 2540 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการทุกระดับ วัดมะขาม ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

    พ.ศ. 2540 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามมติมหาเถรสมาคม ณ วัดป่างิ้ว ตำบลบ้างงิ้ว อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

    พ.ศ. 2541 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการทุกระดับ ณ วัดมะขาม ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 24-25 มีนาคม พ.ศ. 2541

    พ.ศ.2542 เข้าร่วมรับการถวายความรู้ตามโครงการฝึกอบรมเจ้าอาวาสใหม่ ของสถาบันพัฒนาพระสังฆาธิการ คณะสงฆ์หนกลาง รุ่นที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2542

    พ.ศ. 2542 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามมติมหาเถรสมาคม ณ วัดลาดสนุ่น ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี วันที่ 22-23 มีนาคม พ.ศ. 2542

    พ.ศ.2542 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามวาระ ระดับเจ้าอาวาส ณ วัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 21 กรกฏาคม พ.ศ. 2542

    พ.ศ. 2543 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามมติมหาเถรสมาคม ณ วัดบึงบาประภาสวัต ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

    พ.ศ. 2543 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามวาระ ระดับเจ้าอาวาส ณ วัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 5 กรกฏาคม พ.ศ. 2543

    พ.ศ. 2543 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการทุกระดับ ณ วัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

    พ.ศ.2544 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามมติมหาเถรสมาคม ณ วัดโสภาราม ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี วันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2544

    พ.ศ. 2544 เข้ารับการฝึกอบรมพระนักเทศน์ ตามโครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ จังหวัดปทุมธานี รุ่นที่ 2 ณ วัดเขียนเขต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 2-6 เมษายน พ.ศ. 2544

    พ.ศ. 2544 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามวาระ ระดับเจ้าอาวาส ณ วัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2544

    พ.ศ. 2544 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามวาระ ระดับเจ้าอาวาส ณ วัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2544

    พ.ศ. 2544 เข้าร่วมประชุมสัมมนาของสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติของสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมภาค 1

    1. วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ณ วัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

    2. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 ไปดูงานที่จังหวัดนครปฐม

    พ.ศ. 2544 ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรพระกัมมัฎฐาน รุ่นที่ 1 ณ สถาบันส่งเสริมพระพุทธศาสนา อำเภอปากท่อ ณ สถาบันส่งเสริมพระพุทธศาสนา อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี วันที่ 12 ถึง 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2544

    พ.ศ. 2545 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามมหาเถรสมาคม ณ วัดบัวแก้วเกษร ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี วันที่ 23-24 เมษายน พ.ศ. 2545

    พ.ศ. 2545 เข้าร่วมประชุมรับทราบนโยบายจากเจ้าคณะอำเภอเมืองปทุมธานี ณ วัดโสภาราม ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2545 เวลา 14.00 น.

    พ.ศ. 2545 เข้าร่วมประชุมรับทราบนโยบายจากเจ้าคณะอำเภอเมืองปทุมธานี ณ วัดโสภาราม ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เวลา 14.00 น.

    พ.ศ. 2545 เข้าร่วมสัมมนาพระกรรมวาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ณ วัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2545

    พ.ศ.2545 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามวาระ ระดับเจ้าอาวาส ณ วัดเขียนเขต ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2545

    พ.ศ. 2545 เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีเรียกประชุมเจ้าอาวาสเพื่อซักซ้อมความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องกฐิน ณ วัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2545

    พ.ศ. 2546 เข้าร่วมประชุมการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดวัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546

    พ.ศ. 2546 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามมติมหาเถรสมาคม ณ วัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546

    พ.ศ. 2546 เข้าร่วมประชุมรับทราบนโยบายจากเจ้าคณะอำเภอเมืองปทุมธานี วัดโสภาราม ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เวลา 14.00 น.

    พ.ศ. 2546 เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาคัดเลือกพระภิกษุผู้ที่มีคุณสมบัติที่สามารถดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบุญชื่นชู ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ณ วัดบุญชื่นชู ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546

    พ.ศ. 2547 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามมติมหาเถรสมาคม ณ วัดสองพี่น้อง ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี วันที่ 27-28 มีนาคม พ.ศ. 2547

    พ.ศ. 2547 ไปเป็นกรรมการในการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน แก่พระภิกษุนวกะ ของคณะสงฆ์ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ตามนโยบายของพระธรรมโมลีเจ้าคณะภาค 1 ณ วัดโสภาราม ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 12-23 กรกฏาคม พ.ศ. 2547

    พ.ศ. 2547 ไปเป็นกรรมการในการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน แก่พระภิกษุผู้มีพรรษา 1-9 ของคณะสงฆ์อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ตามนโยบายของพระธรรมโมลี เจ้าคณะภาค 1 ณ วัดชินวรารามฯ ตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี วันที่ 1-6 กันยายน พ.ศ. 2547

    พ.ศ. 2548 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามมติมหาเถรสมาคม ณ วัดโพสพผลเจริญ ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีวันที่ 27-28 เมษายน พ.ศ. 2548

    พ.ศ. 2549 เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการตามมติมหาเถรสมาคม ณ วัดเขียนเขต ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 15-16 พฤษภาคม พ.ศ.2549

    ด้านการศาสนศึกษา

    วิธีการส่งเสริมการศึกษา

    พ.ศ. 2535 ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทองให้ทำการสอนพระปริยัติธรรมและอบรมธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณรและพุทธบริษัทวัดบางกุฎีทอง

    พ.ศ. 2540 เป็นกรรมการควบคุมการสอบธรรมชั้น นวกภูมิสนามสอบคณะสงฆ์ภาค 1 จังหวัดปทุมธานี ถึงปัจจุบัน

    พ.ศ. 2540 เป็นกรรมการควบคุมสอบธรรมสนามหลวง สนามสอบประจำอำเภอเมืองปทุมธานี ถึงปัจจุบัน

    พ.ศ. 2540 เป็นกรรมการตรวจสอบข้อสอบธรรมชั้นนวกภูมิสนามสอบคณะสงฆ์ภาค 1 จังหวัดปทุมธานี ถึงปัจจุบัน

    1. ได้มีการให้พระภิกษุสามเณร ไปเรียนพระปริยัติแผนกธรรมที่วัดสังลาน ในช่วงเข้าพรรษา ตั้งแต่ แรม 9 ค่ำ เดือน 8 เป็นต้นไป จนกว่าจะถึงกำหนดระยะเวลาทำการสอบธรรมสนามหลวงโดยมี พระครูปทุมสุตคุณเจ้าอาวาสวัดสังลาน เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดสังลาน และ เป็นอาจารย์สอนพระปริยัติธรรม

    2. ได้มีการสนับสนุนด้านการจัดอุปกรณ์ในการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรที่มาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดสังลานทุกรูป

    3. ได้มีการอุปกรณ์ในการเรียนการสอนไปมอบแก่พระภิกษุสามเณรผู้ศึกษาและปริยัติธรรมวัดสังลานที่ได้นำพระภิกษุสามเณรในวัดไปเรียนพระปริยัติธรรม เป็นประจำทุกปีการศึกษา

    4. ได้ร่วมจัดสถานที่สอบนักธรรมสนามหลวงและนักธรรมชั้นนวกภูมิประจำสำนักสอบประจำอำเภอที่ วัดโสภาราม ตำบลบางปรอกอำเภอเมืองปทุมธานี เป็นประจำทุกปี

    งานเผยแผ่

    จัดให้มีกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา

    พ.ศ. 2544 เป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรการอบรมพระนักเทศน์รุ่นที่ 1 ของคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี

    พ.ศ. 2544 ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรพระกัมมัฎฐาน รุ่นที่ 1 ณ สถาบันส่งเสริมพระพุทธศาสนา อำเภอปากท่อจังหวัดราชบุรี

    -ได้อบรมศีลธรรมแก่พุทธบริษัทชาววัดบางกุฎีทองในทุกวันธรรมสวนะ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา และนำปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึง ปัจจุบัน

    -ได้มีการอบรมพระภิกษุสามเณรและอารามิกชนภายในวัดเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วง หลังจากการทำวัตรสวดมนต์ เช้า-เย็น ทั้งในเทศกาลช่วงเช้าพรรษา และออกพรรษา เพื่อให้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎหมายบ้านเมือง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎ ระเบียบ คำสั่ง มติของมหาเถรสมาคม พระราชบัญชาของสมเด็จพระสังฆราช

    -ได้จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาและจัดให้มีการแสดงพระธรรมเทศนาเวียนเทียนรอบอุโบสถ เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฐมีบูชา เป็นประจำทุกปี โดยมีพระภิกษุสามเณรประมาณ 15 รูป และพุทธศาสนิกชน 150 คน ร่วมในพิธี

    -ได้เชิญชวนให้พุทธศาสนิกชนร่วมกันประกอบพิธีถวายความจงรักภักดี โดยการตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ ตั้งเครื่องสักการบูชา กล่าวคำสดุดีถวายพระพรและเจริญชัยมงคลคาถา ทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม และในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี โดยมีพระภิกษุสามเณรประมาณ 15 รูปและพุทธศาสนิกชนประมาณ 150 คน ขึ้นไป

    -อบรมและปลูกฝังเยาวชนและประชาชนทั่วไปให้รู้จักมีความเคารพ ความกตัญญูกตเวทีต่อบุพพการีชนเนื่องในโอกาสต่าง ๆ ตามความเหมาะสม

    -แสดงธรรมและเชิญชวนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ให้เกิดความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

    -ปลูกฝังและสนับสนุนเพื่อให้อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่นและของไทยในโอกาสเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เช่น วันตรุษไทย วันสงกรานต์ วันลอยกระทง เป็นต้น

    -ได้จัดให้มีการแสดงพระธรรมเทศนาในทุกวันธรรมสวนะ มีการหมุนเวียนกันแสดงพระธรรมเทศนา ซึ่งมีเจ้าอาวาส เป็นประธานและมีผู้ฟังพระธรรมเทศนาประมาณ 50 คน ขึ้นไป

    -มีผู้มาบำเพ็ญบุญกุศลทำบุญตักบาตร รักษาศีลและฟังธรรมในวันธรรมสวนะตลอดทั้งปี ประมาณ 50 คน ขึ้นไป

    -ได้อำนวยความสะดวกด้านภัตตาหาร ค่ายานพาหนะและสถานที่แก่ พระธรรมทูต พระจริยนิเทศ พระนักเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ที่มีอบรมศีลธรรมแก่พระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนที่วัดบางพูน เป็นอย่างดี

    -ได้แจกหนังสือธรรมะและหนังสือสวดมนต์แก่อุบาสก อุบาสิกาญาติโยมที่มีความสนใจ ในโอกาสที่เหมาะสมและเทศกาลที่สำคัญอยู่เป็นประจำ

    -ได้ร่วมมือแก่ทางคณะสงฆ์ในการอบรมพระภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ เป็นประจำปี ที่วัดโสภาราม อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ในด้านการจัดสถานที่และร่วมถวายค่าน้ำปานะอยู่เป็นประจำทุกปี

    ด้านการศึกษาสงเคราะห์

    วิธีสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา ดังนี้

    ก. สนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม

    1. ได้ร่วมบริจาคจตุปัจจัยในการรับเป็นเจ้าภาพในการเลี้ยงภัตตาหาร น้ำปานะเครื่องดื่มในการสอบธรรมชั้นนวกภูมิ ณ สำนักสอบวัดโสภาราม อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2539-2551 เป็นจำนวนเงิน 35,000 บาท (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

    2. ได้บริจาคเงินสมทบทุนการฟื้นฟูการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นประจำทุกปี เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)

    3. ได้บริจาคปัจจัยในโครงการฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานสำหรับพระภิกษุผู้บวชใหม่ ตามนโยบายของ พระธรรมโมลี เจ้าคณะภาค 1 ณ วัดโสภาราม ประจำปี พ.ศ. 2547 จำนวนเงิน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

    4. ได้บริจาคปัจจัยในโครงการฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานสำหรับพระภิกษุผู้มีพรรษา 1-9 ตามนโยบายของพระธรรมโมลี เจ้าคณะภาค 1 ณ วัดชินวรารามฯ ตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ระหว่างวันที่ 1-6 กันยายน พ.ศ. 2547 จำนวน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

    5. บริจาคปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกต่าง ๆ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน)

    6. พ.ศ. 2550 สนับสนุนสำนักเรียนวัดเขียนเขต จังหวัดปทุมธานี จำนวนเงิน 276,000 บาท(สองเสนเจ็ดหมื่นหกพันบาทถ้วน)

    ข. การตั้งทุนศึกษาสงเคราะห์

    พ.ศ. 2543-2551

    ได้จัดตั้งทุนและเพิ่มทุนการศึกษาสงเคราะห์ระดับวัด ประเภท ก. ซึ่งตั้งโดย พระสมุห์ชำนาญ อุตตมปัญโญ เจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทอง โดยใช้ชื่อบัญชีว่า วัดบางกุฎีทอง (เงินทุนประถมศึกษา) ตามบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบางกะดี (ปทุมธานี) เลขที่บัญชี 329-2 31779-0 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,101,186.99 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนหนึ่งพันหนึ่งร้อยแปดสิบหกบาทเก้าสิบเก้าสตางค์)

    ค. แจกทุนการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนต่าง ๆ

    1. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับอนุบาล โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2541 จำนวน 2 ทุน ทุนละ 300 บาทรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 600 บาท (หกร้อยบาทถ้วน)

    2. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2541 จำนวน 2 ทุน ทุนละ 400 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 800 บาท (แปดร้อยบาทถ้วน)

    3. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2541 จำนวน 2 ทุน ทุนละ 500 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)

    พ.ศ.2542

    1. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับอนุบาล โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2542 จำนวน 1 ทุน ทุนละ 300 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 300(สามร้อยบาทถ้วน)

    2. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2542 จำนวน 6 ทุน ทุนละ 300 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,800 บาท (หนึ่งพันแปดร้อยบาทถ้วน)

    3. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2542 จำนวน 3 ทุน ทุนละ 300 บาทรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 900 บาท (เก้าร้อยบาทถ้วน)

    พ.ศ. 2543

    1. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี เมื่อวันที่ 31 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2543 จำนวน 8 ทุน ทุนละ 300 บาทรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,400 บาท(สองพันสี่ร้อย-บาทถ้วน)

    2. ได้ดำเนินการจากทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2543 จำนวน 2 ทุน ทุนละ 300 บาทรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 600 บาท (หกร้อยบาทถ้วน)

    พ.ศ.2544

    1. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2544 จำนวน 12 ทุน ทุนละ 500 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 6,000 บาท (หกพันบาทถ้วน)

    2. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2544 จำนวน 8 ทุน ทุนละ 500 บาทรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน)

    พ.ศ.2545

    ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2545 จำนวน 20 ทุน ทุนละ 500 บาทรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 10,000 บาท

    พ.ศ.2546

    1. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2546 จำนวน 18 ทุน ทุนละ 1,000 บาทรวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 18,000 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน)

    2. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2546 จำนวน 7 ทุน ทุนละ 1,000 บาทรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 7,000 บาท (เจ็ดพันบาทถ้วน)

    พ.ศ.2547

    1. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2547 จำนวน 36 ทุน ทุนละ 1,000 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 36,000 บาท (สามหมื่นหกพันบาทถ้วน)

    2. ได้ดำเนินการจากทุนการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2547 จำนวน 14 ทุน ทุนละ 1,000 บาทรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 14,000 บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถ้วน)

    4. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2547 จำนวน 50 ทุน ทุนละ 500 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

    พ.ศ.2548

    1. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2548 จำนวน 40 ทุน ทุนละ 1,000 บาทรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน)

    2. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2548 จำนวน 10 ทุน ทุนละ 1,000 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

    3. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนชุมชนวัดบางกะดี ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2548 จำนวน 50 ทุน ทุนละ 1,000 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 50,000 บาท(ห้าหมื่นบาทถ้วน)

    พ.ศ.2549

    ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจำนวน 100 ทุน ๆ ละ 1,000 บาท เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

    พ.ศ.2550

    ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษา ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจำนวน 100 ทุน ๆ ละ 1,000 บาท เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

    -ได้บริจาคปัจจัยในการต่อเติมอาคารเรียน 2 เพื่อใช้ชั้นล่างเป็นโรงอาหารให้ โรงเรียนชุมชนวัดบางกะดี ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2547 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 185,410 บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นห้าพันสี่ร้อยสิบบาทถ้วน)

    พ.ศ.2551

    ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาโรงเรียนวัดบางกุฎีทอง และโรงเรียนชุมชน วัดบางกะดี เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2551 จำนวน 100 ทุน ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน)

    สรุปรวมจำนวนปัจจัยที่ได้ดำเนินการในด้านศึกษาสงเคราะห์ต่าง ๆ มีดังนี้

    1. ตั้งทุนศึกษาสงเคราะห์ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,101,186.99 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนหนึ่งพันแปดสิบหกบาทเก้าสิบสตางค์)

    2. ได้ดำเนินการแจกทุนการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 595 ทุนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 595,000 บาท (ห้าแสนเก้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

    3. ปัจจัยที่มอบสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมและสำนักเรียนวัดต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 606,410 บาท (หกแสนหกพันสี่ร้อยสิบบาทถ้วน)

    รวมจำนวนปัจจัยที่ได้ดำเนินการในด้านศึกษาสงเคราะห์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึง พ.ศ.2551 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,302,596.99 บาท(สองล้านสามแสนสองพันห้าร้อยเก้าสิบหกบาทเก้าสิบเก้าสตางค์)




    มีต่อคะ





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน
     
  2. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    Re: หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง




    ด้านการสาธารณูปการ

    1. งานก่อสร้างถาวรวัตถุ
    2. ได้ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุ ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2551 ดังต่อไปนี้
    3. สร้างเขื่อนกั้นบริเวณริมคลองและโรงครัว ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 100 เมตร เป็นจำนวน

    เงินทั้งสิ้น 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

    พ.ศ.2540


    1. สร้างกุฏิสงฆ์หลังที่ 1 ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเป็นไม้สักขนาดกว้าง 7.70 เมตร ยาว 7.50 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 184,229 บาท(หนึ่งแสนแปดหมื่นสี่พันสองร้อยยี่สิบเก้าบาทถ้วน)

    2. สร้างกุฏิสงฆ์หลังที่ 2 ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเป็นไม้สัก ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 9 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 189,327 บาท(หนึ่งแสนแปดหมื่นแปดพันสามร้อยยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) รวมค่าก่อสร้างกุฏิทั้งสองหลังเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 372,556 บาท (สามแสนเจ็ดหมื่นสองพันห้าร้อยห้าสิบหกบาทถ้วน)

    พ.ศ.2541

    สร้างหอฉัน ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 347,865 บาท (สามแสนสี่หมื่นเจ็ดพันแปดร้อยหกสิบห้าบาทถ้วน)

    1. สร้างหอเจริญพระพุทธมนต์ จำนวน 1 หลังลักษณะทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก สองชั้น ชั้นบนเป็นไม้สักสถาปัตยกรรมเป็นแบบมอญขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 22 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5,491,672 บาท (ห้าล้านสี่แสนเก้าหมื่นหนึ่งพันหกร้อยเจ็ดสิบสองบาทถ้วน)

    2. ปรับแต่งสภาพพื้นที่บริเวณวัด โดยการเทคอนกรีตในบริเวณต่าง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 150,000 บาท(หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

    3. สร้างหอระฆัง จำนวน 1 หลัง ลักษณะทรงไทยไม้สักสองชั้นกว้าว 3 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 10 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 303,532 บาท (สามแสนสามพันห้าร้อยสามสิบสองบาทถ้วน)

    พ.ศ.2545

    1. สร้างห้องน้ำ จำนวน 10 ห้องลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง 4 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 456,445 บาท (สี่แสนห้าหมื่นหกพันสี่ร้อยสี่สิบห้าบาทถ้วน)

    2. สร้างกุฏิสงฆ์ทรงไทย จำนวน 1 หลังลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นบนเป็นไม้สักขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 892,591 บาท(แปดแสนเก้าหมื่นสองพันห้าร้อยเก้าสิบเอ็ดบาทถ้วน)

    3. สร้างซุ้มประตูทางเข้าวัด ลักษณะสถาปัตยกรรมไทย คอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง 0.40 เมตร ยาว 12 เมตร สูง 24 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,300,000 บาท(หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน)

    พ.ศ.2546

    1. สร้างกุฏิสงฆ์ทรงไทย จำนวน 1 หลังลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเป็นไม้สักขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,076,415 บาท(หนึ่งล้านเจ็ดหมื่นหกพันสี่ร้อยสิบสี่บาทถ้วน)

    2. สร้างวิหารหลวงปู่ทวด จำนวน 1 หลังลักษณะอาคารทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 446,820 บาท (สี่แสนสี่หมื่นหกพันแปดร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

    3. สร้างหอกระจายข่าว จำนวน 1 หลังลักษณะโครงสร้างเหล็กตั้งบนฐานคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 37,895 บาท (สามหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยเก้าสิบห้าบาทถ้วน)

    4. สร้างวิหารพระสังกัจจายน์ จำนวน 1 หลังลักษณะอาคารทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง 2.5 เมตร ยาว 2.5 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 63,606 บาท (หกหมื่นสามพันหกร้อยหกบาทถ้วน)

    พ.ศ.2547

    1. สร้างกำแพงรอบวัด ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง 0.50 เมตร สูง 2.50 เมตร ยาว 147 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,000,000 บาท(สองล้านบาทถ้วน)

    2. สร้างกุฏิสงฆ์ทรงไทย จำนวน 1 หลังลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเป็นไม้สักขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว12 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,087,809 บาท(หนึ่งล้านแปดหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยเก้าบาทถ้วน)

    3. สร้างศาลาทรงไทยกลางน้ำ 1 หลังลักษณะทรงไทยไม้สัก หลังแฝดกว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร และขุดสระน้ำกั้นเขื่อนบริเวณโดยรอบศาลาไทย กว้าง 12 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 177,743 บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยสี่สิบสามบาทถ้วน)

    5. สร้างฌาปนสถาน พร้อมเตาเผาปลอดมลภาวะ จำนวน 1 หลังลักษณะทรงไทยประยุกต์ คอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น กว้าง 8 เมตร เมตรยาว 18 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4,100,000 บาท(สี่ล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน)

    พ.ศ.2548

    1. สร้างโรงครัว จำนวน 1 หลังลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง 10.4 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท(หนึ่งล้านบาทถ้วน)

    2. ปรับแต่งสภาพพื้นที่ภายในวัด โดยมีการถมดินในบริเวณลานวัดคิด ปริมาณรถบรรทุกดิน จำนวน 250 คัน คันละ 1,200 บาท เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท(สามแสนบาทถ้วน)

    3. สร้างหอพระไตรปิฏก จำนวน 1 หลังลักษณะสถาปัตยกรรมไทย คอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 700,000 บาท

    พ.ศ.2549

    ก่อสร้างซุ้มประตูทางเข้าวัดสถาปัตยกรรมไทย ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 2 แห่ง จำนวนเงิน 2,300,000 บาท (สองล้านสามแสนบาทถ้วน)

    พ.ศ.2550

    สร้างหอระฆังลวดลายไทยเป็นไม้สัก จำนวน 2 หลัง เป็นจำนวนเงิน 800,00 บาท(แปดแสนบาทถ้วน)

    พ.ศ.2551

    -สร้างพระพิมพ์ 108 พิมพ์ จำนวน 108 โอ่ง บรรจุใต้ฐานอุโบสถเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา เป็นจำนวนเงิน 1,800,000 บาท(หนึ่งล้านแปดแสนบาทถ้วน)

    -สร้างที่เก็บและประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท(สี่แสนบาทถ้วน)

    2. ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ ตั้งแต่ พ.ศ.2539 ถึง พ.ศ. 2551 ดังต่อไปนี้

    พ.ศ.2541

    1. ดำเนินการปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ทรงไทย จำนวน 2 หลังลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนคงสภาพเป็นไม้เช่นเดิม กว้าง 7.70 เมตร ยาว 9.50 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 188,327 บาท(หนึ่งแสนแปดหมื่นแปดพันสามร้อยยี่สิบเจ็ดบาท)

    พ.ศ.2542

    1. ดำเนินการเปลี่ยนสายไฟบริเวณกุฏิสงฆ์และติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 75,000 บาท (เจ็ดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

    พ.ศ.2545

    1. ดำเนินการปฏิสังขรณ์หอระฆังหลังเก่า จำนวน 1 หลังลักษณะทรงไทยสองชั้น สร้างด้วยไม้สักกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 10 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 100,000 บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน)

    พ.ศ.2546

    1. ดำเนินการปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญทรงไทย หลังเก่า จำนวน 1 หลัง โดยการยกจากรากฐานที่ตั้งเดิม แล้วเคลื่อนย้ายไปตั้ง ณ สถานที่ที่ได้ก่อสร้างรากฐานคอนกรีตเสริมเหล็ก ไว้รองรับ กว้าง 12 เมตร ยาว 21.50 เมตร เป็นจำนวน

    เงินทั้งสิ้น 1,481,232 บาท(หนึ่งล้านสี่แสนแปดหมื่นหนึ่งพันสองร้อยสามสิบสองบาทถ้วน)

    พ.ศ.2547

    1. ดำเนินการปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญทรงไทย หลังใหม่จำนวน 1 หลัง โดยการก่อปูนและซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม กว้าง 12 เมตร ยาว 22 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 676,927 บาท(หกแสนเจ็ดหมื่นหกพันเก้าร้อยยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน)

    2. ดำเนินการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุลักษณะสถาปัตยกรรมมอญ ก่ออิฐถือปูน กว้าง 12 เมตร โดยมีการซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดและทาสีน้ำทองตลอดทั้งองค์พระเจดีย์ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 80,000 บาท(แปดหมื่นบาทถ้วน)

    พ.ศ.2548

    1. ดำเนินการปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ ทรงไทย จำนวน 1 หลังโดยการก่ออิฐถือปูนและซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุดทรุดโทรมกว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,000,000 บาท(สองล้านบาทถ้วน)

    2. ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์หอฉันภัตตาหาร จำนวน 1 หลังลักษณะอาคารทรงไทย โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น และชั้นบนเป็นไม้ปูพื้นไม้ทั้งหมด เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 852,394 บาท(แปดแสนห้าหมื่นสองพันสามร้อยเก้าสิบสี่บาทถ้วน)

    พ.ศ.2549

    1. ซ่อมระเบียงทางเดินรอบวัด ปูพื้นไม้ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 250 เมตร เป็นจำนวนเงิน 850,592 บาท(แปดแสนห้าหมื่นห้าร้อยเก้าสิบสองบาทถ้วน)

    พ.ศ.2550

    1. ปรับปรุงหอเจริญพระพุทธมนต์ จำนวนเงิน 283,220 บาท(สองแสนแปดหมื่นสามพันสองร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
    2. บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถ จำนวนเงิน 2,200,000 บาท(สองล้านสองแสนบาทถ้วน)

    พ.ศ.2551

    1. ตกแต่งและปั้นลวดลายภายในอุโบสถ เป็นจำนวนเงิน 1,800,000 บาท(หนึ่งล้านแปดแสนบาทถ้วน)
    2. ปรับปรุงกุฏิสงฆ์ เป็นไม้สัก จำนวน 3 หลัง เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท(สามแสนบาทถ้วน)

    สรุปรวมจำนวนเงินที่ใช้ในด้านสาธารณูปการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ.2551 ดังนี้

    1. งานการก่อสร้างถาวรวัตถุ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,939,177 บาท(ยี่สิบห้าล้านเก้าแสนสามหมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยเจ็ดสิบเจ็ดบาทถ้วน)

    2. งานการบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,937,692 บาท(สิบล้านเก้าแสนสามหมื่นเจ็ดพันหกร้อยเก้าสิบสองบาทถ้วน)

    รวมจำนวนเงินที่ใช้ในด้านสาธารณูปการ ตั้งแต่ พ.ศ.2539 ถึง พ.ศ.2551 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 36,876,869 บาท(สามสิบหกล้านแปดแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยหกสิบเก้าบาทถ้วน)

    ด้านการสาธารณสงเคราะห์

    1. การสงเคราะห์ผู้ประสบภัยต่าง ๆ

    1. ได้บริจาคปัจจัยสมทบทุนมูลนิธิสงเคราะห์บุคคลเป็นโรคเรื้อนเนื่องในวันสงกรานต์ เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ.2540 – พ.ศ.2550 จำนวนเงิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

    2. ได้บริจาคปัจจัยสมทบทุนเข้าโรงพยาบาลสงฆ์ปทุมธานี ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีตั้งแต่ พ.ศ.2540-พ.ศ.2549 จำนวนเงิน 10,000 บาท(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

    3. ได้บริจาคปัจจัยสมทบทุนมูลนิธิสายใจไทย ทุกวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีตั้งแต่ พ.ศ.2540-พ.ศ.2549 จำนวนเงิน 10,000 บาท(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

    4. พ.ศ.2548 จัดหาเงินเพื่อสมทบทุนในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยทางภาคใต้ จำนวน 9,000 บาท (เก้าพันบาทถ้วน)

    5. ได้บริจาคข้าวสารอาหารแห้งให้ประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากอุทกภัยในเขตวัดบางกุฎีทองและใกล้เคียง ในปี พ.ศ.2541-พ.ศ.2545 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 350,000 บาท(สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

    6. ได้มอบปัจจุบันในการทอดผ้าป่าเพื่อสมทบทุน สถานีอนามัยตำบลบางกะดี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2549 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 100,000 บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน)

    7. พ.ศ.2550 ได้มอบปัจจัยสร้างกุฏิทรงไทยวัดบางโพธิ์ใน จังหวัดปทุมธานี จำนวนเงิน 100,000 บาท

    พ.ศ. 2551

    1. สร้างรั้วโรงเรียน วัดบางกุฎีทอง เป็นจำนวนเงิน 1,300,000 บาท(หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน)

    2. สร้างโรงอาหารโรงเรียนชุมชน และเสนาสนะ วัดวังกลม จังหวัดพิจิตร เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)

    สรุปเงินในการดำเนินงานด้านการสาธารณสงเคราะห์ ตั้งแต่ พ.ศ.2539 – พ.ศ. 2551 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,589,000 บาท (สองล้านห้าแสนแปดหมื่นเก้าพันบาทถ้วน)

    สนับสนุนการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

    พ.ศ.2549 อุปถัมภ์อุปกรณ์การศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ปบ.ส.) มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยวิทยาเขตบาษีศึกษาพุทธโฆส ณ วัดพิชัยญาติการาม รวมเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

    พ.ศ.2550 มอบเครื่องโปรเจ็กเตอร์ จำนวน 2 เครื่อง และอุปกรณ์ การศึกษาคณะครุศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ รวมเป็นจำนวนเงิน 104,000 บาท(หนึ่งแสนสี่พันบาทถ้วน) และจะอุปถัมภ์การศึกษาแก่หน่วยงานของมหาวิทยาลัยทุกปี

    สรุปรายการเงินที่ได้สนับสนุนและอุปถัมภ์งานสงเคราะห์ต่าง ๆ ดังนี้

    1. การศึกษาสงเคราะห์ต่าง ๆ เป็นจำนวนเงิน 2,302,596.99 บาท( สองล้านสามแสนสองพันห้าร้อยเก้าสิบหกบาทเก้าสิบเก้าสตางค์)

    2. งานสาธารณูปการ เป็นจำนวนเงิน 36,876,869 บาท(สามสิบหกล้านแปดแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยหกสิบเก้าบาทถ้วน)

    3. งานสาธารณสงเคราะห์ เป็นจำนวนเงิน 2,589,000 บาท(สองล้านห้าแสนแปดหมื่นเก้าพันบาทถ้วน)

    4. สนับสนุนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ เป็นจำนวนเงิน 124,000.00 บาท(หนึ่งแสนสองหมื่นสี่พันบาทถ้วน)

    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 41,892,465.99 บาท(สี่สิบเจ็ดล้านแปดแสนเก้าหมื่นสองพันสี่ร้อยหกสิบห้าบาทเก้าสิบเก้าสตางค์)

    หลวงพ่อชำนาญ

    พระผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและศรัทธายิ่งของมหาชน

    พระครูปทุมวรกิจ หรือนามที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า “หลวงพ่อชำนาญ” แห่งวัดบางกุฎีทองยอดเกจิอาจารย์ ผู้เรืองเวทแห่งเมืองปทุม เป็นพระที่เก็บตัวเงียบอยู่ในกุฎี พูดน้อย ถือพระรัตนตรัยและครูอาจารย์เป็นใหญ่เหนืออื่นใดทั้งหมด ด้วยวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัด น่าเลื่อมใสและศรัทธาคงเอกลักษณ์พุทธบุตรในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง

    พระครูปทุมวรกิจ นามเดิมชื่อ ชำนาญ นามสกุล พันธ์หว้า เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ.2515 ในชุมชนชาวมอญ ณ บ้านเลขที่ 14 หมู่ 2 ตำบลบางกะดี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี บิดาชื่อ นายชะโอด มารดาชื่อ นางสำเนียง พันธ์หว้า มีน้องชายร่วมบิดามารดา 3 คน ท่านจึงมีบรรพบุรุษที่สืบเชื้อสายมาจาก“ชาวมอญเมืองปทุม” โดยแท้

    การที่หลวงพ่อชำนาญ เกิดในชุมชนชาวมอญ ที่มาตั้งรกรากอยู่มาช้านานตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย และยังคงใช้ขนบธรรมเนียม ประเพณีและศิลปวัฒนธรรมแบบรามัญมาจนถึงปัจจุบัน แม้ในวัดบางกุฎีทอง เดิมเรียกว่าวัดบางกุฎีมอญ หลวงพ่อได้สร้างถาวรวัตถุภายในพระอารามวัดบางกุฎีทอง ยังคงรักษาสถาปัตยกรรมลักษณะศิลปวัฒนธรรมแบบรามัญที่เด่นชัด

    ในวัยเด็ก หลวงพ่อท่านมีนิสัยเรียบร้อย ชีวิตหลวงพ่อจึงวนเวียนและผูกพันอยู่กับวัด เพราะส่วนใหญ่ใช้ชีวิตในวัดมากกว่า ท่านมีความสุขเมื่อได้เข้าเขตวัด และเหมือนใจท่านมีจิตผูกพันอยู่กับวัดตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลวงพ่อมีความรักและเมตตาสงเคราะห์ช่วยเหลือเด็ก อุ้มชู ชุบเลี้ยง ให้ทุนการศึกษาและส่งเสริมเด็กที่ยากจน แต่ขาดทุนทรัพย์ให้ได้รับการศึกษาสูง ๆ เป็นจำนวนมาก เมื่อเด็กและเยาวชนปิดภาคเรียนหรืออยู่เป็นศิษย์วัดหลวงพ่อก็ได้ฝึกฝน อบรมให้รู้ระเบียบ ปฏิบัติและสนองงานหลวงพ่อและวัดเพื่อให้เด็ก ๆ มีหลักคุณธรรมเป็นคนดีมีศีลธรรม และช่วยเหลืองานสังคม

    การเข้าสู่ภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา

    โดยที่บ้านของท่านอยู่ใกล้กับวัดบางกุฎีทอง ชีวิตของท่านจึงวนเวียนผูกพันอยู่กับวัด อาจกล่าวได้ว่าชีวิตของท่านส่วนใหญ่ใช้ชีวิตในวัดมากกว่า เพราะท่านจะเข้าไปรับใช้หลวงปู่สุรินทร์ เรวโต(พระครูปทุมธรรมนุสิฐ) เจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทองในขณะนั้นอยู่เป็นประจำ จึงทำให้หลวงปู่สุรินทร์ มีความรักและเมตตาต่อท่านตั้งแต่เด็ก เมื่อหลวงพีได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาภาคบังคับแล้ว หลวงปู่สุรินทร์ ก็ได้ให้ท่านบรรพชาเป็นสามเณร ตั้งแต่อายุได้ 14 ปี เมื่อท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ทำให้ท่าน ได้รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่สุรินทร์ได้เรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติและวิชาการต่าง ๆ จากหลวงปู่สุรินทร์ ซึ่งหลวงปู่สุรินทร์ได้เรียนวิชาอาคมต่าง ๆ จากพระอาจารย์ของท่านโดยเฉพาะสายรามัญคือท่านเจ้าคุณรามัญมุนี วัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี หลวงพ่อชำนาญ ท่านสนใจศาสตร์วิชาอาคมและสักยันต์ตั้งแต่เยาว์วัย ทั้งจากพระภิกษุสงฆ์ผู้เรืองเวทและฆราวาสผู้เชี่ยวชาญ เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้ไปศึกษาวิชาถึงเมืองมอญประเทศพม่า ได้พบ และสนทนาธรรมกับหลวงพ่ออุตตม สาโร พระชาวมอญผู้มีวิชาอาคมขลังเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวมอญและชาวพม่าทั่วไป

    เมื่อใครได้ไปพบหลวงพ่อที่วัด จะเห็นได้ว่ารูปภาพด้านหลังที่ท่านนั่งอยู่นั้นจะเป็นรูปภาพครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประศาสน์วิชาความรู้ให้แก่หลวงพ่อท่าน ท่านถือความกตัญญูนั้นเป็นคุณธรรมสำคัญ เพราะเป็นคุณธรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นคนดี แสดงให้เห็นถึงความเป็นบุคคลที่โลกยกย่อง ชื่นชม นิยมบูชา ความกตัญญู คู่กับคำว่า กตเวที คำว่า กตัญญู แปล ว่ารู้ความดี กตเวที แปลว่า หาวิธีตอบแทนความดีของท่าน ใครก็ตามที่มีคุณธรรมความดีต่อเรา วิสัยคนดีย่อมจะต้องกตัญญู ย่อมจะต้องกตเวที ด้วยบทกวีที่ว่า

    กตัญญูรู้คุณท่านสำคัญนัก นี้เป็นหลักคนดีมีครบถ้วน
    ตอบแทนท่านให้งามตามสมควร คนดีล้วนใจมั่นกตัญญู

    หลวงพ่อชำนาญ : ผู้เป็นที่รักและที่พึ่งของมหาชน

    หลวงพ่อชำนาญคือ ภิกษุหนุ่มผู้ยิ่งในศรัทธามหาชน มีดีอะไร จึงทำให้ศิษย์และประชาชนทั่วไป เมื่อมีปัญหา เดือดร้อนเรื่องใดก็มาปรึกษากราบขอบารมีให้หลวงพ่อ ขจัดปัดเป่าและบรรเทาปัญหาต่าง ๆ จนท่านไม่มีเวลาพักผ่อน แต่ดูเหมือนท่านไม่เคยแสดงความเหนื่อย เพียงท่านปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ และได้รับความสบายใจกลับไป ตลอดเวลาที่ผ่านมาปรากฏยังไม่มีใครสักคน ที่หลวงพ่อแก้ปัญหาให้ไปแล้ว บอกกล่าวว่าไม่

    ประสบความสำเร็จ มีแต่จะเพิ่มศรัทธายิ่งและมาหาท่านบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ

    ลูกศิษย์ของท่านคนแล้วคนเล่า หรือคนเพิ่งเคยมาหาท่านครั้งแรกเพียงแค่เดินขึ้นมาหาท่านบนหอสวดมนต์ เมื่อท่านได้เห็นหน้าก็สามารถบอกกล่าวปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องทันทีจนทำให้หลายคนที่มาพบท่านเป็นครั้งแรกถึงกับนั่งงงเป็นไก่ตาแตกจนเกิดความสงสัยว่า “ท่านรู้ได้อย่างไร” โดยที่ยังไม่ได้พูด ไม่ได้บอกเลยสักคำ

    จากคำบอกเล่าของหลวงพ่อ ท่านได้ศึกษาวิชาทั้งด้านสมถกัมมัฎฐานและวิปัสสนากัมมัฎฐาน ซึ่งเป็นหลักพุทธธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติตามหลักสมถะและวิปัสสนาในการเดินธุดงค์ไปอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และได้เข้าไปศึกษาธรรมถึงเมืองมอญ ประเทศพม่า จึงทำให้จิตและสมาธิของท่านมั่นคง อันเป็นผลจากการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาเวลาที่ท่านได้รับนิมนต์นั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ หลวงพ่อจึงนั่งสมาธินิ่งมาก จนบางที่ ท่านนั่งกำหนดจิตภาวนาขณะพิธีดับเทียนชัย และพระเถระที่มาก็กลับหมดแล้ว แต่หลวงพ่อยังคงนั่งเข้า สมาธิ อธิษฐานจิตตลอด

    อนึ่ง การที่หลวงพ่อชำนาญมีความเชี่ยวชาญทั้งวิชาการสักยันต์ และการทำตะกรุด ท่านได้เรียนวิชาจากอาจารย์อยู่ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านอาจารย์อยู่บอกหลวงพ่อว่า ถ้าท่านอยากได้วิชาอาคมดังกล่าว ท่านต้องพิจารณาซากศพที่เน่าเหม็นนั้น ให้เห็นเป็นซากศพที่ไม่เหม็นไม่มีกลิ่นเหมือนท่อนไม้ จึงจะเรียนวิชาได้ผลจากการปฏิบัติเช่นนี้ จิตใจของหลวงพ่อ จึงเย็นและสงบนิ่ง โดยเฉพาะอิริยาบถการเดินของท่านเบาและเสมือนไร้ร่องรอย ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าไกลไร้พรหมแดน แต่แปลกท่านไม่มีแม้ทั้งวิทยุและโทรทัศน์

    สิ่งหนึ่งท่าครองใจศิษย์ไม่เสื่อมคลาย คือท่านเป็นที่รัก และเป็นที่พึ่งของศิษย์ โดยเฉพาะความรักลูกศิษย์ของท่านที่มีมากจนรู้ซึ้งในน้ำใจของศิษย์ทุกคน ใครที่น้อมเข้ามาเป็นศิษย์ของท่านแล้ว ท่านจะช่วยเหลือจนถึงที่สุด ดังคำสอนของหลวงพ่อที่บอกต่อศิษย์เสมอว่า

    อันครูบาอาจารย์ไม่เคยทอดทิ้งศิษย์ มีแต่ศิษย์นั้นแหละที่ลืมและทอดทิ้งอาจารย์
    หากศิษย์ไม่ลืมครูบาอาจารย์ มีหรือจะทิ้งศิษย์ต้องช่วยกันจนกว่าจะตายไปข้างหนึ่ง

    หลวงพ่อชำนาญกับงานสังคมสงเคราะห์

    หลวงพ่อชำนาญเป็นพระเถระหนุ่มประกอบด้วยศีลาจารวัตรดีงานรับภารธุระพระพุทธศาสนา บำเพ็ญคุณณูปการแก่คณะสงฆ์ สังคม ประเทศชาติ

    ด้านดำเนินกิจการอันเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สังคม คือ เมื่อหลวงพ่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดบางกุฎีทอง ท่านจึงใช้กำลังสติปัญญาและความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาวัด โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ท่านได้ดำเนินการสร้างเขื่อนกันบริเวณริมคลองกับโรงครัว สร้างกุฏิสงฆ์ทรงไทย จำนวน 4 หลัง หอฉัน 1 หลัง หอเจริญพระพุทธมนต์ 1 หลัง ห้องสุขา 10 ห้อง โรงครัว 1 หลัง สร้างกำแพงคอนกรีตรอบวัด สร้างวิหารหลวงปู่ทวด วิหารพระสังกัจจายน์ สร้างหอระฆัง 2 หลัง หอกระจายข่าว 1 หลัง สร้างณาปนสถานพร้อมเตาเผาปลอดมลภาวะ เป็นผู้วางแผนและปรับปรุงกุฏิสงฆ์ทรงไทยด้วยไม้สักลวดลายสถาปัตยกรรมไทยและรามัญ ปฏิสังขรณ์อุโบสถ และบรรจุพระพิมพ์ 108 พิมพ์ จำนวน 108 โอ่ง ไว้ใต้ฐานอุโบสถ สร้างรั้วโรงเรียน โรงอาหาร โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง โรงอาหาร โรงเรียนชุมชนวัดบางกะดี รวมทั้งสนับสนุนและอุปถัมภ์การก่อสร้างถาวรวัตถุของวัดต่าง ๆ ในเขตจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดพิจิตร และจะมีโครงการสร้างพระธาตุเจดีย์ด้วยงบประมาณ สี่สิบห้าล้านบาท เพื่อถวายต่อพระพุทธศาสนา

    ด้านการศึกษาสงเคราะห์ หลวงพ่อได้สนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรม และแผนกบาลี ตั้งทุนและมอบทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โรงเรียนวัดบางกุฎีทองและโรงเรียนชุมชนวัดบางกะดี

    ด้านสาธารณสงเคราะห์ ได้บริจาคเงินสมทบทุนมูลนิธิสายใจไทยสมทบทุนมูลนิธิสงเคราะห์บุคคลเป็นโรคเรื้อน สมทบทุนตั้งทุนโรงพยาบาลปทุมธานี สำหรับพระสงฆ์อาพาธ บริจาคเครื่องอุปโภค บริโภคแก่ประชาชนที่เดือดร้อนและยากจนเขตวัดบางกุฎีทอง และบริเวณใกล้เคียง บริจาคเพื่อสมทบทุนสถานีอนามัยตำบลบางกะดี

    เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย หลวงพ่อให้การสนับสนุนกิจการมหาวิทยาลัย อุปถัมภ์อุปกรณ์การศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ปบ.ส.) ณ วัดพิชญาติการาม มอบเครื่องโปรเจ็กเตอร์ และอุปกรณ์การศึกษาแก่คณะครุศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์

    นับได้ว่าพระครูปทุมวรกิจ (ชำนาญ อุตตมปญโญ) เป็นพระเถระที่ได้บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์แก่ประ-

    เทศชาติ พระพุทธศาสนา และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเป็นอเนกประการ ควรแก่การยกย่องประกาศเกียรติคุณ

    สภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยจึงมีมติให้ถวายปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ เพื่อประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏไพศาลเป็นทิฎฐานุคติแก่อนุชนสืบไป

    ที่มา หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสพิธีฉลองปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการจัดการเชิงพุทธ โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย



    ขอขอบคุณที่มาคะ http://www.amulet.in.th/forums/view_...942a231686ff5c





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน