ประวัติโดยสังเขปพระครูสังวรสมณกิจ (หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต) วัดพระขาว จังหวัดอยุธยา

หลวงปู่ทิม เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๕๖ ปีฉลู ที่บ้าน เลขที่ - หมู่ที่ ๓ ต.พระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรคนที่ ๕ ของคุณพ่อพร้อม คุณแม่กิ่ม ชุ่มโชคดี ตามลำดับดังนี้

คนแรก พี่ทอง ชุ่มโชคดี เป็นหญิง เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย
คนที่ ๒ พี่เทียบ ชุ่มโชคดี
คนที่ ๓ พี่ทัศน์ ชุ่มโชคดี เป็นผู้ใหญ่เก่า หมู่ ๕ ต.พระขาว (เสียชีวติแล้ว)
คนที่ ๔ พี่ทอด ชุ่มโชคดี
คนที่ ๕ หลวงปู่ทิม ชุ่มโชคดี
คนที่ ๖ นายสังวาลย์ ชุ่มโชคดี

เริ่มการศึกษา

ครั้งแรกเมื่อยังเป็นเด็ก ได้ศึกษาเล่าเรียนกับวัดพิกุล อ.บางบาล พออายุย่างเข้า ๑๐ ขวบ ก็มาเข้าเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนประชาบาล อยู่วัดพิกุล ศึกษาเล่าเรียน อยู่วัดพิกุลมาจนอายุ ๑๓ ปี ก็จบ ป.๔ ออกจาก ร.ร.วัดพิกุลก็มาช่วย บิดา-มารดา ทำนาอยู่กับบ้าน เพราะหลวงปู่ทิม พื้นเพของหลวงปู่ท่านเป็นชาวนา เข้าอายุเกณฑ์ทหาร หลวงปู่ท่านถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารทันทีโดยไม่ต้อง คัดเลือกเลย เพราะหลวงปู่ท่านเป็นคนใหญ่โตจัด อยู่ ใน ประ เภท ดี ๑ ประเภท ๑ ไม่ ต้อง จับ เลือก ใบดำ -ใบ แดง เหมือน สมัย ปัจจุบัน ใน ปี พ.ศ.๒๔๗๗ หลวงปู่ประจำอยู่ ร.พัน ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ตำบลสวนเจ้าเชตุ(หน้าวัง- สราญรมย์) เป็นทหารประจำการอยู่ ๑ ปี กับ ๓ เดือนก็ปลดจากทหารเกณฑ์ ประมาณเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๘ เมื่อกลับมาอยู่บ้านก็มาบวชตามประเพณีของลูกผู้ชายไทย เพื่อทดแทนพระคุณ และค่าน้ำนมของ พ่อ-แม่ อุปสมบท ณ วัดพิกุล อ.บางบาล จ.อยุธยา มีหลวงพ่อปุ้ย วัดขวิด อ.บางบาล เป็นอุปัชฌายจารย์ และหลวงลุงหลิ่มวัดโพธิ์กบเจา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระอธิการหลิ่ว เจ้าอาวาสวัดพิกุล เป็นพระอนุสาวนาจารย์อุปสมบท อยู่ในบวรพระพุทธศาสนา ๑ พรรษา ก็ลาสิกขา

สาเหตุที่หลวงปู่ต้องลาสิกขาในครั้งนี้ ก็เพราะมีความสงสารมารดาเป็นอย่างมากที่ต้องลำบากตรากตรำทำนา เนื่องจากบิดาท่านมาเสียชีวิตตั้งแต่หลวงปู่ท่านยังตัวเล็กๆ จึงตัดสินใจลาสิกขา เพื่อมาช่วยมารดาทำนาเป็นการตอบแทนพระคุณที่ได้อุ้มเลี้ยง หลวงปู่มาตั้งแต่เล็กจนเติบโตใหญ่ เมื่อย่างเข้าวัยเบญจเพศ ทางมารดาท่านก็มาอ้อนวอนให้มีครัวเรือน ตามประเพณีของผู้เฒ่าผู้แก่สมัยโบราณ หลวงปู่ใช้ชีวิตในการครองเรือนตามประเพณีอยู่ชั่วระย ะหนึ่ง ก็มีเหตุการณ์จำเป็นเกิดขึ้น คือ ในปีพ.ศ.๒๔๘๔ เป็นปีที่หลวงปู่มีความภาคภูมิใจมากในชีวิต ที่ได้เกิดขึ้นมาเป็นลูกผู้ชายไทย เพราะได้มีโอกาสรับใช้ชาติบ้านเมือง เมื่อทางรัฐบาลไทยต้องการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่ง เศส มีเมืองปอยเปต-ศรีโสภณ-เสียมราษฎร์ และพระตะบอง ซึ้งเป็นดินแดนที่ประวัติศาสตร์ไทยจารึกไว้มาจนทุกวั นนี้ หลวงปู่ท่านถูกระดมไปผ่านศึกยังประเทศเขมรในครั้งนี้ ด้วย เป็นเหตุการณ์ที่หลวงปู่ระลึกถึงทุกคืนวัน ใช้ระยะเวลาออกศึกสงครามประมาณ ๖ เดือนเศษ ศึกสงครามก็สงบลง หลวงปู่ท่านได้รับบัตรเหรียญชัยสมรภูมิเป็นเครื่องเท ิดทูนประจำตัวนับว่าหลวงปู่ ท่านได้รับเกียรติยศอันสูงส่งยิ่ง ซึ่งเป็นเกียรติยศที่ภาคภูมิใจที่สุดของหลวงปู่ ที่ได้มีโอกาส มารับใช้ประเทศชาติบ้านเมืองในยามที่ประเทศชาติต้องก าร เมื่อสิ้นศึกสงครามเรียกร้องดินแดนคืนได้แล้วหลวงปู่ ท่านก็กลับมาพักผ่อนยังบ้านเกิดเมืองนอนพระนครศรีอยุ ธยา ได้ประมาณ ๗ เดือนเศษๆ ในระหว่างนั้นศึกสงครามยังไม่สงบดี หลวงปู่ก็ต้องถูกเรียกระดมกลับเข้าไปประจำการอีกครั้ งหนึ่ง ซึ่งเป็นศึกสงครามครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยเรา คือ "สงครามโลกครั้งที่ ๒ " กลับจากศึกสงครามมาทำนาอยู่ยังบ้านพระขาว อ.บางบาล กับครอบครัวตามเดิมใช้ชีวิตครองเรือนอยู่กินกับบุตรแ ละภรรยาชั่วระยะเวลาไม่กี่ปีก็เกิดเบื่อหน่ายในทางโล ก และในเวลานั้นในตำบลพระขาว และใกล้เคียงเกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง โรคนั้นก็คือ "โรคห่ากินคน" หรืออหิวาตกโรคนั้นเอง ชาวบ้านแถวย่านนั้นได้ล้มเจ็บกันและก็ตายด้วยโรคห่าก ันเป็นจำนวนมาก หลวงปู่ท่านก็ประสบกับเขาเหมือนกันแต่บุญวาสนาให้ฟัง ดังต่อไปนี้วันหนึ่งในเวลาเช้า หลสงปู่เตรียมตัวจะไปไถนายังกลางทุ่ง ก็เกิดปวดท้องขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนเสียก่อน แล้วก็ไปถ่ายเพียงครั้งเดียวแท้ๆ ก็หมดแรงเดินแทบไม่ไหว ต้องกลับขึ้นมานอนบนเรือนอาศัยเยียวยาแบบชาวบ้านในสม ัยนั้น คือ รักษาพยาบาลด้วยตนเองไม่มีมดมีหมดเหมือนกับสมัยนี้ แล้วให้ภรรยาขุดเอาข่าที่ปลูกไว้ข้างบ้านมาโขลกกินกั บเหล้าขาวจนหมดแก้วท้องก็หยุดเดินทันที ถึงกระนั้นก็ยังมีลมปั่นป่วน อยู่ในท้องโครกคราก หลวงปู่ก็เริ่มมีสติระลึกนึกขึ้นมาได้ว่า โรคนี้มันร้ายแรงมากนัก โดยยกมือขึ้นมาดู ว่านิ้วและฝ่ามือเป็นล่องหรือเปล่า ถ้าชักล่องก็ต้องตายแน่ แล้วก็เอากระจกมาส่องดูอีกว่าใบหน้าตาของตนเองลึกและ โหลอย่างเขาว่ากันก็ต้องตายแน่ๆ จึงตั้งจิตแล้วอธิษฐานในใจต่อ "คุณพระพุทธ คุณพระธรรม และคุณพระสงฆ์" ว่าอย่าเพิ่งหมดอายุเลย ตัวของข้าพเจ้านี้ยังปฏิบัติมาในบวรพระพุทธศาสนา นี้น้อยนักให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสช่วยต่อพระพุทธศาสนา อีกสักหน่อยเถิดค่อยตายจะไม่ว่ากระไรเลย (เพราะหลวงปู่ได้ถืออุโบสถอยู่เป็นประจำตลอดมาตั้งแต ่ยังเป็นฆราวาส) ด้วยแรงอธิษฐานของหลวงปู่ในครั้งกระนั้นโรคนี้ก็ได้บ รรเทาและก็หายอย่างปาฏิหารย์เลยทีเดียว เมื่อหายจากโรคห่านี้แล้ว หลวงปู่ก็ได้รัษาพระอุโบสถตามสัญญาเรื่อยมาไม่เคยขาด เป็นเวลา ๕ ปี ก็บังเกิดมี จิตใจศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาขึ้นอย่างจับจิตจับใจอย ่างมากและบุญญาและบารมี ช่วยดลใจบันดาลให้มองเห็นอะไรเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตของการเป็นฆราวาส

ก่อนที่หลวงปู่จะออกบรรพชาครั้งที่ ๒ นี้ ให้บังเกิดอาเพศมีเหตุการณ์ประหลาด ๓ ประการทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตของการเป็นฆราวาสอย่างที่สุด

ประการแรก วันนั้นหลวงปู่เดินทางกลับจากบ้านพี่ชายทัศน์ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้วัดพิกุลเพื่อจะกลับบ้านพอเดินผ่าน มาถึงวัดก็ได้ยินพระสวดมนต์ หลวงปู่ก็เลยก้มลงนั่งแล้วยกมือขึ้นมาไห้วสาธุ ในบัดดลนั้นก็ให้บังเกิดมีจิตศรัทธาในพระบวรพระพุทธศาสนาขึ้นอย่างจับจิตจับใจ พร้อมทั้งอธิษฐานในใจว่า ข้าพเจ้าจะต้องบวชให้ได้อีกครั้งหนึ่ง

เหตุการณ์ครั้งที่สอง หลวงปู่ได้ออกไปเกี่ยวหญ้าเพื่อจะนำมาให้วัว ซึ่งเลี้ยงไว้หลายตัว พอจะก้มลงเกี่ยวหญ้า ก็บังเอิญเกิดต้นหญ้ามาตำนัยน์ตา ถึงกับน้ำตาไหลพรากแทบจะบอดด้วยความเจ็บปวดอย่างมากจ ึงยกมือพนมขึ้นไห้วพระ ทันใดนั้นก็บังเกิดแรงดลใจขึ้นอีกเป็นครั้งที่สองว่า ข้าพเจ้าจะต้องบวชให้ได้อีกครั้งหนึ่ง

เหตุการณ์ครั้งที่สาม หลวงปู่ได้ออกไปเกี่ยวหญ้าเช่นเดิมอีก แต่เป็นทางเรือ เพราะน้ำท่วม เท้าได้แช่อยู่ในเรือเป็นเวลานานเมื่อเกี่ยวหญ้าเสร็จ หลวงปู่ได้ก้มลงวิดน้ำเรือออก วิดเสร็จแล้วก็ยกเท้าขึ้นมาดม มีความรู้สึกในใจว่ามีกลิ่นเหม็นเน่าเพราะน้ำมันกัดทำให้เกิดมีอารมณ์สังเวชและสลดใจตัวเองเป็นอย่างมาก ทำให้บังเกิดมีวิจารณาญาณ ขึ้นมาเองว่า "ตัวเรานี่หนอเน่าทั้งเป็นเสียแล้ว" จะหาความสะอาดและบริสุทธิ์เหมือนอย่างพระพุทธศาสนานี้ไม่มีอีกแล้ว ทำให้เกิดความตั้งใจมั่นขึ้นอีกเป็นวาระสุดท้ายของการออกบวชให้ได้เป็นครั้งที่สอง ด้วยแรงจิตอธิษฐานมาถึงสามครั้งสามครา ประกอบกับบุญบารมีของหลวงปู่ที่มีมาแต่ปางก่อนมาถึงได้มาดลจิตดลใจ พร้อมทั้งบันดาลให้เกิดความสังเวช และเบื่อหน่ายต่อชีวิตของการครองเรือนจึงตัดสินใจสละความสุข ความสนุกสนานตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ออกบรรพชาเป็นครั้งที่สอง และพร้อมใจก้าวเข้าสู่ประตูพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายนพ.ศ.๒๔๙๑ สมประสงค์ที่ได้ตั้งใจมั่นไว้ นับว่าโชคดีของชาวบวรพระพุทธศาสนา ที่ได้บังเกิดมีสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นองค์แทนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง พร้อมทั้งพระพฤติและปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระโพธิสัตย์อย่างเคร่งครัดทุกประการ โดยมีหลวงพ่อพระครูอุดมสมาจารย์ (หลวงพ่อสังข์ แห่งวัดน้ำเต้า)เป็นองค์อุปัชฌาย์ หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพิกุล อ.บางบาล จ.อยุธยา ในพรรษาแรกของการบวชหลวงปู่ได้ใช้เวลาประพฤติและปฎิบัติอย่างจริงจังโดยท่องนวโก วาทได้จนจบหมดทั้งเล่ม จนมีความรู้สึกในด้านพระวินัยและธรรมะเป็นอย่างดีเลิศในระหว่างที่หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพิกุลนั้นได ้มีชาวบ้านนำเอาศพคนตายมาฝากไว้ในกุฏิถึง ๒ ศพด้วยกัน ทำให้เกิดมีแนวกรรมฐานด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ พร้อมทั้งอาศัยหลักกรรมฐานด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ พร้อมทั้งอาศัยหลักกรรมฐานที่ว่า"สามัญในลักษณะ" หมายความว่า ลักษณะที่เสมือนกันใน สังขารทั้งหลายทั้งปวง สิ่งนั้นก็คือ อนิจจัง ( ความไม่แน่นอนในสังขาร ) ทุกข์ขัง (ความวุ่นวาย , ไม่สงบสุข ในสังขาร ) อนัตตา (ความตาย , ไม่มีตัวตน )

จากนั้นท่านได้ไปจำวัดอยู่ยังวัดน้ำเต้ากับอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสังข์ อยู่กับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าประมาณ ๑ เดือน ในระหว่างที่อยู่กับหลวงพ่อสังข์นั้น หลวงพ่อสังข์ได้ไต่ถามถึงความเป็นมาของการปฏิบัติกรร มฐานที่ผ่านๆ มาเมื่อหลวงพ่อสังข์ ทราบเรื่องแล้ว หลวงพ่อสังข์ก็กล่าวชมเชยว่า ใช้ได้ทั้งๆที่ยังไม่มีใครสอนหรือต่อให้มากอน พร้อมทั้งพูดเสริมขึ้นอีกว่า "ฉันบวชให้คุณฉันได้บุญหลาย" ต่อจากนั้น หลวงปู่ก็ได้นั่งปุจฉา-วิสัชนาอยู่กับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าอย่างใก้ลชิด และทราบซึ้งในธรรมะมาก นับว่าเป็นครั้งแรกที่หลวงปู่ท่านได้รับรู้แนวทางการ เจริญธรรมกรรมฐานอย่างจริงจังหลวงปู่มีเวลาอยู่เจริญ กรรมฐานกับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าอย่างใก้ลชิดเป็นเวลา ๑ เดือนเต็ม หลวงปู่ก็กราบขอลาหลวงพ่อสังข์กลับมาอยู่จำพรรษายังวัดพระขาวตามเดิม

ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ หลวงปู่ได้มาดำรงตำแหน่งเป็นสมภาร ณ วัดพระขาว อ.บางบาล เนื่องจาก วัดพระขาวนี้ขาดสมภาร เพราะท่านสมภารเก่า (สมภารติ่ง พุทฺธสิริ) ท่านลาออก ชาวบ้านพระขาวต่างก็รู้เคยเห็นการประพฤติการปฏิบัติของหลวงปู่มาก่อน ก็ไปขอร้องให้หลวงปู่มาดำรงตำแหน่งสมภารยัง ณ วัดพระขาว ต.พระขาว อ.บางบาล จ.อยุธยา เรื่อยมาจวบจนทุกวันนี้และได้บูรณปฏิสงขรณ์สภาพของวั ดที่เก่าแก่แต่เดิมให้เป็นของใหม่ทั้งหมดดังที่เราได ้เห็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะด้วยบุญและบารมีของหลวงปู่ท่านอย่างแท้จริง จึงมีผลงานให้ปรากฏเห็นทุกวันนี้

นอกจากหลวงปู่จะเป็นนักพัฒนาที่เก่งกาจแล้วหลวงปู่ยั งเป็นนักศึกษาธรรมะที่ล้ำเลิศมากอีกด้วยด้วยสติปัญญา และความจำอันแม่นยำสามารถสอบได้ถึงนักธรรมชั้นเอก โดยที่ใช้ระยะเวลาไม่นานเลยและได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูชั้นโท ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
ปี พ.ศ.๒๔๙๒ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี
ปี พ.ศ.๒๔๙๓ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท
ปี พ.ศ.๒๕๐๐ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก
ปี พ.ศ.๒๕๑๐ ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลน้ำเต้า-ตำบลพระขาว พร้อมทั้งได้รับแต่ง ตั้งให้เป็นอุปัชฌาย์
ปี พ.ศ.๒๕๑๒ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี พร้อมทั้งได้รับพระราชทินนามว่า "พระครูสังวรสมณกิจ"
ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นโท ในราชทินนามเดิม

ปัจจุบัน พระครูสังวรสมณกิจ ( หลวงปู่ทิม ) อายุ ๙๕ ปี หลวงปู่ยังมีสุขภาพแข็งแรงและเป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ถ้าท่านไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอเชิญไปกราบนมัสการพระครูสังวรสมณกิจ ( ทิม ) ที่วัดพระขาว ตำบลพระขาว อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



ขอขอบคุณที่มาคะ http://www.amulet.in.th/forums/view_...942a231686ff5c